นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ 36.39/40 บาท/ดอลลาร์ แข็ง ค่าเล็กน้อยเมื่อ เทียบกับเปิดตลาดเช้านี้ที่ระดับ 36.42/44 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวัน เงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ โดยเคลื่อนไหวในกรอบ 36.37-36.45 บาท/ดอลลาร์
ส่วนประเด็นคดีของนายกรัฐมนตรี เนื่องจากตรงกับที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะศาลรัฐธรรมนูญ จะยังไม่มีการ พิจารณาวินิจฉัยคดี ในวันนี้ ดังนั้น จึงไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท และทำให้เงินบาทยังแกว่งตัวอยู่ในกรอบ โดยตลาดรอ ติดตามดัชนีราคาผู้ บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ ในวันพรุ่งนี้เป็นหลัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 36.30 - 36.60 บาท/ดอลลาร์
ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 161.55/58 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 161.45 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0800 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,323.28 จุด เพิ่มขึ้น 3.36 จุด (+0.25%) มูลค่าซื้อขาย 34,265.13 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 2,005.97 ล้านบาท
- ศาลรัฐธรรมนูญ ยังไม่สรุปคดีที่ 40 สว.ยื่นคำร้องขอให้นิจฉัยความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี
- รมว.คลัง เผย จะใช้กองทุนเดิมที่มีอยู่เดิม คือ กองทุนวายุภักษ์ 1 และ 2 แทนการจัดตั้งกองทุนขึ้นใหม่เพื่อดึงเม็ดเงินลง
- ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับการดำเนินโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เคาะแล้ว "เครื่องใช้
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติเห็นชอบประกาศรับรองการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ครบ 200 คน เพื่อให้
- นักเศรษฐศาสตร์ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของ
- ธนาคารกลางนิวซีแลนด์ ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.5% ในวันนี้ (10 ก.ค.) แต่ส่งสัญญาณว่าอาจผ่อนคลาย
- สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ชะลอตัวลงในเดือนมิ.ย. มาอยู่ที่ระดับ 0.2%
- สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า กองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ (ETF) ซึ่งลงทุนในทองคำทั่ว
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.