ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.47/48 แกว่งกรอบแคบ นลท.รอติดตาม "ทรัมป์" แถลงนโยบาย-ตัวเลขศก.สหรัฐ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 20, 2025 09:25 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 34.47/48 บาท/ดอลลาร์ จากปิดตลาดเย็นวัน ศุกร์ที่ระดับ 34.45 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทเช้านี้เคลื่อนไหวในกรอบแคบจากปิดตลาด และเป็นทิศทางเดียวกับสกุลเงินในภูมิภาค เนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมาเงิน บาทค่อนข้างผันผวน และทยอยแข็งค่าขึ้นในช่วงปลายสัปดาห์ จากการคาดการณ์แนวโน้มการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) นักลงทุนยังคาดว่ามีโอกาสที่เฟดจะลดอัตราดอกเบี้ย 2 ครั้งในปีนี้

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 34.35 - 34.65 บาท/ดอลลาร์

สำหรับสัปดาห์นี้ นักลงทุนรอดูการแถลงนโยบายของนายโดนัลด์ ทรัมป์ หลังพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งประเทศไทยจะรับรู้รายละเอียดในวันพรุ่งนี้ รวมทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อาทิ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์, ดัชนี ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังต้องจับตาการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ว่าจะปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยหรือไม่

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 34.4025 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 156.05/09 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 155.75 ยูโร/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0281/0284 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวันศุกร์ที่ระดับ 1.0295 ดอลลาร์/ยูโร
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 34.461 บาท/ดอลลาร์
  • "นายกฯ" เข้าร่วมประชุม World Economic Forum 2025 ที่เมืองดาวอส 20-25 ม.ค.นี้ เตรียมโชว์วิสัยทัศน์
นโยบายสำคัญรัฐบาล พร้อมย้ำศักยภาพและความพร้อมของไทยที่จะขับเคลื่อนไปสู่ยุคดิจิทัล
  • "4 บิ๊กแบงก์" เตือนตั้งรับความเสี่ยง "ทรัมป์" หลังคาดนโยบายชัดเจน หลัง 20 ม.ค.นี้ "กฤษณ์" เชื่อสร้างความไม่แน่
นอน กังวลลามวงกว้าง แนะลูกค้าเร่งปรับตัว หวั่นลากยาวกระทบแบงก์ "ขัตติยา" ห่วงสหรัฐขึ้นภาษีนำเข้าสะเทือนส่งออกไทย ท้าทาย
แบงก์-ลูกค้า "ชาติศิริ" เตือนความเสี่ยงสงคราม การค้าผันผวน "ผยง" ชี้นโยบายทรัมป์ป่วนทั่วโลก เสี่ยงขึ้น แนะรับมือสินค้าจีนทะลัก
เข้าไทย
  • กระทรวงพาณิชย์ ได้รวบรวมและประเมินผลกระทบจากกรณี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี
สหรัฐ วันที่ 20 ม.ค.นี้ ต่อการค้าโลกและไทย ซึ่งจะมีการดำเนินมาตรการสงครามการค้า ทั้งการขึ้นภาษีนำเข้าจากจีน แคนาดา
เม็กซิโก การปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ และไม่สนับสนุนนโยบายสิ่งแวดล้อม โดยระบุว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
ได้ประเมินผลกระทบจากมาตรการทางภาษีของสหรัฐ จะทำให้เศรษฐกิจโลกปี 68 เติบโตชะลอตัวลงเหลือ 2.4%
  • สรท.ประเมินผลกระทบการค้าต่อไทย คาดขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทย 10-20% บางรายการ โดยระยะเวลาไม่เท่ากัน จี้
รัฐบาลประสานเอกชนหามาตรการรับมือให้เหมาะสม
  • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ครั้งล่าสุด โดยคาดว่า
เศรษฐกิจโลกจะมีการขยายตัว 3.3% ในปี 2568 จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนต.ค.2567 ที่ระดับ 3.2% นอกจากนี้ คาดว่าเศรษฐกิจ
สหรัฐจะมีการขยายตัว 2.7% ในปี 2568 จากเดิมคาดการณ์ที่ระดับ 2.2% ขณะที่ IMF ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจของยูโรโซนสู่ระดับ
1.0% ในปีนี้ จากเดิมที่ระดับ 1.2%
  • ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปี เอาไว้ที่ระดับ 3.1% และคง
อัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปี ที่ระดับ 3.6% ในวันนี้ (20 ม.ค.) เนื่องจากการอ่อนค่าของเงินหยวนได้จำกัดความพยายามของ
PBOC ในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน
  • นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้าพิธีสาบานตนเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันจันทร์ (20 ม.ค.) ซึ่งตรงกับวัน
หยุดของตลาดสหรัฐฯ เนื่องในวันมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายบางอย่างของทรัมป์ เช่น การเรียกเก็บภาษี
นำเข้า ซึ่งอาจกระตุ้นให้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น และทำให้การลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดช้าลงนั้น ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นในช่วง
ไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา
  • รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ กล่าวว่า หนี้ของรัฐบาลสหรัฐฯ จะถึงเพดานที่กำหนดไว้ตามกฎหมายในวันอังคารนี้
(21 ม.ค.) และกระทรวงฯ จะเริ่มใช้มาตรการพิเศษ เพื่อหลีกเลี่ยงการกู้ยืมเกินเพดาน และความเสี่ยงที่จะเกิดการผิดนัดชำระหนี้
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองเดือนธ.ค. ดัชนี PMI (เบื้องต้น) และดัชนีความ
เชื่อมั่นและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองของผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนม.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • นักลงทุนยังจับตาการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะประชุมในวันที่ 23-24 ม.ค. โดยคาซู

โอะ อุเอดะ ผู้ว่าการ BOJ ได้ส่งสัญญาณว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ