ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.99/35.02 จับตาผลโหวตเลือกนายกฯ คนใหม่ของไทย-ตัวเลขเศรษฐกิจตปท.

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 16, 2024 09:12 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เช้านี้เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.99/35.02 บาท/ดอลลาร์ ทรงตัวจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.96/98 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคทรงตัว เคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับเงินบาท โดยเมื่อคืนมีการปรับตัวอ่อนค่าเล็กน้อย จากตัว เลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ออกมาดี ทั้งยอดค้าปลีกที่ออกมาดีกว่าเดิม จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ที่ลดลง และดัชนีภาคการ ผลิตปรับตัวขึ้น ส่งผลให้ดอลลาร์แข็งค่า

โดยวันนี้ต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจ ทั้งดุลการค้าเดือนมิ.ย. จากอียู และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนส.ค. จาก สหรัฐฯ สำหรับประเด็นในประเทศที่ต้องติดตาม คือผลการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ของไทย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 34.85 - 35.15 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 35.13125 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.03/04 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 147.35/36 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0978/0979 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1010/1011 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 35.087 บาท/ดอลลาร์
  • 9 พรรคร่วมรัฐบาลขั้วเดิม จับมือแถลงเดินหน้า "รัฐบาลเพื่อไทย2" พร้อมโหวต "แพทองธาร" นั่งนายกฯ คนที่ 31
วันนี้ ด้านว่าที่นายกฯ ขอบคุณพรรคร่วมฯ ยืนยันทำสุดความสามารถ เผย 6 ระเบิดเวลาเศรษฐกิจ รับโจทย์ยากเศรษฐกิจชะลอ หนี้สูงทั้ง
ครัวเรือน เอกชน รัฐบาล ส่งออกเริ่มติดลบ ราคาพลังงาน ค่าแรง ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำต้นทุนธุรกิจเพิ่ม
  • "เอกชน" หนุน "แพทองธาร" นั่งนายกรัฐมนตรี เป็นคนรุ่นใหม่ มีความสดเป็นโซ่ข้อกลางได้ มี "ทักษิณ" ให้คำแนะนำ
คาดเพื่อไทยจัดตั้งรัฐบาลใหม่สานต่อนโยบายได้ แนะเร่งจัดตั้ง ครม.ชุดใหม่ให้เร็ว เชื่อรัฐบาลใหม่พร้อมใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ
  • "หอการค้าฯ" มอง "เศรษฐา" หลุดเก้าอี้นายกรัฐมนตรีกระทบเศรษฐกิจระยะสั้น แนะเร่งเบิกจ่ายงบภาครัฐขับเคลื่อน
ศก.ต่อเนื่อง "ส.อ.ท." หวังเลือกนายกฯ ใหม่ได้เร็ว ห่วงสุญญากาศการเมืองฉุด ศก.
  • ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่การ
เปิดขายหน่วยลงทุนกองทุนรวมวายุภักดิ์ประเภท ก.วงเงิน 100,000-150,000 ล้านบาท ให้แก่นักลงทุนทั่วไปยังคงเป็นไปตามแผนเดิม
เนื่องจากได้ผ่านการอนุมัติจาก ครม.เรียบร้อยแล้ว โดยจะเปิดขายหน่วยลงทุนไตรมาส 3 ปีนี้ หรือราวเดือน ก.ย.ปีนี้
  • กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรก ลดลง 7,000 ราย สู่ระดับ 227,000 รายใน
สัปดาห์ที่แล้ว และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 236,000 ราย
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ยอดค้าปลีกพุ่งขึ้น 1% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งฟื้นตัวหลังจากที่ลดลง
0.2% ในเดือนมิ.ย. และแข็งแกร่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่ายอดค้าปลีกเดือนก.ค.จะเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% ยอดค้าปลีกที่เพิ่มขึ้นเกินคาดใน
เดือนก.ค.บ่งชี้ว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐเริ่มฟื้นตัว และการชะลอตัวของจำนวนผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานสะท้อนให้เห็นถึงความแข็ง
แกร่งของตลาดแรงงาน โดยข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ
  • ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันพฤหัสบดี (15 ส.
ค.) หลังสหรัฐเปิดเผยยอดค้าปลีกที่สูงเกินคาดและข้อมูลที่บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน ซึ่งทำให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวล
เกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐ
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกในวันพฤหัสบดี (15 ส.ค.) โดยได้ปัจจัยบวกจากความหวังที่ว่าธนาคารกลางสหรัฐ
(เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. รวมทั้งสถานการณ์ตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เป็นปัจจัยหนุนแรงซื้อสินทรัพย์
ปลอดภัย
  • นักลงทุนจับตาการแสดงความเห็นของนายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ในการประชุมประจำปี
ของเฟดซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองแจ็กสัน โฮล รัฐไวโอมิง ในวันที่ 22-24 ส.ค.นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปีนี้ โดย
การประชุมจะจัดขึ้นในหัวข้อ "Reassessing the Effectiveness and Transmission of Monetary Policy"
  • นักลงทุนมีความเชื่อมั่นว่าเฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย. โดยล่าสุดเจ้าหน้าที่เฟด 2 รายซึ่งรวมถึง

ประธานเฟดสาขาแอตแลนตา ได้ออกมาส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ที่คณะกรรมการเฟด จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนก.ย.

ซึ่งแตกต่างจากก่อนหน้านี้ ที่เจ้าหน้าที่เฟดมีท่าทีระมัดระวังในการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ