นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 35.94 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่า จากปิดตลาดช่วงเย็นวานนี้ที่ระดับ 36.10 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเช้านี้แข็งค่าสุดในรอบ 2 เดือน เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ถึงแม้ว่าเมื่อคืนนี้ (16 ก.ค.) สหรัฐฯ จะเปิดเผยยอดค้าปลีกออกมาดีกว่าคาด แต่ตลาดยังมีมุมมองเดิมประเมินว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะพิจารณาปรับลด ดอกเบี้ยในการประชุมรอบเดือน ก.ย. ประกอบกับเมื่อคืนนี้ทองคำทำนิวไฮ ทำให้มี Flow ฝั่งส่งออกทองคำ หรือขายดอลลาร์ซื้อเงินบาท
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 35.90 - 36.15 บาท/ดอลลาร์
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือน มิ.ย. และการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย.
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.9500 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 158.45 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 158.38 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0902 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0899 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท. อยู่ที่ระดับ 36.212 บาท/ดอลลาร์
- 'เศรษฐา' แถลงสภาวันนี้ แจงความจำเป็นร่างพ.ร.บ.งบประมาณเพิ่มเติมปี 2567 จำนวน 1.22 แสนล้าน ใช้ทำ
- กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับเพิ่มคาดการณ์เศรษฐกิจไทยทั้งในปี 2567 และ 2568 โดยระบุว่า
- โรงแรม-ร้านอาหาร โอดต้นทุนพุ่งตามค่าไฟฟ้า ค่าน้ำมันปรับราคาอาหารไม่ได้เหตุกำลังซื้อหด-สมาคมโรงแรมเตรียม
- ศูนย์วิจัย Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคาร ไทยพาณิชย์ ประเมินว่า การผลิตทองคำโดยรวมทั้ง
- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกปรับตัวขึ้น 0.0% หรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงในเดือนมิ.ย. เมื่อเทียบราย
- ประธานเฟดสาขาซานฟรานซิสโกกล่าวว่า ข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐที่มีการเปิดเผยเมื่อไม่นานมานี้ทำให้กรรมการเฟดมี
- นักลงทุนให้น้ำหนักมากถึง 100% ในการคาดการณ์ว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในปีนี้ในเดือนก.ย. หลังการส่ง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (16 ก.ค.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดพุ่งขึ้นกว่า 1% ในวันอังคาร (16 ก.ค.) โดยตลาดยังคงได้ปัจจัยบวกจากการที่นักลงทุนเชื่อ
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนมิ.ย., การ
ผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนมิ.ย., รายงานสรุปภาวะเศรษฐกิจ หรือ Beige Book จากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด), จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนมิ.ย.จาก Conference Board