บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เปิดรายงาน Industry Analysis and Outlook แนวโน้มธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ โดยระบุว่า แนวโน้มใน 12 เดือนข้างหน้า รายได้ของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์คาดว่าจะอ่อนตัวลง ตามการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและกำลังซื้อของผู้ บริโภคที่จำกัด ขณะที่ภาระต้นทุนการผลิต การขาย และการดำเนินงานยังอยู่ในระดับสูง ทำให้เป็นแรงกดดันต่อการทำกำไรของผู้ประกอบ การต่อไป
การแข่งขันในธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์มีแนวโน้มที่จะเข้มข้นมากขึ้น โดยการแข่งขันมุ่งเน้นการลดต้นทุนเพื่อฟื้นกำไร การเข้ามา ของผู้ประกอบการรายใหม่ทำได้ง่ายขึ้น การผลิตเนื้อหาสื่อมีความหลากหลายมากขึ้น การสร้างรูปแบบธุรกิจ ครบวงจร และการจับมือเพื่อ สร้างพันธมิตรธุรกิจร่วมกันของผู้ประกอบการ
*การแข่งขัน (Competition)
ทริสเรทติ้งมองว่าการแข่งขันที่น่าสนใจและน่าจับตามองในธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์มี 5 ด้าน ได้แก่ การแข่งขันลดต้นทุน ผู้ ประกอบการรายใหม่เข้ามาในธุรกิจได้ง่ายขึ้น การผลิตเนื้อหาสื่อมีความหลากหลายมากขึ้น การปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นสื่อครบวงจร และการจับมือสร้างพันธมิตรธุรกิจ
การแข่งขันมุ่งเน้นการลดต้นทุน เพื่อฟื้นกำไร ธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ของไทยพัฒนามาถึงจุดเปลี่ยน (Secular Change) ที่ พฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภค มีการตอบสนองต่อการนำเสนอสื่อผ่านแพลตฟอร์มแบบออนไลน์อย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจึงต้องเพิ่มการ ลงทุนใหม่ในระบบออนไลน์ รวมถึงการลงทุนด้านผลิตเนื้อหาสื่อ และการนำเทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์มาช่วยให้เกิดประสิทธิภาพ การ แข่งขันจึงมุ่งเน้นในการควบคุมต้นทุนเพื่อฟื้นกำไร และนำมาซึ่งการลดจำนวนพนักงานเก่าที่เคยรองรับรูปแบบธุรกิจสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลแบบเดิม ลงอย่างต่อเนื่อง
การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ทำได้ง่ายขึ้น ด้วยอัตราการเข้าถึงสื่อและโซเซียลมีเดียของคนไทยอยู่ในระดับสูง ผู้ บริโภคจึงสามารถเข้าถึงตลาดได้ในหลากหลายช่องทาง ทั้งดิจิทัล ออนไลน์ และออฟไลน์ ด้วยโครงสร้างและห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจของธุรกิจ สื่อและสิ่งพิมพ์ที่กว้าง และความต้องการที่ยังเพิ่มขึ้นตามการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับสื่อของผู้บริโภค กอปรกับการทำสื่อบนแพลตฟอร์ม แบบออนไลน์และโซเชียลมีเดียที่ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาออกอากาศและมีต้นทุนต่ำ อุปสรรคในการเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้จึงลดลง และผู้ประกอบการรายใหม่สามารถเข้ามาแข่งขันได้ง่ายขึ้น
การผลิตเนื้อหาสื่อมีความหลากหลายมากขึ้น ในส่วนของการผลิตเนื้อหาสื่อ มีการปรับเปลี่ยนให้มีความหลากหลาย ทันต่อ เหตุการณ์ สามารถตอบโจทย์ตามความต้องการและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเนื้อหาจะมุ่งเน้นตลาดเฉพาะด้าน และเน้น วิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์ เช่น ความงาม สุขภาพ ท่องเที่ยว อาหาร และกิจกรรมสันทนาการต่างๆ รวมถึง การทำละครซีรี่ย์และภาพยนตร์ สำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ และการให้บริการผลิตสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัยที่มีความหลากหลายและครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น
การปรับโครงสร้างธุรกิจให้เป็นสื่อครบวงจร เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการแข่งขัน รวมทั้ง ลดแรงกดดันจากต้นทุนการจัดการและ ต้นทุนลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้น ผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับโครงสร้างธุรกิจและควบรวมธุรกิจให้เป็นสื่อครบวงจร รวมทั้ง การใช้กลยุทธ์ผสม ผสานสื่อ โดยบริษัทดำเนินธุรกิจในด้านการผลิตเนื้อหาสื่อและการเผยแพร่เนื้อหาสื่อผ่านทั้งทางช่องทางโทรทัศน์ดิจิทัล ช่องทางออนไลน์ และออฟไลน์ เพื่อทำให้เกิดการเอื้อประโยชน์กันทางธุรกิจและประโยชน์ในการลดต้นทุน เช่น การปรับโครงสร้างธุรกิจของ AMARIN, GRAMMY, NATION และ WORKPOINT
การจับมือสร้างพันธมิตรธุรกิจ เพื่อพัฒนาคุณภาพของเนื้อหาสื่อ จึงมีการจับมือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการ เพื่อเอื้อประโยชน์ ในการใช้ความชำนาญของผู้ประกอบการในการร่วมกันพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เช่น MAJOR ร่วมลงทุนผลิตภาพยนตร์ กับ WORKPOINT กับสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และกับช่อง 7 รวมทั้งร่วมลงทุนในบริษัทผลิตภาพยนตร์เพื่อสร้างภาพยนตร์ที่มีคุณภาพสำหรับรอง รับตลาดทั้งในและนอกประเทศ
*ผลประกอบการของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ (Group Performance)
หน่วย: ล้านบาท 2564 2565 2566 1H66 1H67 รายได้รวม 43,192 54,233 59,254 28,085 26,792 อัตราเติบโต (%) -1.15% 25.56% 9.26% 250.72% -4.60% ต้นทุนขายและบริการ 27,975 36,292 40,522 19,086 18,104 อัตราเติบโต (%) 513.32% 29.73% 11.66% 242.42% -5.15% กาไรก่อนดอกเบี้ยจ่ายภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจาหน่าย (EBITDA) 14,751 16,708 14,782 7,672 6,805 อัตราเติบโต (%) 16.75% 13.27% -11.53% 154.43% -11.30% รายได้สุทธิ 6,834 3,572 299 1,197 775 อัตราเติบโต (%) -543.64% -47.73% -91.64% 285.51% -35.31% อัตรากาไรสุทธิ (%) 15.82 6.59 0.50 2.13 1.45 อัตราส่วนเงินทุนจากการดาเนินงานต่อหนี้สิน (%) 32.38 35.16 38.68 46.98 44.95 อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.39 0.40 0.32 0.30 0.25
แนวโน้มรายได้ลดลง: รายได้รวมของผู้ประกอบการสื่อและสิ่งพิมพ์ในครึ่งแรกของปี 2567 (1H67) ปรับตัวลดลง 4.60% จากปีก่อนหน้า โดยรายได้รวมของผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลและสำนักพิมพ์ลดลง 12.16% และ 7.85% ตามลำดับ ในขณะที่รายได้ รวมของผู้ประกอบการสื่อโฆษณานอกบ้านอย่างเช่น PLANB และ VGI ยังคงเติบโตที่ 5.47% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่อเนื่องจากปี 2566 และมีแนวโน้มที่จะดีต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2567
สำหรับผู้ประกอบการสื่อโทรทัศน์ดิจิทัลกลับมีรายได้โฆษณาและขายช่วงเวลาโฆษณาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งแรกของ ปี 2567 ปรับตัวลดลง 5.6% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากลูกค้าที่ต้องการใช้สื่อโฆษณามีทางเลือกในการใช้สื่อโฆษณาบนแพลตฟอร์ม แบบออนไลน์และโซเชียลมีเดียที่มีต้นทุนต่ำกว่าและเข้าถึงได้ง่ายกว่า
ต้นทุนยังอยู่ในระดับสูง ทำให้กำไรลดลง: ด้วยต้นทุนขายและบริการของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์ที่ยังอยู่ในระดับสูงมาตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ทำให้กำไรสุทธิลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2564 ถึงปี 2566 ในช่วง 1H67 แม้ต้นทุนขายและบริการเริ่มปรับลดลง 5.15% แต่กำไรสุทธิยังลดลง 35% จากปีก่อนหน้า แรงกดดันจากต้นทุนจัดการและต้นทุนลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องลดจำนวน พนักงานลงอย่างต่อเนื่องและหันมาลงทุนในระบบทีวีออนไลน์มากขึ้น
สภาพคล่องและการก่อหนี้ยังทรงตัว: อัตราการก่อหนี้ของผู้ประกอบการสื่อและสิ่งพิมพ์มีระดับไม่สูงนัก โดยมีอัตราส่วนหนี้สินต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้นเท่ากับ 0.3 ถึง 0.4 เท่าในช่วงปี 2564 ถึงปี 2566 ขณะที่อัตราส่วนลดลงมาอยู่ที่ระดับ 0.25 เท่าในช่วง 1H67 ใน ด้านสภาพคล่องของผู้ประกอบการสื่อและสิ่งพิมพ์นั้น ยังอยู่ในระดับสูง โดยอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินอยู่ในระดับเฉลี่ย ประมาณ 35% ในช่วงปี 2564 ถึงปี 2566 และมีแนวโน้มทรงตัวในปี 2567
*แนวโน้มใน 12 เดือนข้างหน้า: กำไรอ่อนตัว
ข้อจำกัดจากปัจจัยแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการเติบโต: เศรษฐกิจไทยที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคถด ถอยลงตั้งแต่ไตรมาส 1 จึงไม่เอื้อต่อการขยายตัวของธุรกิจในปี 2567 โดยเฉพาะ สื่อโทรทัศน์ดิจิทัลที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันจาก สื่อออนไลน์ รวมทั้ง การให้พนักงานกลับไปทำงานตามปกติของหลายภาคส่วนเป็นการจำกัดเวลาในการรับสื่อผ่านโทรทัศน์ที่บ้าน จึงสร้าง แรงกดดันให้รายได้ของโทรทัศน์ดิจิทัลไม่ขยายตัวเท่ากับในปี 2565 และปี 2566
รายได้และกำไรยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลง: รายได้และกำไรของธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์คาดว่าจะอ่อนตัวลงต่อไป ตามการชะลอตัว ลงของเศรษฐกิจและการหดตัวด้านกำลังซื้อของผู้บริโภค ในขณะที่ต้นทุนการผลิตและบริการลดลงได้ไม่มากและต้องลงทุนในระบบใหม่ จึงทำ ให้ความสามารถในการทำกำไรไม่สามารถฟื้นตัวได้ดีในอนาคต
รายได้โฆษณาของโทรทัศน์ดิจิทัลยังมีแนวโน้มลดลง: การเติบโตของสื่อโฆษณาออนไลน์ที่เข้ามาแข่งขันกับโทรทัศน์ดิจิทัลรวม ทั้ง ทางเลือกในการทำกิจกรรม ณ จุดขาย หรือการจัดอีเว้นท์ต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายให้มากขึ้น เป็นปัจจัยที่ยังทำให้รายได้โฆษณาของ โทรทัศน์ดิจิทัลมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 2567
*ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors)
ธุรกิจสื่อและสิ่งพิมพ์เผชิญความเสี่ยงหลัก ได้แก่
- ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจ การชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคทั้งในและต่าง
- ความเสี่ยงจากการแข่งขันที่สูงขึ้น การแข่งขันผ่านช่องทางออนไลน์ ที่เข้าถึงง่ายและต้นทุนต่ำ ทำให้เกิด Digital
- ความเสี่ยงจากการหมดอายุใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ดิจิทัล ในขณะที่ใบอนุญาตประกอบการโทรทัศน์ดิจิทัลจะหมด
- ความเสี่ยงด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เริ่ม