ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.57/58 ตลาดรอลุ้นตัวเลข CPI สหรัฐฯคืนนี้ประเมินทิศทางดอกเบี้ยเฟด

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 10, 2024 18:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.57/58 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาด เมื่อเช้าที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.41 - 33.61 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทและสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน โดยตลาดรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ คืนนี้เป็นหลัก โดยเฉพาะดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนก.ย. ซึ่งตลาดคาดว่าจะชะลอตัว ทั้งนี้ ถ้าออกมาว่า ชะลอตัวมากกว่าคาดการณ์มากก็อาจทำ ให้นักลงทุนอาจปรับการคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับลดดอกเบี้ยมากขึ้น และทำให้บาทแข็งค่าได้ อย่างไรก็ดี หากออก มาสอดคล้องกับการคาดการณ์ ก็มีโอกาสที่เฟดจะปรับลดดอกเบี้ยตาม Dot plot ที่ 0.25% เงินบาทก็จะไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก

นอกจากนี้ ตลาดยังรอติดตามจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเล็กน้อย

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.40 - 33.70 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 148.86/87 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0932/0933 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0944 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,468.52 จุด เพิ่มขึ้น 11.55 จุด (+0.79%) มูลค่าซื้อขาย 50,477.24 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,653.84 ล้านบาท
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.ย. 67 อยู่ที่
55.3 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 และต่ำสุดในรอบ 14 เดือน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังคง
ชะลอตัวลงและฟื้นตัวช้า และความกังวลต่อสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดโดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียง
เหนือ ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงผลผลิตทางการเกษตร ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีทีบี มองการแข่งขันของภาคส่งออกไทยในตลาดโลกจะมีความท้าทายมากขึ้นในระยะข้างหน้า ทั้ง
จากมิติของสินค้าส่งออกหลักที่มีคู่แข่งมากขึ้น และมิติของกฎระเบียบการค้าโลกที่เข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกและนำ
เข้าจากจีนสูง รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีการนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยในช่วงหลัง คิดเป็นเกือบ 70% ของผู้ประกอบการไทยทั้ง
หมด ด้วยเหตุนี้ ผู้ประกอบการไทยจึงควรเร่งปรับตัวทั้งกลยุทธ์การค้าและการเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการค้าโลกที่
เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว
  • ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 16 ต.ค.67 ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คง
อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี คาดว่า กนง.คงมีท่าทีผ่อนคลายต่อทิศทางนโยบายการเงินมากขึ้น โดยส่ง
สัญญาณเปิดโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยในระยะข้างหน้า ซึ่งศูนย์วิจัยฯ มองความเป็นไปได้ว่า กนง.อาจเริ่มปรับลดดอกเบี้ยอย่างเร็วสุด
ในเดือน ธ.ค.67
  • นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุมนโยบายการเงิน
วันพรุ่งนี้ (11 ต.ค.) หลังมีสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดที่อยู่อาศัยกำลังชะลอตัวลง และเงินเฟ้อปรับตัวลงสู่ระดับต่ำกว่าเป้าหมายของธนาคาร
กลาง
  • ธนาคารโลก (World Bank) เผยเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกยังคงเติบโต

เร็วกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลกในปี 67 แต่ยังโตช้ากว่าช่วงก่อนโควิด-19 ขณะที่คาดว่า อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้จะอยู่ที่

2.4% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ที่ 2.8%


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ