นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 32.44 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจาก ช่วงปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 32.21 บาท/ดอลลาร์ เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับภูมิภาคและตลาดโลก หลังดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าเมื่อ เทียบกับสกุลเงินหลัก เนื่องจากตลาดปรับคาดการณ์เกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังประธานเฟดส่ง สัญญาณเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น และบอนด์ยีลด์ปรับตัวสูงขึ้น
ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดรอดูทิศทางของเงินทุนระหว่างประเทศ (Flow) ในตลาดหุ้นและตลาดพันธ์บัตร โดยเริ่มมีสัญญาณ ต่างชาติขายออกมา
"บาทกลับมาอ่อนค่าตามทิศทางตลาดโลก หลังจากเมื่อวานแข็งค่าลงมาเร็ว ทำนิวโลว์ในรอบ 31 เดือน โดยตลาดปรับคาด การณ์เรื่องการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดที่อาจน้อยลง จากครั้งก่อนที่ปรับลงมา 0.50%" นักบริหารเงิน กล่าว
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 32.30 - 32.55 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 32.4200 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 144.05 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 142.77 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.1128 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.1170 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 32.259 บาท/ดอลลาร์
- จับตาขุนคลัง "พิชัย" พบผู้ว่าแบงก์ชาติ 3 ต.ค.นี้ ถกค่าบาทแข็ง-หารือดอกเบี้ย หลัง ธปท.จัดงานใหญ่พร้อมเชิญ รมว.
- "รมช.คลัง" เตรียมนัด "สศค." และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาศึกษาการเปิด "เอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์" เพื่อ
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ส่งสัญญาณว่า เฟดมีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% จำนวน 2 ครั้ง รวม
- เครื่องมือ FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนัก 35% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.50%
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันจันทร์ (30 ก.ย.)
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบในวันจันทร์ (30 ก.ย.) โดยตลาดถูกกดดันจากการแข็งค่าของดอลลาร์ และจากการที่
- ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ เปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขั้นสุดท้ายเดือนก.ย.จาก S&P Global,
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนก.ย.ของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีการเปิดเผยในวันศุกร์นี้ จะเพิ่ม
- นักลงทุนในเอเชียจะให้ความสนใจกับผลสำรวจทังกัน (Tankan) ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ซึ่งวัดระดับความเชื่อมั่น