ม.ล.ปีกทอง ทองใหญ่ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยผลสำรวจ FTI CEO Poll ครั้งที่ 42 ในเดือน พ.ย.67 ภายใต้หัวข้อ "มุมมองภาคอุตสาหกรรมต่อผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0" จากผู้บริหาร ส.อ.ท.จำนวน 150 คน ครอบคลุม 47 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด โดยพบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่มีความกังวลต่อนโยบายของ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ อยู่ที่ระดับปานกลาง เนื่องจากยังต้องติดตามความชัดเจนของนโยบาย หลังจากเข้ารับ ตำแหน่งในวันที่ 20 ม.ค.68
อย่างไรก็ตาม ภายใต้นโยบาย America First ที่จะมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศในอัตรา 10% และเพิ่ม ภาษีนำเข้าสินค้าจีนสูงสุด 60% นั้น ผู้บริหาร ส.อ.ท.มีความกังวลต่อผลกระทบทางอ้อมจากการที่จีนต้องหาตลาดใหม่ทดแทนตลาดสหรัฐฯ ซึ่งจะทำให้สินค้าจีนทะลักเข้ามาแข่งขันในตลาดอาเซียน และประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งความเสี่ยงต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น จากการเกินดุลการค้าสหรัฐฯ โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-ต.ค.67 ไทยได้ดุลการค้าสหรัฐฯ มูลค่ากว่า 28,904 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัว 20.56% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะเดียวกัน นโยบายทรัม ป์ 2.0 อาจเป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้นทดแทนสินค้าจีน ตลอดจนเป็นโอกาสดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ เข้ามาในประเทศไทยและการเข้าไปมีส่วนในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) สินค้าเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาลงทุนในประเทศ
ผู้บริหาร ส.อ.ท.ส่วนใหญ่ มองว่าภาคอุตสาหกรรมจะต้องเร่งพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ควบคู่ไป กับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับธุรกิจในการรับมือกับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกที่มีผลพวงมาจากนโย บายทรัมป์ 2.0 รวมทั้งมีการวางแผนกระจายการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ นอกเหนือจากสหรัฐฯ เพื่อรองรับความเสี่ยง ในอนาคต
ส่วนภาครัฐควรบูรณาการความร่วมมือในการส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากขึ้น และให้ความสำคัญกับ ปกป้องห่วงโซ่การผลิตในประเทศ รวมทั้งมีการออกมาตรการที่เข้มงวด ในการรับมือสินค้าจีนโดยเฉพาะสินค้าราคาถูกที่ไม่ได้มาตรฐาน
- นโยบายทรัมป์ 2.0 จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมในระดับใด
อันดับ 1 : ปานกลาง 56.7% อันดับ 2 : มาก 25.3% อันดับ 3 : น้อย 18.0%
- ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อนโยบายทรัมป์ 2.0 ในเรื่องใด
อันดับ 1 : การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากทุกประเทศในอัตรา 10% 66.0%
และเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจีนสูงสุด 60%
อันดับ 2 : มาตรการดึงการลงทุนกลับสหรัฐฯ (Reshoring) 31.3%
และนโยบาย America First
อันดับ 3 : การถอนตัวจากข้อตกลง Paris Agreement 30.7%
โดยเน้นความมั่นคงด้านพลังงานก่อนการแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศ
อันดับ 4 : การปรับยุทธศาสตร์การเจรจาความร่วมมือระหว่างประเทศ 28.0%
เป็นแบบทวิภาคีแทนแบบพหุภาคี
- นโยบายทรัมป์ 2.0 จะส่งผลผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยในเรื่องใด
อันดับ 1 : โอกาสของประเทศไทยในการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ 68.0%
ทดแทนสินค้าจีน
อันดับ 2 : การโยกย้ายการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศไทย 62.0%
เนื่องจากสงครามการค้า และการเข้าไปมีส่วนในห่วงโซ่อุปทาน
สินค้าเทคโนโลยีใหม่
อันดับ 3 : ผลกระทบจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ลดลง เนื่องจาก 30.7%
การลดบทบาทของสหรัฐฯ ในความขัดแย้งฯ
อันดับ 4 : โอกาสของผู้ประกอบการไทยที่ต้องการเข้าไปลงทุนในสหรัฐฯ 6.7%
- นโยบายทรัมป์ 2.0 จะส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทยในเรื่องใด
อันดับ 1 : สินค้าจีนทะลักเข้ามาแข่งขันในตลาดอาเซียน 70.0%
และประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
อันดับ 2 : ความเสี่ยงต่อมาตรการกีดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้น 61.3%
จากการเกินดุลการค้าสหรัฐ และการที่จีนใช้ไทย
เป็นช่องทางผ่านของสินค้าไปยังสหรัฐฯ
อันดับ 3 : ต้นทุนการส่งออกที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้า 39.3%
ของสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าโลก
อันดับ 4 : นักลงทุนจากสหรัฐฯ ชะลอการลงทุนในประเทศไทย 8.7%
จากนโยบาย America First
- ภาครัฐควรเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 อย่างไร
อันดับ 1 : ส่งเสริมการผลิตสินค้าที่ใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศ 56.7%
และให้ความสำคัญกับห่วงโซ่การผลิตในประเทศ
รวมทั้งออกมาตรการรับมือสินค้าจีน
อันดับ 2 : เร่งปรับปรุงกฎหมายกฎระเบียบให้ทันสมัยรองรับ 52.0%
มาตรการใหม่ ๆ ที่อาจกระทบต่อภาคธุรกิจ
อันดับ 3 : เร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) 47.3%
เพื่อสร้างแต้มต่อในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น FTA ไทย-EU
อันดับ 4 : รักษาบทบาทความเป็นกลางทางภูมิรัฐศาสตร์เพื่อสร้างประโยชน์ 26.0%
จากการเบี่ยงเบนทางการค้าและการลงทุน
- ภาคเอกชนควรปรับตัวรับมือผลกระทบจากนโยบายทรัมป์ 2.0 อย่างไร
อันดับ 1 : พัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก 66.7%
และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
อันดับ 2 : กระจายการส่งออกสินค้าไปยังตลาดอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ 63.3%
นอกเหนือจากสหรัฐฯ
อันดับ 3 : ใช้เครื่องมือการบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 29.3%
เพื่อรับมือกับความผันผวนของค่าเงิน
อันดับ 4 : สร้างโอกาสในการขยายการลงทุนในสหรัฐฯ 13.3%
และประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ
- นโยบายทรัมป์ 2.0 จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจด้านใด
อันดับ 1 : การค้าและการลงทุน 62.0% อันดับ 2 : ค่าเงินบาท 52.0% อันดับ 3 : ความเสี่ยงภูมิรัฐศาสตร์ 25.3%
อันดับ 4 : ความผันผวนของตลาดทุน และประเทศพันธมิตรของสหรัฐฯ 19.3%