กกร. คาด GDP ปี 67 โต 2.8% รับอานิสงส์ส่งออกโตดีกว่าคาด เพิ่มเป้าปีนี้เป็น 4%

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday December 4, 2024 13:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

กกร. คาด GDP ปี 67 โต 2.8% รับอานิสงส์ส่งออกโตดีกว่าคาด เพิ่มเป้าปีนี้เป็น 4%

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปี 67 จะขยายตัวได้ 2.8% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกที่ดีกว่าที่คาด โดยคาดว่าทั้งปีจะโต ได้ 4%, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ

                                     กรอบประมาณการเศรษฐกิจปี 2567 ของ กกร.
%YoY	                              ปี 2567          ปี 2567          ปี 2567
                                    (ณ ต.ค. 67)     (ณ พ.ย. 67)     (ณ ธ.ค. 67)
GDP	                             2.2 - 2.7	2.6 - 2.8	  2.8
ส่งออก	                             1.5 - 2.5	2.5 - 2.9	  4.0
เงินเฟ้อ	                             0.5 - 1.0	0.5 - 1.0	  0.5

ขณะที่ปี 2568 ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ท่ามกลางความไม่แน่นอน โดยมีแรงส่งจากมาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจต่อเนื่อง และมาตรการภาครัฐทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวที่กำลังจะทยอยออกมา อาทิ การช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อย และกลุ่มผู้ประกอบการ SME การปรับกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่ดินระยะยาว 99 ปีเพื่อดึงดูดการลงทุน และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 68 ยังมีความเสี่ยงจากมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลัก อาทิ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ เม็ดพลาสติก และยางล้อ ที่ประชุม กกร. จึงขอเสนอให้ภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมกัน เตรียมความพร้อมรับมือเจรจาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาษีนำเข้าและส่งออกกับสหรัฐที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า

"ปี 67 ฟันธงตัวเลขเศรษฐกิจโต 2.8% ส่งออกทั้งปีโต 4% หลังจากตัวเลขส่งออกเดือนต.ค. ออกมาโตเกินคาดเกือบถึง 15% ส่วนตัวเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% สำหรับการประมาณการเศรษฐกิจปี 68 เนื่องจากทุกอย่างยังมีสิ่งที่ไม่แน่นอน อย่างปีนี้ส่งออกก็ โตแบบก้าวกระโดด ประกอบกับนโยบายทรัมป์ จึงจะยังขอไม่ประเมินตัวเลขเศรษฐกิจปีหน้า คาดว่าจะแถลงอีกทีเดือนม.ค. 68" นาย สนั่น กล่าว

* ประเมินความเสียหายน้ำท่วมเหนือ-อีสาน-ใต้ ราว 8-8.5 หมื่นลบ.

นายสนั่น กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ ที่เกิดขึ้นทั้งในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงเดือนก.ย. ที่ผ่านมา ว่า ม.หอการค้าไทย ได้ประเมินความเสียหายไว้ประมาณ 75,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 0.5% ของ GDP ส่วนสถานการณ์น้ำท่วมภาค ใต้ ถือว่าเป็นหนึ่งในภัยพิบัติที่เกิดขึ้นรวดเร็วและรุนแรงเช่นกัน เบื้องต้นพบว่า หากสถานการณ์คลี่คลายได้เร็ว น่าจะมีมูลค่าความเสียหาย ประมาณ 5,000-10,000 ล้านบาท หรือประมาณ 0.03-0.06% ของ GDP โดยพื้นที่ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบมากที่สุด รวมถึงย่าน การค้าสำคัญของ จ.สงขลา

"หากรวมความเสียหายของน้ำท่วมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ น่าจะมีความเสียหายราว 80,000- 85,000 ล้านบาท หรือประมาณ 0.6% ของ GDP" นายสนั่น กล่าว

*กังวลขึ้นค่าแรงทั่วประเทศ เตรียมยื่นหนังสือถึงหน่วยงานรัฐ 6 ธ.ค.

นายสนั่น กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยตอนนี้ค่อย ๆ เริ่มฟื้น ขณะเดียวกัน กกร. มีความกังวลเรื่องการปรับขึ้นค่าแรง 400 บาท ทั่วประเทศ ซึ่ง กกร. มองว่าขณะนี้เศรษฐกิจอยู่ในช่วงกำลังฟื้น และแต่ละจังหวัดมีผลกระทบทางเศรษฐกิจต่างกันไป ดังนั้น สมควรที่จะดู การประเมินความเหมาะสมของแต่ละจังหวัด ซึ่งมีไตรภาคีของแต่ละจังหวัดพิจารณาในเชิงลึก และถี่ถ้วนอยู่แล้วว่า สมควรจะดำเนินการ อย่างไร

โดยในส่วนนี้กกร. ได้ศึกษาและสำรวจข้อมูลจากทุกภาคส่วน ทุกจังหวัดด้วยความรอบคอบ เพื่อให้ข้อมูลได้เป็นส่วนประกอบ หนึ่งให้รัฐบาล และไตรภาคี พิจารณาเรื่องค่าแรง โดยกกร. จะส่งเอกสารข้อมูล ข้อแนะนำนี้ ไปถึงหน่วยงานราชการ โดยเฉพาะสำนัก งานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ภายในวันที่ 6 ธ.ค. นี้

"การที่รัฐบาลประกาศต่อรัฐสภาว่าจะดำเนินนโยบายขึ้นค่าแรง 400 บาท ตั้งแต่รัฐบาลของนายเศรษฐา ทวีสิน แล้ว ที่บอก ว่า นายกฯ ไม่ได้มีอำนาจที่จะฟันธงว่าให้ขึ้น แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของมติไตรภาคี ซึ่งในส่วนของกกร. ก็ยังยึดถือการตัดสินใจของ ไตรภาคี" นายสนั่น กล่าว

สำหรับประเด็นที่กระทรวงการคลังกำลังศึกษาเรื่องการขึ้นภาษี นายสนั่น มองว่า ปกติแล้วภาษีมูลค่าเพิ่มกฎหมายบัญญัติไว้ที่ 10% แต่ตอนนี้เศรษฐกิจไทยยังไม่ดี เลยยังเก็บภาษีที่ 7% อยู่ ซึ่งยังมีคนอีกมากที่อยู่นอกระบบภาษี และมีจำนวนเงินมหาศาล ต้องดูว่า รัฐบาลจะทำอย่างไรให้การเก็บภาษีมีความเท่าเทียม ให้ทุกคนเสียภาษี

*หนุนมาตรการแก้หนี้

นายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และ Chief Economist ธนาคารกรุงไทย (KTB) กล่าวว่า ปัจจุบันเรื่องหนี้สิน ทั้งหนี้บ้าน รถยนต์ และ SME เป็นปัจจัยที่น่าเป็นห่วงของครัวเรือนไทย โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจยังเติบโตได้ ไม่ดี และยังมีกลุ่มเปราะบางจำนวนมากที่ยังปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจไม่ได้ ดังนั้นกรณีที่กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่ง ประเทศไทย (ธปท.) เตรียมแถลงมาตรการระยะสั้นช่วยเหลือลูกหนี้ ในวันที่ 11 ธ.ค. นี้ มองว่ามาตรการที่จะออกมาน่าจะช่วยเหลือให้ กลุ่มเปราะบางลุกขึ้นมาสู้ได้

นอกจากมาตรการระยะสั้น มองว่าหลังจากนี้ภาครัฐน่าจะมีมาตรการระยะต่อไป เพราะปัญหาต้นตอหลักของเรื่องหนี้มา จากรายได้ที่ไม่เพียงพอ ซึ่งในระยะข้างหน้าต้องมาดูว่า จะเพิ่มรายได้ เพิ่มทักษะแรงงาน และครัวเรือน รวมถึงเพิ่มความสามารถในการ แข่งขันของ SME ได้อย่างไรบ้าง

* จับตานโยบาย "ทรัมป์ 2.0" สะเทือนศก.-การค้าโลก

ที่ประชุม กกร. ยังประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568 ว่า จะเผชิญความเสี่ยงจากมาตรการกีดกันทางการค้า ภาย หลังจากที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ และประกาศจะใช้มาตรการเก็บภาษีนำเข้าเป็นนโยบายทางการค้า ทำ ให้ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2568 จะอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน โดยมีโอกาสเติบโตได้ต่ำกว่า 3% ส่วนเศรษฐกิจจีน มีโอกาสเติบ โตได้เพียง 4.0-4.5% ขณะที่อาจกระทบการเติบโตของประเทศในอาเซียนได้มาก ทั้งจากการส่งออกไปจีนที่จะลดลง การส่งออกโดย ภาพรวมที่จะลดลง เนื่องจากถูกทดแทนด้วยสินค้าจีน และการลงทุนภาคเอกชนที่ชะลอตัว

พร้อมคาดว่ามาตรการทางด้านภาษี จะเริ่มเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2568 เป็นต้นไป ซึ่งนโยบาย Trump 2.0 จะไม่จำกัด เฉพาะสินค้าจากจีนเท่านั้น แต่จะเป็นการเก็บภาษีนำเข้ากับสินค้าจากทุกประเทศ โดยอาจจะขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 60% และจาก ประเทศอื่น ๆ เป็น 10-20% รวมถึงจะใช้การเก็บภาษีเป็นนโยบายในการต่อรองกับคู่ค้า เช่น เม็กซิโก แคนาดา และกลุ่ม BRICS ซึ่ง การขึ้นภาษีกับจีนอาจเกิดขึ้นได้เร็ว โดยเฉพาะกับสินค้าที่สหรัฐฯ เคยเรียกเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในช่วง Trump 1.0


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ