นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.89 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากปิดวันก่อน โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนในกรอบ sideways (กรอบการเคลื่อนไหว 34.73-34.90 บาท/ดอลลาร์) หลังจากที่ในช่วงวันก่อนหน้า เงินบาทได้เคลื่อนไหวอ่อนค่าลงต่อเนื่อง ทะลุโซนแนวต้าน 34.65 บาท/ดอลลาร์ ที่ประเมินไว้ได้
สำหรับวันนี้ ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่รายงานข้อมูลอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ ในเดือนต.ค. หากอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออก มาสูงกว่าคาด ก็อาจยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างกังวลมากขึ้นว่า เฟดอาจยิ่งชะลอการลดดอกเบี้ยและอาจลดดอกเบี้ยได้น้อยกว่าที่ระบุไว้ใน Dot Plot ล่าสุดพอสมควร ทั้งนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินแนว โน้มการดำเนินนโยบายการเงินของเฟด โดยเฉพาะหลังรับรู้ผลการเลือกตั้งสหรัฐฯ และรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ล่าสุด
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท มองว่า โมเมนตัมการอ่อนค่าลงของเงินบาทยังคงมีกำลังอยู่ โดยเฉพาะหลังเงินบาทสามารถ อ่อนค่าทะลุโซนแนวต้านที่ประเมินไว้ ซึ่งจะเปิดโอกาสให้เงินบาทสามารถอ่อนค่าทดสอบโซนแนวต้านสำคัญ 35.00 บาท/ดอลลาร์
นายพูน มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.65-35.00 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.7600 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 154.67 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 154.04 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0626 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0624 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.732 บาท/ดอลลาร์
- "แพทองธาร" ประชุมเอกอัครราชทูตกงสุลใหญ่-ทีมไทยแลนด์ มอบนโยบาย ชี้สหรัฐได้รัฐบาลใหม่ เปลี่ยนแปลงแน่
- ครม.มีมติเพิ่มวันหยุดพิเศษปี'68-69 ต่อเนื่อง 3 ช่วง วันหยุดราชการ หวังกระตุ้นท่องเที่ยว-ศก.ประเทศ
- สมาคมโรงแรมไทย เผยดัชนีเชื่อมั่นดีขึ้นรับอากาศเย็น-ไฮซีซั่นรับเทศกาลปีใหม่ ชง 5 เรื่องด่วน เจ้าของธุรกิจกว่าครึ่ง
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น ท่ามกลางการคาดการณ์ที่ว่านโยบายต่าง ๆ ของทรัมป์ ซึ่งรวมถึงการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า
- FedWatch Tool ของ CME Group บ่งชี้ว่า นักลงทุนให้น้ำหนักเพียง 59% ที่เฟดจะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% ใน
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลบติดต่อกันเป็นวันที่ 3 ในวันอังคาร (12 พ.ย.) เนื่องจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์
- ข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนต.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการ
- นักลงทุนจับตาการกล่าวสุนทรพจน์ว่าด้วยแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ของประธานเฟด ในงานเสวนาที่เมืองดัลลัส รัฐเท็ก