คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ปรับเพิ่มคาดการณ์ส่งออกทั้งปีเป็นโต 1.5-2.5% จากประมาณการเดิมที่ 0.8-1.5% หลังการส่งออกของไทยในเดือนกรกฎาคมโตถึง 15.2% จากแรงหนุนของวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก แต่การเติบโตดังกล่าว ยังกระจุกตัวอยู่เฉพาะกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ได้เป็นการเติบโตในวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ที่ผ่านมายังชะลอตัว โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนหดตัวมากถึง 6.8% เหตุ สำคัญจากกลุ่มยานยนต์ที่ยอดขายในประเทศลดลงถึง 24% โดยการลงทุนในระยะข้างหน้ามีแนวโน้มชะลอสะท้อนจากความเชื่อมั่นผู้บริโภค และภาคธุรกิจที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ของ กกร. %YoY ปี 2567 ปี 2567 ปี 2567 (ณ ก.ค. 67) (ณ ส.ค. 67) (ณ ก.ย. 67) GDP 2.2 - 2.7 2.2 - 2.7 2.2 - 2.7 ส่งออก 0.8 - 1.5 0.8 - 1.5 1.5 - 2.5 เงินเฟ้อ 0.5 - 1.0 0.5 - 1.0 0.5 - 1.0
กกร. ยังได้แสดงความกังวลต่อสถานการณ์น้ำ และเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคกลางตอนบน โดยคาดว่ามูลค่าความ เสียหาย สำหรับช่วงเดือนสิงหาคม - ต้นเดือนกันยายน จะอยู่ที่ราว 6-8 พันล้านบาท หรือ 0.03-0.04% ของจีดีพี ซึ่งภาคเกษตรได้รับ ผลกระทบมากที่สุด ส่วนในระยะถัดไป ต้องติดตามพายุที่อาจจะเข้าได้ช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ถือเป็นความเสี่ยงต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่ จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม
ดังนั้นจึงมีมติให้จัดตั้งคณะทำงานย่อยจัดทำข้อเสนอด้านการบริหารจัดการน้ำ เพื่อเสนอต่อภาครัฐ โดยเน้นการวางแผนระยะ ยาวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมซ้ำรอยเหมือนปี 2554 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำ และเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำทั่วประเทศ เพื่อให้การบริหารน้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงจากน้ำท่วม และเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำ
นอกจากนี้ ยังมีการเสนอให้มีการเชื่อมโยงระหว่างความต้องการน้ำ (Demand) และการจัดหาน้ำ (Supply) เพื่อให้ สามารถจัดการน้ำได้อย่างเหมาะสม แม้ว่าสถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบันจะไม่รุนแรงเท่าปี 2554 แต่คาดว่าในปี 2567 จะยังมีพายุพัดผ่าน ประเทศไทยอีก 2 ลูก ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2567 จึงต้องมีการเฝ้า ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดอ่างทองและพระนครศรีอยุธยา ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการ ระบายน้ำของเขื่อนเจ้าพระยา
กกร. ยังได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำข้อมูลการเคลื่อนที่ของมวลน้ำในรูปแบบที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ประกอบการ สามารถเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์น้ำได้อย่างทันท่วงที และมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในการฟื้นฟู ธุรกิจ เช่น มาตรการทางภาษี มาตรการบรรเทาต้นทุนการผลิต และมาตรการทางการเงิน เป็นต้น