นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนสิงหาคม 2567 ระบุว่า การจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการ ยังขยายตัวได้ในภาคตะวันออก และ กทม. และปริมณฑล อย่างไรก็ตาม ด้านการบริโภคสินค้าคงทนชะลอตัวในทุกภูมิภาค
ทั้งนี้ ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคเดือนสิงหาคม 2567 สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาค ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค จากการชะลอตัวของภาคอุตสาหกรรม และการบริการ อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชน ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค จากรายได้ และการจ้างงานของภาคเกษตรที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ดี และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 13.4% และ 32.9% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -25.8% และ -3.9% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.2
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -25.3% และ -15.1% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 2.9% และ 5.8% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 109.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลในจังหวัดชุมพร เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 79.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 82.5 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 17.7% และ 24.1% ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 8.9% และ 10.7% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -35.2% และ -22.9% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.1
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -24.5% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 3.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -39.3% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ 769.2% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดปราจีนบุรี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ร้อยละ 8.8 และ 22.7 ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกรที่ขยายตัวได้ และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 13.8% และ 12.9% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -25.2% และ -32.8% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.6
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -43.1% และ -25.0% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ 454.3% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานทำผลิตภัณฑ์เคมีในจังหวัดเพชรบุรี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 1.7% และ 7.8% ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้ดี
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 10.0% และ 0.8% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -22.0% และ -15.3% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.9
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -32.1% และ -18.0% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวในระดับสูงที่ 713.1% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์ในจังหวัดปทุมธานี เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 5.7% และ 8.1% ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 0.8% และ 2.1% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -31.8% และ -10.5% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 58.6
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -16.3% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 11.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -32.7% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 30.3% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตอาหารสัตว์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.3 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือนที่หดตัว -0.4% ต่อปี อย่างไรก็ตาม รายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 3.4% ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวได้
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 6.4% ต่อปี ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ -0.8% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 4.3% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -43.5% และ -22.7%ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.5 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 56.6
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -37.7% และ -17.8% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 10.3% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 94.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 2.7% และ 6.9% ต่อปี ตามลำดับ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 17.8% ต่อปี ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ -1.4% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 9.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -26.7% และ -18.1% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 59.2 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 60.4
เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -17.9% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 6.0% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -37.4% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 71.4 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 73.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 16.7% และ 12.9% ต่อปี ตามลำดับ