เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค โดยเมื่อคืนนี้ยังไร้ปัจจัยใหม่ ตลาดยังคงคาดคะเนเรื่องการลด ดอกเบี้ยของสหรัฐฯ ทั้งนี้ ตลาดเฝ้ารอการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่จะออกมาในสัปดาห์นี้เป็นหลัก
สำหรับวันนี้ ตลาดรอติดตามดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ของสหรัฐฯ ส่วนปัจจัยในประเทศ รอติดตามความคืบหน้าของโค รงการดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท และศาลรัฐธรรมนูญ ที่นัดพิจารณาต่อ คดี 40 สว. ยื่นฟ้องนายกฯ
"วันนี้ตลาดรอดูปัจจัยในประเทศเรื่องการเมือง โดยเฉพาะดิจิทัลวอลเล็ต ส่วนกรณีคดีนายกฯ ตลาดคาดว่าไม่มีอะไร" นัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 36.08 - 36.19 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 155.25/30 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 155.92 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0847/0853 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0870 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 36.253 บาท/ดอลลาร์
- นายกรัฐมนตรี ส่ง "3 ขุนคลัง" นำแถลงรายละเอียดโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ครั้งที่ 1 ซึ่งรอบนี้ จะแถลงให้ประชาชนได้
- กลุ่มงาน EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ชี้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้า คงเป้าจีดีพี ปี'67 โตแค่ 2.5% ครึ่งปีหลังจากนี้ ห่วงกำลัง
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เริ่มเข้าสู่ช่วงงดเว้นการแสดงความเห็นเกี่ยวกับนโยบายการเงิน (Blackout Period)
- ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาฟิลาเดลเฟีย เปิดเผยดัชนีภาคบริการในภูมิภาคมิด-แอตแลนติก ดิ่งลงสู่ระดับ -10 ใน
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (23 ก.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันอังคาร (23 ก.ค.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการร่วงลงของอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
- นายเอริก ชมิตต์ สมาชิกวุฒิสภาสังกัดพรรครีพับลิกัน และนางแนนซี เมซ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรครีพับลิกัน ได้
- นักลงทุนจับตาข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส
2/2567 และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจาก
สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค
(CPI)