นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 33.73/74 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาด เมื่อเช้าอยู่ที่ระดับ 33.84/86 บาท/ดอลลาร์ ระหว่างวันเงินบาทยังไร้ปัจจัยใหม่ เคลื่อนไหวในกรอบ 33.73 - 33.90 บาท/ ดอลลาร์ โดยเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค
สัปดาห์นี้ตลาดรอจับตาหลายปัจจัย ทั้งผลการเลือกตั้งของสหรัฐฯ ผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และมติอัตรา ดอกเบี้ยจากธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ส่วนปัจจัยในประเทศ ตลาดรอติดตามตัวเลขเงินเฟ้อ จากกระทรวงพาณิชย์ในวันที่ 6 พ.ย. นี้
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 33.65 - 33.85 บาท/ดอลลาร์
*ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 151.87/88 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 151.81/82 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0895/0896 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0886/0887 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,462.95 จุด ลดลง 1.22 จุด (-0.08%) มูลค่าซื้อขายราว 28,418.43 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 7.61 ล้านบาท
- รมว.คลัง กล่าวว่า แนวโน้มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทย (GDP) ในปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ระดับ 2.7% นั้น
ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ดีแล้ว เป็นการเติบโตกว่าปีที่ผ่านมาถึง 30% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด และงบประมาณปี
2567 ที่ออกมาล่าช้า ซึ่งขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างการพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยอาจจะเน้นไปที่มาตรการกระตุ้นในระยะสั้น
เป็นหลัก เพื่อให้คนที่มีปัญหายังสามารถอยู่รอดได้ ส่วนมาตรการระยะปานกลาง และระยะยาวนั้น ก็ต้องพิจารณาควบคู่ไปด้วย เพื่อ
รักษาการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
- รมว.คลัง กล่าวถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่า ไม่ว่าผู้ชนะการเลือกตั้งจะเป็น "นายโดนัลด์ ทรัมป์" หรือ
"นางคามาลา แฮร์ริส" ก็เชื่อว่าจะมีผลกระทบทั้งนั้น เพราะนโยบายของทั้งคู่จะยึดหลักผลประโยชน์ของประเทศตัวเองมากขึ้น ส่วนที่มีการ
ประเมินว่า สงครามการค้าอาจส่งผลให้ค่าเงินมีความผันผวนมากขึ้นนั้น ปัจจุบันรูปแบบของการส่งออกมีการเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นกรณีของ
อัตราแลกเปลี่ยนจึงเริ่มทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เพราะจะมีผลต่อราคาสินค้า และความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออก แต่ทั้งนี้ ไทย
เองก็จำเป็นต้องปรับตัวเช่นเดียวกับประเทศคู่แข่ง ขณะเดียวกัน ก็ต้องไม่เข้าไปแทรกแซงค่าเงินจนเกิดความผิดปกติ
- ประธานกรรมการสภาธุรกิจตลาดทุนไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นนักลงทุนในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ในเกณฑ์ "ร้อน
แรงอย่างมาก" ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง ที่ระดับ 160.66 ซึ่งนักลงทุนมองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ เป็นปัจจัยหนุนความ
เชื่อมั่นมากที่สุด รองลงมาคือการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของกนง. และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ในขณะที่ปัจจัยที่ฉุดความเชื่อ
มั่นนักลงทุนมากที่สุด ได้แก่ สถานการณ์เงินเฟ้อ รองลงมาคือสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศ และความไม่แน่นอนของสถานการณ์
การเมืองในประเทศ
- นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับสูงสุดในรอบ 13 ปี ในการ
ประชุมนโยบายการเงินวันพรุ่งนี้ (5 พ.ย.) ซึ่งจะเป็นการตรึงอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องยาวนานถึง 1 ปี ขณะที่ RBA กำลังรับมือกับอัตรา
เงินเฟ้อที่ลดลงอย่างเชื่องช้า และความเสี่ยงทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากความไม่แน่นอนของผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/รัชดา คงขุนเทียน