นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 34.07 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.99 บาท/ดอลลาร์
ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.01-34.12 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทเริ่มกลับมาอ่อนค่าตามสกุลเงินอื่นใน ภูมิภาค และแม้การรายงานตัวเลขส่งออกของไทยเดือนก.ค. ที่ขยายตัวสูงถึง 15% ก็ไม่ได้มีผลต่อเงินบาทมากนัก เพราะการนำเข้าก็เพิ่ม สูงขึ้นเช่นกัน ทำให้ไทยกลับมาขาดดุลการค้าอีกครั้งในเดือนก.ค.
"การส่งออก ค่อนข้างส่งผลที่จำกัดต่อเงินบาท เพราะแม้ส่งออกจะขยายตัวได้สูง แต่การนำเข้าก็สูงเช่นกัน และทำให้ไทย กลับมาขาดดุลการค้าอีก" นักบริหารเงิน ระบุ
คืนนี้ ตลาดรอดูการรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐฯ รวมทั้งยังติดตามสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.00-34.20 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.79 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 144.72 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ะรดับ 1.1166 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,364.31 จุด ลดลง 0.50 จุด (-0.04%) มูลค่าซื้อขาย 43,499.35 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,077.54 ล้านบาท
- กระทรวงพาณิชย์ เผยมูลค่าการส่งออกเดือนก.ค.67 อยู่ที่ 25,720.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 15.2% มากกว่าที่ตลาด
- ส.อ.ท. เผยยอดส่งออกรถยนต์ ก.ค.67 อยู่ที่ 83,527 คัน ลดลง 22.70% (YOY) เนื่องจากฐานที่สูงในปีก่อน และ
- ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-25 ส.ค. 67 รวมทั้งสิ้น 23,096,752 คน สร้างรายได้จาก
- แบงก์ชาติ เผยสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ (รวมเครือ) ไตรมาส 2/67 ขยายตัวชะลอลงที่ 0.3% สินเชื่อธุรกิจโดยรวม
- แบงก์ชาติ ติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของธุรกิจ SMEs ขนาดเล็ก ธุรกิจในกลุ่มที่ผลประกอบการอาจได้รับผล
- องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศแผนยุทธศาสตร์ทั่วโลก เพื่อเตรียมความพร้อมและรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค
- สำนักงานสถิติเยอรมนี เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลง 0.1% ในไตรมาส 2/2567 เมื่อ
- ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือนส.ค., จำนวนผู้
ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, GDP ไตรมาส 2/2567 (ประมาณการครั้งที่ 2), ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล
(PCE) เดือนก.ค. และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนส.ค. (ประมาณการครั้งสุดท้าย)