ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ระบุว่า ความต้องการบริการ Data center เติบโตตาม ปริมาณการใช้งานข้อมูลที่เติบโตด้วยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในยุคดิจิทัล โดยมูลค่าตลาดให้บริการ Data center ของโลก มีแนวโน้มขยายตัวราว 22%YOY ซึ่งเป็นการขยายตัวของบริการ Public cloud เป็นหลัก
เช่นเดียวกับตลาด Data center ของไทย โดย SCB EIC คาดว่า มูลค่าตลาด Data center ของไทยมีแนวโน้มเติบโต ราว 24%YOY ในปี 2567 ในทิศทางเดียวกับเทรนด์โลก ตามการใช้งานเทคโนโลยีในภาคธุรกิจที่เพิ่มขึ้ นและการใช้งานข้อมูลของผู้ บริโภคที่ยังเติบโต
โดยบริการ Public cloud ขยายตัวที่ราว 29%YOY จากปริมาณการใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ยังสูงขึ้นและการใช้ เทคโนโลยีที่มากขึ้นขององค์กรขนาดใหญ่ SMEs และ Startups เช่น การใช้งานระบบบริหารจัดการอัตโนมัติ และการออกเอกสารต่าง ๆ ในรูปแบบบริการรายเดือน (Subscription model) ซึ่งเป็นซอฟแวร์สำเร็จรูปที่จัดเก็บข้อมูลไว้บนระบบ Cloud รวมถึงปริมาณการ ใช้งานข้อมูลของผู้บริโภคที่ยังเติบโต สะท้อนจากปริมาณการใช้งานข้อมูลรายเดือนต่อหมายเลขผ่านโทรศัพท์มือถือของไทยที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในช่วงปี 2562-2566 จาก 10.35 GB ในไตรมาส 1/62 เป็น 33.70 GB ในไตรมาส 1/67 หรือคิดเป็น 27%CAGR
ขณะที่การให้บริการ Colocation ซึ่งเป็นบริการรับฝาก Server ที่ผู้ให้บริการจะจัดเตรียมพื้นที่สำหรับจัดวางอุปกรณ์พร้อม โครงข่ายการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยผู้เช่าจะจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ เองนั้น คาดว่าจะเติบโตราว 16%YOY เติบโตได้ราว 16%YOY จาก การเริ่มปรับใช้เทคโนโลยีในการทำงานของหลายองค์กร และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลจาก On-premise เป็นการใช้ บริการ Colocation เพื่อลดเม็ดเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา
จากรายงาน The Next-Generation Cloud Strategy in Asia ที่ทาง Alibaba Cloud ร่วมกับ NielsenIQ สำรวจความคิดเห็นของบริษัทในเอเชียกว่า 1,000 ราย เกี่ยวกับการลงทุนระบบ Cloud ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2565 พบว่า 95% ของบริษัทในไทยวางแผนเพิ่มการลงทุนด้าน Cloud ซึ่ง Private cloud เป็นระบบที่บริษัทในเอเชียส่วนใหญ่ให้ความสนใจสูง ตาม ด้วย Hybrid cloud ในรูปแบบ Customized cloud services ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจได้ดี อีกทั้งการขยาย Cloud region ของผู้ให้บริการต่างประเทศ ยังมีแนวโน้มเช่าใช้พื้นที่แบบ Colocation ในไทยเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานข้อมูลที่ ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งในไทย และในพื้นที่อาเซียน เช่น Alibaba, Google และ Amazon Web Service (AWS) เป็นต้น
ปัจจุบัน สิงคโปร์ถือเป็นศูนย์กลาง Data center ของอาเซียน แต่ด้วยนโยบายจำกัดการก่อสร้างศูนย์ Data center แห่ง ใหม่ของภาครัฐ ทำให้การขยายพื้นที่จัดเก็บข้อมูลไม่ทันต่อความต้องการใช้งาน ผู้ให้บริการ Data center ในสิงคโปร์จึงเริ่มมองหา ประเทศใกล้เคียง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย เพื่อลงทุน Data center แห่งใหม่
ซึ่งการเลือกพื้นที่ตั้งศูนย์ Data center นอกจากจะพิจารณาด้านต้นทุนและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจแล้ว ความสะดวก ในการเดินทาง ความปลอดภัย ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน และนโยบายส่งเสริมจากภาครัฐก็ถือเป็นปัจจัยที่ผู้ให้บริการให้ความ สำคัญ ซึ่งไทย เป็นอีกหนึ่งประเทศที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายของสิงคโปร์ ด้วยจุดแข็งด้านความเร็วในการ Download ข้อมูลผ่าน เครือข่ายอินเทอร์เน็ตประจำที่ (FBB) ที่สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนรองจากสิงคโปร์ ซื่งเป็นเครือข่ายหลัก ในการให้บริการ Data center
อีกทั้งตัวชี้วัดด้านความสะดวกในการเข้าไปประกอบธุรกิจในไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี จึงทำให้ผู้ให้บริการสิงคโปร์สนใจเข้ามาลง ทุน Data center ในไทยเพิ่มขึ้น เช่น Singtel ที่ได้ร่วมมือกับ บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ (GULF) - บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) หรือ เอไอเอส และ Evolution Data Centers ที่เป็นพันธมิตรกับกลุ่มเซ็นทรัลพัฒนา
แม้ว่าการลงทุน Data center ในไทยของผู้ให้บริการต่างประเทศจะขยายตัวขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2565 แต่การกระตุ้นให้ เกิดการลงทุน Data center ในไทยมากขึ้น ภาครัฐอาจต้องพิจารณาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม โดยหากพิจารณาในเชิงพื้นที่ให้บริการ Data center ในกลุ่มประเทศอาเซียนแล้ว ไทยถือว่าอยู่ในอันดับ 4 รองจากสิงคโปร์ (ที่เป็นศูนย์กลาง Data center ในอาเซียน) มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งแม้ตลาด Data center ของไทยยังมีโอกาสเติบโตขึ้นได้อีกตามการใช้เทคโนโลยีที่มากขึ้น และภาครัฐเอง ก็มีนโยบายสนับสนุนให้ภาคธุรกิจใช้ Data Center หรือ Cloud Service ที่ตั้งภายในประเทศ ด้วยการยกเว้น VAT และการให้สิทธิ ประโยชน์ทางภาษี แต่นโยบายส่งเสริมการลงทุนที่ให้แก่ผู้ลงทุน Data center ในไทยของภาครัฐในปัจจุบันยังอาจจูงใจไม่มากพอเมื่อ เทียบกับหลายประเทศ
ตารางเปรียบเทียบแรงจูงใจในการลงทุน Data center ของมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย จำนวนประชากร 34 ล้านคน 279 ล้านคน อันดับ 4 ของโลก 71 ล้านคน และอันดับ 1 ของอาเซียน อัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตต่อประชากร 97.39% 66.49% 87.97% ความเร็วในการ Download ข้อมูล (เมษายน 2024) -อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่ : 91.69 Mbps 26.26 Mbps 45.05 Mbps - อินเทอร์เน็ตประจำที่: 137.12 Mbps 30.22 Mbps 232.3 Mbps อัตราค่าไฟฟ้าสำหรับภาคธุรกิจ 2.9-3.7 2.5-3 4.18 (บาท/กิโลวัตต์ชั่วโมง) นโยบายสนับสนุนการลงทุน Data center มาเลเซีย: - ให้สิทธิลดหย่อนภาษี 90-100% ของมูลค่าการลงทุน สูงสุด 15 ปี - ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่จำเป็น และลดอากรแสตมป์ 50% การโอน/เช่าที่ดิน สำหรับ Data center ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ - รับประกันเสถียรภาพทางไฟฟ้าให้กับ Data center (การผลิตไฟฟ้าในมาเลเซียไม่เพียงพอต่อการใช้งาน) อินโดนีเซีย: - ให้สิทธิลดหย่อนภาษี 50-100% ของมูลค่าการลงทุนสูงสุด 20 ปี - ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มเติมสำหรับ Data center ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ไทย: - ยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่จำเป็น และยกเว้นภาษีนิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี - ยกเว้น VAT จากเดิม 7% สำหรับผู้ให้บริการ Data center และ Cloud service ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข ICT Development Index 2023 IDI score = 94.5 IDI score = 80.1 IDI score = 88.7 ความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ 2020 (The Ease of Doing Business ranking) อันดับ 12 อันดับ 73 อันดับ 21 (DB score = 81.5) (DB score = 69.6) (DB score = 80.1)
ทั้งนี้ การพิจารณาสิทธิประโยชน์และนโยบายเพิ่มเติมของภาครัฐ อาจเริ่มจาก
1. การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าอุปกรณ์ที่จำ เป็นและภาษีนิติบุคคลจาก 8 ปีเป็นมากกว่า 10 ปี เนื่องจากมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุน Data center สูงสุด 15 ปีและ 20 ปี ตามลำดับ
2. การให้สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับ Data center ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ อาทิ การปรับลดอากรแสตมป์ สำหรับการโอน/เช่าที่ดิน ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอย่าง EEC เช่นเดียวกับในมาเลเซีย
3. นโยบายเพิ่มเติมในการสร้างระบบนิเวศ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บข้อมูลที่สอดคล้องตามมาตรฐานสากล เช่น การกำหนด นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการกำหนดให้ภาคธุรกิจในไทยจัดเก็บข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และข้อมูลส่วน บุคคลใน Data center ที่ตั้งอยู่ในประเทศเท่านั้น ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการใช้บริการ Data center ในประเทศและดึงดูดการลงทุน จากกลุ่มธุรกิจต่างชาติที่ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลด้วย
4. นโยบายด้านการพัฒนาทักษะบุคลากร STEM ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่แสดงถึงความพร้อมด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลของ ไทยในการรองรับการเติบโตของตลาด Data center ในระยะข้างหน้า
การเติบโตของ Data center ส่งผลให้การใช้ไฟฟ้า และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้น จึงทำให้ถูกจับตาในประเด็น ด้าน Sustainability เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของ Data center ที่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในปริมาณสูง ทั้งจากอุปกรณ์ IT ระบบ ไฟฟ้า ระบบปรับอากาศ และระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก
โดย The International Energy Agency (IEA) ได้รายงานการใช้พลังงานไฟฟ้า ของ Data center ทั่วโลกใน ปี 2565 คิดเป็น 1.3% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด และปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปี 2020 คิดเป็น 0.6% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้ง โลก จึงทำให้การบริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าพร้อมกับการรักษาเสถียรภาพไฟฟ้าเพื่อรองรับช่วงเวลาที่มีการใช้งานสูงสุด (Peak traffic) เป็นความท้าทายสำคัญของผู้ให้บริการ Data center
จะเห็นได้ว่า แม้ Data center ของไทยมีแนวโน้มเติบโตสูงในระยะข้างหน้า แต่นโยบายของภาครัฐ ถือว่ามีบทบาทสำคัญ ยิ่งในทุกมิติของการเติบโตตั้งแต่การดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การผลักดันสู่ความยั่งยืน ตลอดจนการส่งเสริมให้โอกาสในการก้าวสู่การเป็น หนึ่งในศูนย์กลางด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนของไทยนั้น มีความเป็นไปได้มากขึ้น