นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.17 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวแข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ค่าเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหวแบบไร้ทิศทาง
สำหรับยอดส่งออกเดือนพ.ย. ที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศออกมา มีผลต่อค่าเงินบาทในวงจำกัด ส่วนถ้อยแถลงของประธาน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังไม่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนเรื่องการปรับอัตราดอกเบี้ย
"บาทแข็งค่าจากเปิดตลาดเมื่อเช้าเล็กน้อย ปริมาณธุรกรรมเบาบาง เคลื่อนไหวไร้ทิศทางเหมือนค่าเงินในภูมิภาค" นัก
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.05 - 34.30 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 157.05 เยน/ดอลลาร์ จากเมื่อเช้าที่ระดับ 157.11 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0391 ดอลลาร์/ยูโร จากเมื่อเช้าที่ระดับ 1.0400 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,400.85 จุด เพิ่มขึ้น 6.18 จุด (+0.44%) มูลค่าการซื้อขาย 28,731.72 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 5.95 ล้านบาท
- กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนพ.ย. 67 ว่า การส่งออกของไทยมีมูลค่า 25,608
ส่วนแนวโน้มการส่งออกไทยในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวที่ 2-3% ภายใต้บริบทความท้าทายที่ซับซ้อน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการ กีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ แนวโน้มการค้าโลกที่อาจชะลอตัว ความขัดแย้งระหว่างประเทศที่ยังไม่คลี่คลาย อัตราดอกเบี้ยที่ยังทรงตัวใน ระดับสูง ตลอดจนความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
- รมช.คลัง กล่าวถึงอัตราเงินเฟ้อในปี 68 ที่คาดว่าค่ากลางจะอยู่ที่ 2% มีความเป็นไปได้ หลังที่ผ่านมาการประสาน
- รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า ในปี 67 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.-22 ธ.ค. ประเทศไทยมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ
- ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มจะบรรลุเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อที่ 2% อย่างยั่งยืน
- ดัชนีชี้นำเงินเฟ้อภาคบริการของญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นแตะ 3.0% ในเดือนพ.ย. เร่งตัวขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง สูงกว่าตัว
- ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
- สภาประชาชนแห่งชาติจีน (NPC) ชุดที่ 14 จะเปิดการประชุมประจำปีครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ในวันที่ 5 มีนาคม 2568