นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 35.23 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 35.32 บาท/ดอลลาร์
อย่างไรก็ดี วันนี้ค่าเงินบาทค่อนข้างผันผวนมาก ประกอบดัชนีตลาดหุ้นในเอเชียร่วงหนักไปตาม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 35.05 - 35.35 บาท/ดอลลาร์ และแข็งค่าสุดที่ระดับ 35.05 บาท/ดอลลาร์ ซึ่ง เป็นการแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 6 เดือนครึ่ง นับตั้ง 16 ม.ค. 67 เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า หลังจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาค เกษตร ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด
ขณะเดียวกัน ตลาดยังกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เร่งลดดอกเบี้ยในช่วงการประชุมอีก 3 ครั้งที่เหลือของปีนี้ โดย ตลาดคาดว่าเฟดควรลดดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปีนี้ รวมทั้งสิ้น 1.25%
"ตลาดมองว่าเฟดควรจะลดดอกเบี้ย 0.5% รวม 2 ครั้ง และลด 0.25% อีก 1 ครั้ง รวมเป็น 1.25% โดยครั้งแรกที่ควร จะเริ่มลด 0.5% คือในเดือน ก.ย.นี้ เพราะตลาดมองว่าเฟด take action ช้าเกินไป จริงๆ ควรลดดอกเบี้ยตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้ว ตัว เลข non farm ที่ออกมาไม่ค่อยดี ก็เพราะความกังวลเศรษฐกิจสหรัฐด้วย" นักบริหารเงิน ระบุ
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 35.05-35.35 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.17 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.99 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0954 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0914 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,274.67 จุด ลดลง 38.41 จุด (-2.93%) มูลค่าซื้อขายราว 58,797.84 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 99.16 ล้านบาท
- รมว.คลัง-กรรมการและผู้จัดการ ตลท.กล่าวถึงกรณีดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับลดลงมากกว่า 20 จุด ในช่วงเช้าที่ผ่านมา
- รมว.คลัง กล่าวถึงความคืบหน้ากองทุนวายุภักษ์ ว่า ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยคาดว่าจะมีความชัดเจนในเดือน
- เงินเยนพุ่งขึ้นสู่จุดสูงสุดรอบ 6 เดือน หลังธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) ขึ้นดอกเบี้ยจาก 0-0.1% เป็น 0.25% ซึ่งถือ
- นักเศรษฐศาสตร์ของโกลด์แมน แซคส์ ปรับเพิ่มความเป็นไปได้ที่สหรัฐจะเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีหน้าเป็น 25%
- บรรดาธนาคารในย่านวอลล์สตรีทเรียกร้องให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างมาก โดยพิจารณา
- นักเศรษฐศาสตร์ของซิตี้กรุ๊ป คาดว่า เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.50% ในเดือนก.ย.และพ.ย. และอีก 0.25% ใน
- รัฐมนตรีต่างประเทศของกลุ่ม G7 ได้เรียกร้องเมื่อวานนี้ (4 ส.ค.) ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับวิกฤตตะวันออกกลางใน
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุด
ท้ายเดือนก.ค, ดัชนีภาคบริการเดือนก.ค., ยอดนำเข้า, ส่งออก และดุลการค้าเดือนมิ.ย. และ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานราย
สัปดาห์ เป็นต้น