น.ส.ชนานันท์ สุภาดุลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและกำกับการแลกเปลี่ยนเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงการปรับปรุงหลักเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินและผลักดันระบบนิเวศน์ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (NEW FX ecosystem) เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่น เอื้อให้ทุกภาคส่วนทั้งประชาชน นักลงทุนและภาคธุรกิจ สามารถทำธุรกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย สะดวกคล่องตัว ซึ่งได้มีการทยอยดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง 2 ระยะแล้ว (63-66) ซึ่งการผ่อนคลายเกณฑ์ในเฟส 1 และ เฟส 2 ที่ผ่านมาได้ผลเป็นไปตามคาด
สำหรับในระยะที่ 3 นี้ (ปี 67) จะเป็นการผ่อนคลายเกณฑ์มากขึ้น เพื่อเพิ่ม Ease of doing business ในการทำธุรกิจในไทย เพื่อช่วยลดต้นทุนของระบบเศรษฐกิจโดยรวม คาดว่าจะสามารถออกเกณฑ์และมีผลได้ไม่เกินไตรมาส 4 ของปีนี้ ได้แก่
- ผ่อนเกณฑ์การโอนเงินออก (outflow) ของคนไทย
- ขยายวงเงินโอนออกสำหรับวัตถุประสงค์เงินให้เปล่า จาก 5 หมื่นดอลลาร์/ปี เป็น 2 แสนดอลลาร์/ปี
- ลดวัตถุประสงค์ที่ต้องขออนุญาต (negative list) ให้เหลือเท่าที่จำเป็น
- ให้คนไทยฝากเงินในต่างประเทศเพื่อ Notional pooling ได้
ตัวอย่าง เช่น ธุรกิจในไทยให้กู้บาทกับบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยไม่ต้องขอนุญาต, ธุรกิจในไทยส่งเงินไปบริหารเงินในลักษณะ Notional pooling กับบริษัทในเครือต่างประเทศ โดยไม่ต้องขออนุญาต และ ลดการแสดงเอกสารหลักฐานของบริษัทในต่างประเทศ รวมถึงบริหารความเสี่ยง FX และสภาพคล่องเงินบาทได้ยืดหยุ่นขึ้น โดยไม่ต้องขออนุญาต
- ผ่อนเกณฑ์ให้ NR เพิ่มเติม โดยขยายผลโครงการ Non-resident Qualified Company (NRQC) เป็นการอนุญาตทั่วไป จากในเฟสก่อนหน้ามีบริษัทต่างชาติเข้าร่วมโครงการ 82 รายจากหลากหลายอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ หลังจากผ่อนคลายเกณฑ์ ถ้าเป็นบริษัทต่างประเทศที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน จะสามารถมาติดต่อทำธุรกรรมกับธนาคารพาณิชย์ได้ โดยภาระเอกสารจะน้อย และบัญชีเงินบาท จะไม่มีแคปวงเงินสิ้นวัน
"ในมุมของการบริหารธุรกิจ ไม่ว่าแม่จะอยู่ข้างนอก ลูกอยู่ข้างใน หรือ แม่อยู่ข้างใน ลูกอยู่ข้างนอก การบริหารเงิน ดูแลความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนในกลุ่มจะทำได้สะดวกมากขึ้น