ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.50/52 ตลาดจับตาข้อมูลแรงงานสหรัฐฯ คืนนี้ ประเมินดอกเบี้ยเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 6, 2024 17:36 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.50/52 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 33.57 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-33.63 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทปิดตลาดที่ระดับแข็งค่าสุดในรอบปีนี้ โดยเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาค ทั้งนี้ ปัจจัยเงินบาท แข็งค่าตามทิศทางในตลาดหุ้นไทยที่มีโมเมนตัมเชิงบวก ขณะที่ดอลลาร์อ่อนค่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

สำหรับคืนนี้รอติดตามตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งถ้าออกมาแย่ จะทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าไปอีกได้

นักบริหารเงิน ประเมินว่า วันจันทร์หน้าเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.40 - 34.00 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 142.72/74 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 143.29 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1112/1114 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1110 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดเช้านี้ 1,427.64 จุด เพิ่มขึ้น 23.36 จุด (+1.66%) มูลค่าซื้อขายราว 107,404.75 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 10,706.95 ล้านบาท
  • คณะรัฐมนตรี "แพทองธาร" เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณวันนี้ ก่อนประชุมครม. นัดพิเศษพรุ่งนี้ และแถลงนโยบายรัฐบาล
ต่อรัฐสภาวันที่ 12-13 ก.ย.นี้
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเจพีมอร์แกน (JPMorgan) กล่าวว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ควรจะปรับลดอัตรา
ดอกเบี้ยลง 0.50% ในการประชุมเดือนนี้ โดยให้เหตุผลว่า หากเฟดรอให้เงินเฟ้อลดลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% ก็อาจจะต้องรอนานเกิน
ไป ในขณะที่เงินเฟ้อยังคงอยู่สูงกว่าเป้าหมายเล็กน้อยนั้น อัตราว่างงานก็อาจจะสูงกว่าระดับที่เฟดคิดว่าสอดคล้องกับเป้าหมายการจ้าง
งานอย่างเต็มศักยภาพ ขณะนี้คุณมีความเสี่ยงทั้งในส่วนของตัวเลขจ้างงาน และเงินเฟ้อ แต่ก็สามารถเปลี่ยนทิศทางนโยบายได้เสมอ หาก
ผลปรากฏว่าหนึ่งในความเสี่ยงเหล่านั้นกำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น
  • สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป (ยูโรสแตท) เปิดเผยวันนี้ (6 ก.ย.) ว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

ของยูโรโซนไตรมาสที่ 2/2567 ขยายตัวเพียง 0.2% จากไตรมาสก่อนหน้า ต่ำกว่าตัวเลขประมาณการเบื้องต้นที่ 0.3% รายงานระบุว่า

แม้การค้าและการใช้จ่ายภาครัฐช่วยพยุงการเติบโต แต่การลงทุนยังคงเป็นปัจจัยฉุดรั้งเศรษฐกิจ การบริโภคภาคเอกชน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญ

ในการฟื้นตัวของยูโรโซน กลับไม่เติบโตเท่าที่คาดการณ์ไว้ แม้ครัวเรือนได้อานิสงส์จากอัตราเงินเฟ้อที่ชะลอตัว รายได้ที่เพิ่มขึ้น และตลาด

แรงงานที่แข็งแกร่งก็ตาม ในส่วนของการจ้างงานยังคงเติบโตต่อเนื่องในไตรมาสนี้ แต่อัตราการเติบโตชะลอตัวลงเล็กน้อยอยู่ที่ 0.2%

จาก 0.3%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ