นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.96/98 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากเปิดตลาด ที่ 35.14 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.95 - 35.15 บาท/ดอลลาร์ เงินบาทวันนี้ค่อนข้างผันผวน โดยช่วงเช้าอ่อนค่า และกลับมาแข็งค่าในช่วงบ่าย จากปัจจัยการเมืองในประเทศ ที่ล่าสุด ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย จะเสนอชื่อ น.ส.แพ ทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันพรุ่งนี้ (16 ส.ค.) เพื่อโหวตเลือกเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 31
ด้านสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่ (ยกเว้นเงินเยน) เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับเงินบาท คือไปในทางแข็งค่า เนื่องจากสกุล ดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า หลังการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อเมื่อวานนี้ (14 ส.ค.)
"แนวโน้มเงินบาทในวันพรุ่งนี้ คาดยังอยู่ในแนวที่แข็งค่า มีอ่อนค่าเป็นช่วงบางระยะ มาจากข่าวการเมืองในประเทศเป็น หลัก แต่ส่วนใหญ่จะแข็งค่า เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ออกมาไม่ค่อยดี" นักบริหารเงิน ระบุ
สำหรับคืนนี้ ต้องรอติดตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ของสหรัฐฯ
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.15 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 147.35/36 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 147.25 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1010/1011 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1013 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,289.84 จุด ลดลง 2.85 จุด (-0.22%) มูลค่าการซื้อขาย 41,339.73 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 513.94 ลบ.
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคเพื่อไทย มีมติเห็นชอบการเสนอชื่อ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย
- สถาบันอาหาร เผยการส่งออกสินค้าอาหารของไทย 6 เดือนแรกปี 67 มูลค่า 8.52 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.9% ลุ้นครึ่ง
- สื่อต่างประเทศ รายงานว่า นักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มหันเหออกจากพันธบัตรของรัฐบาลไทย เนื่องจากธนาคารแห่ง
- นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของความไม่แน่นอนทางการเมือง ดัชนี SET ตลาดหุ้นไทยปรับตัว
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า เขามีความกังวลเกี่ยวกับภาวะตลาดแรงงานมากกว่าเงิน
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาแอตแลนตา เปิดเผยว่า เขาพร้อมพิจารณาการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประ
- ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 2/2567 ของญี่ปุ่น ขยายตัวแข็งแกร่งเกินคาด ทั้งเมื่อเทียบเป็นราย
ไตรมาสและเทียบเป็นรายปี เนื่องจากค่าจ้างที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้ช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคเอกชนทั่วประเทศ