นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.97/98 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็ก น้อยจากช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.93 บาท/ดอลลาร์
โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.87-34.04 บาท/ดอลลาร์ วันนี้เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคยังแข็งค่า จากทิศทางดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนค่า หลังเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (23 ก.ค.) ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ออกมาแถลงยืนยันที่จะลด ดอกเบี้ย ประกอบกับราคาทองคำที่ปรับตัวขึ้น เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หนุนให้เงินบาทแข็งค่าด้วย
"เงินบาทระหว่างวันที่ระดับ 33.87 บาท/ดอลลาร์ เป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 1 ปีกว่า ๆ หรือตั้งแต่เดือนก.ค.66" นัก
นักบริหารเงิน คาดพรุ่งนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.80-34.10 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.97/98 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 143.81 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1173/1175 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1188 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,364.81 จุด เพิ่มขึ้น 9.94 จุด (+0.73%) มีมูลค่าการซื้อขาย 47,339.20 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 466.21 ลบ.(SET+MAI)
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวใน
- รมว.คลัง ระบุว่า เงินบาทที่กลับมาแข็งค่าขึ้นมาก เป็นไปตามภาวะตลาดการเงินโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่
- รมว.คลัง กล่าวว่า ปัจจุบันดัชนี SET อยู่ที่ 1,300 จุดเศษ ๆ ซึ่งลดลงค่อนข้างมากจากระดับสูงสุดเดิม ทำให้ความมั่งคั่ง
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 67 ไว้ที่ 2.5% แต่ปรับ
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ประเภท 1 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- สมาชิกหลายคนของสภาบริหารของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในการประชุมที่แจ็กสัน โฮลว่า พวกเขาจะสนับสนุน
- ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนก.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้
บริโภคเดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, GDP ไตรมาส 2/2567 (ประมาณการครั้งที่ 2), ดัชนีราคาการใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค.