นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.95/96 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้าเปิดตลาดที่ระดับ 33.70 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน โดยระหว่างวันยังไร้ปัจจัยใหม่ สำหรับคืนนี้ ยังไม่มี ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ต้องติดตาม
อย่างไรก็ดี คาดว่าเงินบาทมีโอกาสแตะ 34 บาท/ดอลลาร์ได้ โดยตลาดรอดูตัวเลขเศรษฐกิจในสัปดาห์นี้ ทั้งผลการประชุม ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. ของสหรัฐฯ
ส่วนปัจจัยในประเทศที่ทำให้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าได้อีก คือหากมีการประกาศใช้นโยบายปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท/วัน ทั่ว ประเทศ อย่างเป็นทางการ
นักบริหารเงิน ประเมินว่า วันพรุ่งนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.85 - 34.10 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 143.47/48 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 142.65 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1056/1058 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.1088 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,431.13 จุด เพิ่มขึ้น 3.49 จุด (+0.24%) มูลค่าการซื้อขาย 87,214.48 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,637.26 ลบ.(SET+MAI)
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) เชื่อว่า ตลาดหุ้นไทยจะปรับตัวขึ้นไปได้จากความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น หลัง
- ดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุน (FETCO Investor Confidence Index) ผลสำรวจในเดือนส.ค. 67 พบว่า ดัชนีความ
- กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ประเมินทิศทางเงินบาทในสัปดาห์นี้ มีแนวโน้มเคลื่อนไหวใน
- กองทุนวายุภักษ์ หนึ่ง จะเปิดให้นักลงทุนรายย่อยจองซื้อหน่วยลงทุนประเภท ก. (ประชาชนทั่วไป) รอบใหม่ได้เป็นกลุ่ม
- ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ซีจีเอส อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) (CGSI) ประมาณการว่าตลาดหุ้นไทยอาจมีเงินทุนไหลเข้า
- จีนเตรียมเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้าลงทุนในภาคการผลิตได้อย่างเต็มรูปแบบ และจะอนุญาตให้บริษัทจากต่างประเทศลงทุน
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะมีการรายงานในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ตัวเลขคาดการร์เงินเฟ้อของผู้บริโภคเดือนส.ค.,
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนส.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) เดือนส.ค. และดัชนีความ
เชื่อมั่นผู้บริโภคขั้นต้นเดือนก.ย.