ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 33.97 แข็งค่าเกาะกลุ่มภูมิภาค รอปัจจัยใหม่หนุนทิศทาง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 28, 2024 09:34 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.97 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็ง ค่าจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 34.07 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้แข็งค่าเช่นเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาคและตลาดโลก จากดอลลาร์ที่อ่อนค่า ทั้งนี้ ยังไม่มีปัจจัยใหม่ชี้นำตลาด โดยช่วงนี้ตลาดมั่นใจมากขึ้นว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ใกล้จะลดดอกเบี้ยแล้ว นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.85 - 34.05 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ต้องติดตาม วันนี้ คือ ทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐ และทองคำ

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.9525 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.36 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 144.79 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1174 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.062 บาท/ดอลลาร์
  • มติ กก.บห.พรรคเพื่อไทย ไม่เอา "พลังประชารัฐ" ร่วมรัฐบาล - ส่งเทียบเชิญ สส."กลุ่มธรรมนัส - ประชาธิปัตย์"
ร่วมรัฐบาล "สรวงศ์" อ้างต้องรวมเสียงในสภาฯ ให้มากที่สุด ขณะที่ "ประวิตร" นัดรวมพลัง 18 สส.สายตรง รับรองสถานะพรรค
ประชาชนแล้ว คาดทูลเกล้าฯ ผู้นำฝ่ายค้าน หลังแถลงนโยบาย
  • Conference Board เปิดเผยผลสำรวจระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 103.3 ในเดือน
ส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 6 เดือน จากระดับ 101.9 ในเดือนก.ค. อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับตลาด
แรงงาน หลังจากอัตราว่างงานเดือนก.ค.พุ่งขึ้นแตะระดับ 4.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 ปี
  • ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (27 ส.
ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้แนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลาง
สหรัฐฯ (เฟด)
  • สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบเล็กน้อยในวันอังคาร (27 ส.ค.) ขณะที่นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่าย
เพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ เพื่อสัญญาณบ่งชี้ทิศทางเงินเฟ้อและแนวโน้มการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ
ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนก.ค.ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์
นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่เฟดให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบ
คลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)
  • นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ดัชนี PCE ทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.5% ใน
เดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากปรับตัวขึ้น 2.5% เช่นกันในเดือนมิ.ย. และคาดว่าดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวม
หมวดอาหารและพลังงาน จะเพิ่มขึ้น 2.7% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายปี หลังจากที่เพิ่มขึ้น 2.6% ในเดือนมิ.ย.
  • FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า ขณะนี้นักลงทุนให้น้ำหนัก 63.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ใน
การประชุมเดือนก.ย. และให้น้ำหนัก 36.5% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมครั้งนี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ