ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.27/29 แข็งค่ารับดอลลาร์อ่อนค่า หลังข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐต่ำคาด

ข่าวเศรษฐกิจ Monday December 23, 2024 09:26 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.27/29 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็นวัน ศุกร์ที่ระดับ 34.44/46 บาท/ดอลลาร์

เช้านี้เงินบาทเคลื่อนไหวทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค ตามดอลลาร์ที่อ่อนค่า เนื่องจากเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (20 ธ. ค. ) ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ของสหรัฐฯ หรือตัวเลขเงินเฟ้อออกมาต่ำกว่าคาด ประกอบกับช่วงปลายปี ดอลลาร์จะอยู่ในช่วงอ่อนค่า เนื่องจากเข้าใกล้วันหยุดคริสต์มาส

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.20 - 34.40 บาท/ดอลลาร์

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามวันนี้ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/67 ของอังกฤษ และดัชนีกิจกรรม ทางเศรษฐกิจทั่วประเทศเดือนพ.ย. จากเฟดชิคาโก ของสหรัฐ

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.2800 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.50/55 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 156.69/70 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0433/0435 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0387/0388 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 34.574 บาท/ดอลลาร์
  • ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ มูดี้ส์
เรทติ้งส์ เตรียมพิจารณาเครดิตของรัฐบาลไทยในต้นปีหน้า หลังจากที่สองบริษัท อย่าง เอสแอนด์พี และฟิทช์ ได้คงอันดับความเชื่อถือของ
ไทยไว้แล้ว โดยล่าสุด มูดี้ส์ ให้อันดับเครดิตต่อพันธบัตรรัฐบาลไทยอยู่ที่ บีบีบีบวก ซึ่งเท่ากับทั้งเอสแอนด์พี และฟิทช์ สำหรับประเด็น บริษัท
จัดอันดับความน่าเชื่อถือติดตามพิจารณา คือ นโยบายการคลัง ดูการคลังของรัฐบาล, สถานการณ์ทางการเมือง รวมถึงนโยบายการลงทุน
ของรัฐบาลตามที่รัฐบาลได้เคยแถลงไว้ ทั้งที่เป็นโครงการต่อเนื่อง เช่น การลงทุนในเขตพื้นที่โครงการพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)
และโครงการใหม่
  • รมว.คลัง เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้กระทรวงการคลังจะเสนอแผนการคลังระยะปานกลางปีงบประมาณ 2569-73 ให้ ครม.
อนุมัติโดยจะเน้นรักษาการขาดดุลให้อยู่ระดับเดิมหรือลดลง เพื่อรักษาสมดุลการคลัง และยังคงสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีไว้ที่ 70% ตาม
กรอบวินัยการเงินการคลังเดิม เนื่องจากยังไม่มีเหตุจำเป็นต้องกู้เงินใหม่ "การจัดทำแผนการคลังคือต้องให้มีการใช้งบฯ อย่างถูกต้อง
เหมาะสมและรักษาสถานะการเงินการคลังให้มีความมั่นคง ที่ผ่านมาไทยทำงบฯ ขาดดุลไว้มาก แผนการคลังใน 4 ปีข้างหน้า ต้องทำให้
การขาดดุลลดลงเรื่อยๆ จนนำไปสู่งบฯ สมดุล"
  • ภาครัฐ เอกชนยักษ์ใหญ่ "ททท.-สยามพิวรรธน์-เซ็นทรัลพัฒนา-เดอะมอลล์-แอสเสทเวิรด์" ผนึกพลังบูมโกลบอลอีเวนต์
เฉลิมฉลองก้าวสู่ศักราชใหม่ 2568 อย่างยิ่งใหญ่ ระดมทัพศิลปินนานาชาติ ป๊อปคัลเจอร์ งานแสดงพลุตระการตา ฉายสปอตไลต์ "ประเทศ
ไทย" โดดเด่นบนเวทีเคานต์ดาวน์ระดับโลก หวังสร้างแรงส่งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ฟื้นเศรษฐกิจ
  • ผลสำรวจของมหาวิทยาลัยมิชิแกนระบุว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 74.0 ในเดือนธ.ค. สอด
คล้องตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ จากระดับ 71.8 ในเดือนพ.ย.
  • กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลทั่วไป (Headline PCE) ซึ่งรวมหมวด
อาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 2.4% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ที่ระดับ 2.5% จากระดับ 2.3% ใน
เดือนต.ค.
  • ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) สาขาชิคาโก กล่าวว่า ตัวเลขดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล(PCE)
ที่ต่ำกว่าคาดในวันนี้ ถือเป็นสัญญาณบวกที่บ่งชี้ว่า แรงกดดันด้านราคากำลังอ่อนตัวลงสู่เป้าหมายของเฟด
  • นักลงทุนได้เพิ่มความคาดหวังเล็กน้อยเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดในปี 2568 โดยคาดการณ์ในขณะนี้ว่า เฟด
จะปรับลดครั้งแรกในเดือนมี.ค. และอีกครั้งภายในเดือนต.ค. โดยก่อนการเปิดเผยข้อมูล นักลงทุนคาดว่ามีโอกาสประมาณ 50% ที่จะมี
การปรับลดดอกเบี้ยครั้งที่ 2 ภายในเดือนธ.ค. 2568
  • สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาสหรัฐฯ มีมติผ่านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราว และส่งต่อให้ปธน.ไบเดนลงนามเป็นกฎหมาย
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา (21 ธ.ค.) โดยร่างกฎหมายนี้ไม่ได้รวมถึงการเพิ่มเพดานหนี้ตามที่โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียก
ร้อง
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนธ.ค.ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนและยอดขายบ้าน
ใหม่เดือนพ.ย.ดัชนีราคาบ้านเดือนต.ค.และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • อังกฤษเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 3/67 (ประมาณการครั้งสุดท้าย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ