ภาวะตลาดเงินบาท: เย็นนี้ 35.96 แกว่งแคบ ตลาดรอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday July 30, 2024 16:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเย็นนี้อยู่ที่ 35.96 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อเช้าที่ ระดับ 36.00/03 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 35.94 - 36.02 บาท/ดอลลาร์ ด้านสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อน ไหวแบบผสม

"วันนี้เงินบาทแกว่งออกข้าง รอปัจจัยใหม่ ทั้งผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ในวันพรุ่งนี้ (31 ก.ค.) และ ผลการประชุม FOMC ที่จะออกมาในเช้าวันที่ 1 ส.ค. นี้" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับคืนนี้รอติดตามตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน และอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนมิ.ย. ของสหรัฐฯ

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 35.90 - 36.10 บาท/ดอลลาร์

THAI BAHT SPOT RATE FIXING อยู่ที่ระดับ 35.9945 บาท/ดอลลาร์

*ปัจจัยสำคัญ

  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 154.69 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 154.00 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0831 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0810 ดอลลาร์/ยูโร
  • ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ThaiESG) จากนี้จะส่งให้ทาง
คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจร่างอีกครั้ง โดยปรับวงเงินลดหย่อนภาษีสูงสุดจากเดิม 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 3 แสนบาท ลดระยะเวลาลงทุน
เหลือ 5 ปี เพื่อเร่งเครื่องกระตุ้นตลาดทุน
  • รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยภาพรวมการท่องเที่ยวในปีนี้ว่า ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.
ค.-28 ก.ค. 67 รวมทั้งสิ้น 20,335,107 คน สร้างรายได้จากการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติแล้วประมาณ 957,319 ล้านบาท
โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทยสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ จีน 4,065,109 คน มาเลเซีย 2,837,922 คน อินเดีย 1,186,288
คน เกาหลีใต้ 1,073,792 คน และรัสเซีย 996,990 คน
  • ธนาคารกรุงไทย (KTB) เปิดเผยว่า ภาคการท่องเที่ยวที่เป็นเครื่องยนต์สำคัญของเศรษฐกิจไทย มีสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน
โดยคาดว่า ในปี 67 จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีโอกาสขึ้นไปแตะระดับ 36.5 ล้านคน และในปี 68 มีโอกาสเข้าสู่ระดับเดียวกับช่วง
ก่อนโควิดที่ 40 ล้านคน
  • ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า KTB คงประมาณการ
เศรษฐกิจไทยปี 67 ไว้ที่ 2.3% แม้จะมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคในประเทศ และการลงทุน อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดที่สำคัญของ
เศรษฐกิจไทยในปีนี้ คือภาคการส่งออก ที่คาดว่าจะโตได้ประมาณ 0.5% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว จาก 2 ปัจจัยหลัก คือ
1. สงครามความขัดแย้งทั้งในตะวันออกกลาง และรัสเซีย-ยูเครน และ 2. สงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ นอกจากนี้ ยังต้องจับตา
การเลือกตั้งของสหรัฐฯ ซึ่งคาดว่าจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก เนื่องจากยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยมีไม่น้อยที่มองว่า มีโอกาส
ที่การแข่งขันเชิงนโยบายของสหรัฐฯ จะนำไปสู่ความไม่แน่นอนของการค้าการลงทุนต่างประเทศ
  • กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยเมื่อวานนี้ (29 ก.ค.) ว่า หนี้สาธารณะโดยรวมของรัฐบาลกลางสหรัฐพุ่งขึ้นทะลุระดับ
35 ล้านล้านดอลลาร์เป็นครั้งแรก โดยตัวเลขดังกล่าวนับจนถึงวันศุกร์ที่ 26 ก.ค.
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เริ่มการประชุมนโยบายการเงินวันแรกในวันนี้ และจะแถลงผลการประชุมในวันพรุ่งนี้
(31 ก.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการตัดสินใจของ BOJ ในเรื่องอัตราดอกเบี้ยและการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่า
BOJ จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ และจะปรับลดการซื้อพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น
  • นักลงทุนรอดูผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในวันอังคารและพุธนี้ ซึ่งคาดว่าเฟดจะเตรียมการสำหรับการปรับ
ลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนก.ย. รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานของสหรัฐในวันศุกร์นี้
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) จะประชุมนโยบายการเงินในวันพฤหัสบดีนี้ ซึ่งมีทั้งเทรดเดอร์ที่คาดการณ์ว่า BoE จะปรับลด

อัตราดอกเบี้ยลง 0.25% และคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิม


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ