ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.27 พลิกแข็งค่ารับเม็ดเงินไหลเข้า รอความชัดเจนดอกเบี้ยเฟดคืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday September 18, 2024 17:39 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดที่ระดับ 33.27 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจากเปิด ตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.41 บาท/ดอลลาร์ เนื่องจากมีกระแสเงินทุนต่างประเทศไหลเข้ามาในตลาดพันธบัตร 9.7 พันล้านบาท ระหว่าง วันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.26 - 33.41 บาท/ดอลลาร์

โดยค่าเงินภูมิภาคในวันนี้เคลื่อนไหวแบบผสม หลังธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% สู่ระดับ 6% เนื่องจากตลาดยังไม่มีความชัดเจนเรื่องการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ช่วงกลางดึกคืนนี้ว่าจะ เป็น 0.25% หรือ 0.50% นอกจากนี้ยังต้องรอดูการส่งสัญญาณทางเศรษฐกิจจากประธานเฟดด้วย

"หลังจากบาทอ่อนค่าในช่วงเช้าแล้วเริ่มทยอยแข็งค่าในช่วงบ่ายเนื่องจากมา Flow ไฟเข้ามาลงทุนในพันธบัตรระยะยาว"
นักบริหารเงิน กล่าว

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.10 - 33.40 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยนอยู่ที่ระดับ 141.63 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 141.85 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโรอยู่ที่ระดับ 1.1138 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.1122 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,435.77 จุด ลดลง 0.83 จุด, -0.06% มูลค่าซื้อขาย 56,598.24 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 3,483.13 ล้านบาท
  • รมว.คลัง นัดหารือผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เรื่องกรอบเงินเฟ้อ เร็วๆ นี้ โดยจุดยืนของกระทรวงการ
คลัง เห็นว่าสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันเริ่มดีขึ้น และรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจน สะท้อนจากความเชื่อมั่นต่าง ๆ เช่น ความเชื่อมั่นใน
ตลาดทุนที่เริ่มกลับมา ดังนั้นจึงอาจเป็นจังหวะเหมาะที่ต้องเร่งอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยให้มากขึ้นกว่าปัจจุบัน ที่แม้จะมีการเติบ
โต แต่ก็ยังเป็นการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยเห็นว่าหากเศรษฐกิจไทยมีความพร้อมในหลายมิติแล้ว ก็อยากจะเห็นการปรับกรอบเงิน
เฟ้อเพิ่มขึ้นอีก
  • รมว.คลัง คาดสิ้นปีงบประมาณ 2568 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ราว 66% ภายใต้อัตราการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจ (GDP) ที่ระดับ 3% จากปัจจุบันหนี้สาธารณะอยู่ที่ 63% ต่อ GDP และสิ้นปีงบประมาณ 2567 อยู่ที่ 65% ต่อ GDP โดย
สถานการณ์จะเริ่มนิ่งในปีงบประมาณ 2569 และปรับตัวลดลงในปีงบประมาณ 2570
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค.67 อยู่ที่ 87.7 ลดลง
จากระดับ 89.3 ในเดือนก.ค.67 เนื่องจากมีหลายปัจจัยด้านลบจากอุปสงค์ในประเทศชะลอตัวลง โดยเฉพาะสินค้าคงทนประเภทรถยนต์
สะท้อนจากยอดขายรถยนต์ในประเทศ 7 เดือนที่ลดลง 23.71% ขณะที่กำลังซื้อยังเปราะบางจากความกังวลปัญหาหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง
90.8% ต่อ GDP ในไตรมาส 1/2567
  • รมช.พาณิชย์ เผยการส่งออกข้าวไทยปีนี้อยู่ในทิศทางที่ดี โดยช่วง 7 เดือนแรกส่งออกไปได้แล้วปริมาณ 5.68 ล้านตัน
เพิ่มขึ้น 21.97% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในปีนี้จะสามารถส่งออกข้าวได้เกินที่คาดการณ์ไว้ 8.2 ล้านตัน
  • ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% สู่ระดับ 6% ในการประชุมวันนี้ (18 ก.ย.)
ซึ่งเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี ก่อนที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะแถลงมติอัตราดอกเบี้ยในวันนี้
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติอังกฤษ (ONS) เผยเงินเฟ้อของอังกฤษทรงตัวในเดือน ส.ค.อยู่ที่ระดับ 2.2% ซึ่งเป็นระดับเดียว
กับในเดือนก.ค.และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ส่วนในเดือนพ.ค.และมิ.ย. ดัชนี CPI ทั่วไปอยู่ที่ระดับ 2% ซึ่งสอดคล้องกับ
กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษ (BoE)
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากบริษัท Ameriprise Financial Services ในรัฐมิชิแกน ระบุว่า นักลงทุนจับตาผลการ
ประชุมเฟดในครั้งนี้อย่างใกล้ชิด โดยขนาดของการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอาจก่อให้เกิดความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ หรือทำให้เกิดความกังวล
เพิ่มขึ้นว่าเฟดดำเนินการช้าเกินไปในการทำให้เศรษฐกิจรอดพ้นจากภาวะถดถอย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ