คลัง เผยศก.ภูมิภาค ก.ค.โตต่อเนื่อง บริโภคเอกชนขยายตัวดี นำโดยภาคใต้-ตะวันตก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 29, 2024 12:50 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

คลัง เผยศก.ภูมิภาค ก.ค.โตต่อเนื่อง บริโภคเอกชนขยายตัวดี นำโดยภาคใต้-ตะวันตก

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนก.ค. 67 ขยายตัวได้ต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะภาคใต้ และภาคตะวันตก อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นในหลายภูมิภาค

  • ภาคใต้

มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 20.9% 0.8% และ 25.3% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -5.7% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 21.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

คลัง เผยศก.ภูมิภาค ก.ค.โตต่อเนื่อง บริโภคเอกชนขยายตัวดี นำโดยภาคใต้-ตะวันตก

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -27.5% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 15.2% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -24.4% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 229.5% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานห้องเย็นเก็บรักษาอาหารสำเร็จรูปในจังหวัดสงขลา เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 82.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 83.2 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 20.1% และ 26.9% ต่อปี ตามลำดับ

  • กทม. และปริมณฑล

มีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคภาคเอกชน และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 11.7% และ 3.4% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -5.1% และ -0.9% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 0.5% และ 15.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามลำดับ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -23.2% และ -3.4% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 9.8% และ 20.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 33.4% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอะไหล่และอุปกรณ์ของยานพาหนะในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 8.7% และ 14.7% ต่อปี ตามลำดับ

  • ภาคตะวันตก

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค และรายได้เกษตรกรที่ขยายตัว อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 17.4% และ 12.9% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -22.4% และ -20.8% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 10.7% และ 10.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -21.9% และ -12.7% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 13.9% และ 0.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 8.5% และ 18.7% ต่อปี ตามลำดับ

  • ภาคตะวันออก

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค รายได้เกษตรกร และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 14.2% และ 10.1% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -25.1% และ -6.2% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 10.6% และ 9.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -26.3% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 6.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -6.5% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 68.5% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศในจังหวัดระยอง เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 91.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 17.7% และ 28.3% ต่อปี ตามลำดับ

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 19.2% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -17.2% และ -8.1% ต่อปี ตามลำดับ แต่ขยายตัวที่ 7.7% และ 6.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรหดตัวที่ -0.2% ต่อปี

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 60.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 61.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -27.3% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 13.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -19.8% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 35.7% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังดัดแปลงในจังหวัดมุกดาหาร เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 73.6 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 70.7 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 23.3% และ 23.1% ต่อปี ตามลำดับ

  • ภาคกลาง

มีปัจจัยสนับสนุนจากเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการที่ขยายตัวได้ดี อีกทั้งความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 2.8% 0.3% และ 1.9% ต่อปี ตามลำดับ ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -20.1% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 12.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 56.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.8 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -35.2% และ -11.1% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 9.2% และ 0.4% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูง โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตและจัดจำหน่ายสารเคมี ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.1 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 8.8% และ 11.4% ต่อปี ตามลำดับ

  • ภาคเหนือ

การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ขยายตัวที่ 1.8% ต่อปี ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และจำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -1.8% และ -9.0% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 0.7% และ 15.7% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รายได้เกษตรกรหดตัวที่ -3.1% ต่อปี

ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.7 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -18.6% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 14.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม จำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -27.8% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 28.3% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตภาชนะบรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากเยื่อกระดาษชานอ้อยในจังหวัดนครสวรรค์ เป็นสำคัญ

ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 89.0 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน ขยายตัวที่ 5.8% และ 13.2% ต่อปี ตามลำดับ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ