กลุ่ม SME ห่วงโซ่อสังหาฯ วอนหวังรัฐต่อลมหายใจ ปล่อยซอฟท์โลน-เลิก LTV-ดังกำลังซื้อต่างชาติ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 17, 2024 12:55 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็กที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอสังหาริมทรัพย์ ทั้งผู้รับเหมาก่อสร้าง ผู้ออกแบบ โรงงานวัสดุก่อสร้าง กลุ่มผู้ประกอบการด้านการตกแต่งสถานที่และการจัดสวน รวมตัวแสดงจุดยืนขอความเห็นใจและเรียกร้องทุกภาคส่วนร่วมเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสียงถึงรัฐบาลเร่งมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มากขึ้นอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สามารถพยุงธุรกิจให้เดินหน้าผ่านวิกฤตเศรษฐกิจชะลอตัวในครั้งนี้ไปได้ หลังจากธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำของ Supply Chain ได้รับผลกระทบแบบโดมิโนจนอาจถึงขั้นต้องปิดกิจการเป็นจำนวนมาก

กลุ่มผู้ประกอบการที่รวมตัวกันในครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้ประกอบการระดับสตาร์ตอัพที่เปิดดำเนินกิจการมาไม่ถึง 10 ปี ไปจนถึงกลุ่ม SMEs และโรงงานที่ดำเนินกิจการมาแล้วกว่า 60 ปี มีพนักงานสูงถึงระดับ 500 คน ซึ่งระบุว่าวิกฤตขณะนี้รุนแรงที่สุดตั้งแต่เคยเผชิญมา และเทียบได้กับวิกฤตต้มยากุ้งในปี 2540

กลุ่มผู้ประกอบการ ระบุว่า แม้มองผิวเผินวิกฤตครั้งนี้ไม่ได้รุนแรงฉับพลัน แต่เกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เริ่มชัดเจนในช่วงโควิด-19 และในครั้งนั้นผู้ประกอบการได้ปรับตัวรอบใหญ่ไปแล้ว ทั้งการปรับโครงสร้างพนักงาน การปรับลดสวัสดิการ ลดเวลาการทางาน การขยายฐานลูกค้าใหม่ แต่ภาระเงินกู้และดอกเบี้ยที่กู้ยืมในช่วงโควิด-19 ยังคงส่งผลให้การเงินในปัจจุบันมีความฝืดเคือง ซึ่งหลายแห่งพยายามบริหารจัดการและรับมืออย่างเต็มกาลัง แต่หากสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจและตลาดอสังหาฯ ยังไม่ได้รับการกระตุ้นอย่างเร่งด่วน เชื่อว่าปัญหาที่เกิดขึ้นครั้งนี้อาจส่งผลกระทบลุกลามไปสู่การปลดพนักงานก็เป็นได้

มาตรการสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์และ Supply Chain ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นยาแรงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจในปัจจุบัน บรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที ประกอบไปด้วย 7 ข้อเรียกร้อง ได้แก่

1.มาตรการซอฟท์โลนสำหรับผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้สามารถนามาเป็นเงินทุนหมุนเวียน ให้สามารถรับมือกับสถานการลูกหนี้การค้าค้างชาระเงินนานขึ้นได้

2.มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก รวมถึงยกเลิกมาตรการ LTV สำหรับผู้ซื้อบ้านหลังที่ 2 และที่ 3

3.มาตรการดึงกำลังซื้อจากกลุ่มคนทำงานที่เป็นต่างชาติ (Expat) เช่นขยายเพดานการถือครองที่ดิน เป็น 99 ปี และขยายเพดานสัดส่วนการซื้อคอนโดมิเนียมสูงขึ้นเป็น 75%

4.มาตรการกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน ด้วยการลดค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและการลดหย่อนภาษี

5.ลดภาษีนำเข้าสำหรับภาคการผลิต เพื่อช่วยลดราคาต้นทุนการผลิต

6.ลดค่าสาธารณูปโภคสำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมถึงลดเงินสมทบในการนำส่งประกันสังคม

7.จัดตั้งหน่วยงานหรือองค์กรเพื่อคุ้มครองผู้ประกอบการ เพื่อช่วยเหลือและให้คำแนะนำ

นอกจากนี้ มาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลออกมา รวมถึงอยู่ระหว่างการพิจารณา มองว่าจะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อได้เป็นอย่างดี ซึ่งอยากจะร้องขอภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันในการทางาน สนับสนุนให้เกิดขึ้นจริง เพื่อบรรเทาปัญหาที่อาจจะก่อให้เกิดวิกฤตในกลุ่มของตนในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการหลายภาคส่วนได้ทำการปลดพนักงานไปแล้วจำนวนมาก บางแห่งลดพนักงานไปมากกว่าครึ่งแล้ว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ