นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคประจำเดือนก.ย. 67 มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคบริโภค การท่องเที่ยว และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวในหลายภูมิภาค เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ยอดจดทะเบียนรถยนต์ ทั้งรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถยนต์เชิงพาณิชย์ ยังชะลอตัวในทุกภูมิภาค
- ภาคใต้
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค รายได้เกษตรกร การท่องเที่ยวและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ และรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 13% และ 32.7% ต่อปี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -30.4% และ -17.1% ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 53.1 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 54.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -30.2% และ -26.0% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 27.7% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดใน จ.นครศรีธรรมราช เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 81.9 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 79.2 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 17.8% และ 29.4% ต่อปี ตามลำดับ
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยวและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 11.9% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ -12.3% และ -4.5% ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -31.2% ต่อปี
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 58.0 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.2 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -18.9% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -33.9% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 74.0% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานซ่อมตัวถังและสีใน จ.ขอนแก่น เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 69.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 71.4 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 12.1% และ 11.9% ต่อปี ตามลำดับ
- กทม. และปริมณฑล
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค การท่องเที่ยวและเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 8.2% ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ -20.8% -12.6% และ -5.0% ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.9 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -30.8% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ หดตัวที่ -23.5% ต่อปี ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 66.8% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานเกี่ยวกับรถยนต์ใน จ.สมุทรปราการ เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 8.2% และ 4.5% ต่อปี ตามลำดับ
- ภาคเหนือ
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภค และเงินทุนของโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการยังขยายตัวได้ โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 7.8% ต่อปี ขณะที่รายได้เกษตรกรหดตัวที่ -4.1% ต่อปี อย่างไรก็ตาม จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -35.7% และ -17.6% ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 55.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 57.3 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -34.0% และ -35.2% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการขยายตัวที่ 70.4% ต่อปี โดยเป็นการลงทุนในโรงงานทำพลาสติกเป็นชิ้นหรือขึ้นรูป ใน จ.พิษณุโลก เป็นสำคัญ
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 86.9 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.6 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนหดตัวที่ -6.9% และ -7.6% ต่อปี ตามลำดับ
- ภาคกลาง
มีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยเพื่อการบริโภคและการท่องเที่ยว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวที่ 11.3% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ -35.0% และ -3.6% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -22.8% ต่อปี
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -31.3% และ -15.4% ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 3.7% และ 8.4% ต่อปี ตามลำดับ
- ภาคตะวันออก
มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ จำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และรายได้เกษตรกรหดตัวที่ -17.4% -32.8% -19.0% และ -4.1% ต่อปี ตามลำดับ
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 57.8 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 59.0 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -28.9% และ -10.2% ต่อปี ตามลำดับ อีกทั้งเงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว อย่างไรก็ตาม
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 92.7 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 92.1 และเครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 23.9% และ 35.1% ต่อปี ตามลำดับ
- ภาคตะวันตก
มีปัจจัยสนับสนุนจากการท่องเที่ยว และรายได้เกษตรกรยังขยายตัวได้ขณะที่การบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาคเอกชนหดตัว โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน สะท้อนจากรายได้เกษตรกรขยายตัวที่ 11.1% ต่อปี ขณะที่จำนวนรถยนต์นั่งจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -19.2% และ -19.9% ต่อปี อีกทั้งการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่หดตัวที่ -15.7% ต่อปี
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคอยู่ที่ระดับ 54.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ที่ระดับ 55.5 เครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน สะท้อนจากจำนวนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลจดทะเบียนใหม่ และจำนวนรถบรรทุกจดทะเบียนใหม่หดตัวที่ -30.2% และ -18.2% ต่อปี แต่ขยายตัวที่ 12.1% และ 35.9% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาล ตามลำดับ ทั้งนี้ เงินทุนโรงงานที่เริ่มประกอบกิจการหดตัว
ด้านอุปทาน เครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ระดับ 89.3 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 90.8 เครื่องชี้ด้านการบริการ สะท้อนจากจำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือนขยายตัวที่ 3.7% และ 8.4% ต่อปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจภูมิภาคของไทย ประจำเดือนก.ย. 67 ซึ่งสำรวจจากสำนักงานคลังจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไท ยพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจภูมิภาคขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าในบางภูมิภาค ตามการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม กำลังซื้อสะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคประชาชนขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าในหลายภูมิภาค ตามการชะลอตัวของภาคเกษตรและภาคบริการ
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาคใน 6 เดือนข้างหน้ายังขยายตัวได้ โดยมีแนวโน้มการลงทุนที่สามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้นในภาคใต้ ภาคกลาง และกทม. และปริมณฑล ทั้งนี้ ยังต้องติดตามความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ทิศทางเศรษฐกิจไทย และแนวนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล