ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 36.28 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าเล็กน้อยจากช่วงเช้าที่ เปิดตลาดที่ระดับ 36.31 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทปรับตัวแข็งค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค โดยวันนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบ 36.21-36.32 บาท/ ดอลลาร์ เนื่องจากระหว่างวัน ยังไม่มีปัจจัยใหม่ที่มีผลต่อทิศทางของค่าเงินมากนัก ตลาดรอดูการรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออัตราเงิน เฟ้อเดือนมิ.ย.ของสหรัฐฯ ในคืนนี้
"วันนี้เงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดรอดูเงินเฟ้อสหรัฐฯ คืนนี้ ถ้ายังออกมาชะลอตัวต่อเนื่อง ตลาดมองว่ามีโอกาสมากขึ้น ที่ เฟดจะเริ่มลดดอกเบี้ยในเดือนก.ย. ซึ่งจะมีผลให้ดอลลาร์อ่อนค่าได้" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 36.15-36.40 บาท/ดอลลาร์
* ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 161.54 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 161.63 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0846 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0833 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,329.37 จุด เพิ่มขึ้น 6.09 จุด (+0.46%) มูลค่าซื้อขาย 40,340.15 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 610.85 ล้านบาท
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ จะเติบโตที่ 2.4% ส่วนค่าเงินบาทในไตรมาสสุดท้าย จะผันผวนในกรอบ
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ประเมินว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 2.50%
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือน มิ.ย.67
- ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4/67 มีโอกาสขยายตัวได้
- รมช.คลัง กล่าวถึงการกำหนดวงเงินโครงการโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัล วอลเล็ตที่ 4.5 แสนล้านบาท
- เจพีมอร์แกนระบุว่า มาเลเซียกำลังแจ้งเกิดในฐานะประเทศที่น่าลงทุนด้านศูนย์ข้อมูล (Data Center) ในภูมิภาคเอเชีย
- สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของอังกฤษ ขยายตัว 0.4%
- สมาคมนักวิชาชีพอสังหาริมทรัพย์ในอังกฤษ ระบุว่า ยอดขายบ้านในอังกฤษมีแนวโน้มดีดตัวขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อ มีความเชื่อมั่น
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์, ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนมิ.ย., ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนมิ.ย. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ค.