ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย "ทรัมป์" เขย่าเศรษฐกิจ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 20, 2025 15:47 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

ส่อง 18 อุตสาหกรรมไทยปี 68 แนวโน้มโตต่อเนื่อง ห่วงนโยบาย

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดผลสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ที่ได้มาจากการสำรวจความคิด เห็นของผู้ประกอบการ พบว่า จะมีกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18 กลุ่ม, อัตราการเติบโตทรงตัวเท่ากับปีก่อน 21 กลุ่ม และอัตราการเติบโตลดลงจากปีก่อน 8 กลุ่ม ได้แก่

*ขยายตัว 18 อุตสาหกรรม
          ก๊าซ              แก้วและกระจก        เครื่องสำอาง        ชิ้นส่วนและอะไหล่ฯ    ต่อเรือซ่อมเรือฯ
          เทคโนโลยีชีวภาพ    น้ำตาล              ปูนซีเมนต์           ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
          ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ฯ  ไม้อัด ไม้บางฯ        ยา                ยาง               รองเท้า
          โรงเลื่อย          สำรวจ              หัตถกรรมสร้างสรรค์   อากาศยานฯ

*ทรงตัว 21 อุตสาหกรรม
          การพิมพ์ฯ          เคมี                เครื่องปรับอากาศ     เซรามิก
          ดิจิทัล             น้ำมันปาล์ม           ปิโตรเคมี           ผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์
          พลังงานหมุนเวียน    พลาสติก             เฟอร์นิเจอร์         ยานยนต์
          เยื่อและกระดาษ     โรงกลั่นน้ำมันฯ        สมุนไพร            สิ่งทอ
          หล่อโลหะ          เหล็ก               อลูมิเนียม           อัญมณี              อาหารและเครื่องดื่ม

*หดตัว 8 อุตสาหกรรม
          การจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม    แกรนิตและหินอ่อน   เครื่องจักรกลการเกษตร     เครื่องจักรกลฯ
          เครื่องนุ่มห่ม              ผู้ผลิตไฟฟ้า        หนังและผลิตภัณฑ์หนัง        หลังคาและอุปกรณ์

*ปัจจัยบวกที่มีผลต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ได้แก่
          - ในประเทศ                                 - ต่างประเทศ
          1.กำลังซื้อดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ          1.การส่งออกในตลาดคู่ค้าและ CLMM ขยายตัว

ภาคการท่องเที่ยวขยายตัว

          2.การจัดสรรงบลงทุนปี 2568 เพิ่มขึ้น               2.การเจรจาความตกลง FTA เพิ่มโอกาสการค้า

3.แนวโน้มการลงทุนขยายตัวในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 3.การย้ายฐานการผลิตเข้ามาไทย และการสร้างโอกาส

            และการส่งเสริม Local Content                 เข้าไปมีส่วนร่วม Global Supply Chain

4.แนวโน้มการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่ม 4.ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

            ประสืทธิภาพการผลิต                            ช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิต
          5.การลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น              5.ความต้องการสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น

*ปัจจัยลบที่มีผลต่อแนวโน้มอุตสาหกรรมในปี 2568 ได้แก่
          - ในประเทศ                                 - ต่างประเทศ
          1.ปัญหาหนี้ภาคธรกิจและดอกเบี้ยเงินกู้สูง             1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์และผลกระทบจากสงคราม

และความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ

          2.ต้นทุนการผลิตที่ทรงตัวในระดับสูง                 2.สงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน อาจทวีความรุนแรง

และหลายประเทศใช้มาตรการ NTM/NTB

          3.สินค้าราคาถูกด้อยคุณภาพเข้าทุ่มตลาด              3.การแข่งขันรุนแรงในตลาดคู่ค้า โดยเฉพาะสินค้าจากจีน

4.ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีได้ทัน 4.เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงแบบก้าวกระโดด

          5.ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ        5.มาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อม

ภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2568 ยังมีแนวโน้มทรงตัว ซึ่งเป็นผลของฐานต่ำจากปีที่ผ่านมา โดยในปีนี้มีแรงหนุนจากการขยาย ตัวของภาคการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า และการลงทุนภาคเอกชน รวมถึง การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ โดยเฉพาะใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เป็นต้น ประกอบกับ มาตรการกระตุ้น เศรษฐกิจของภาครัฐ ทั้งการใช้จ่ายผ่านโครงการต่างๆ เช่น Easy E-Receipt และดิจิทัลวอลเล็ต มาตรการวีซ่าฟรี(Free-Visa) เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นต้น ตลอดจนมาตรการส่งเสริมการลงทุน

ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศและการจ้างงานปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ เศรษฐกิจโลกโดยรวมยังมีทิศทางเติบ โตได้ซึ่งช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าไทย สอดคล้องกับการเร่งเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อเปิดตลาดประเทศคู่ค้าใหม่ๆ และยังมีปัจจัยหนุนจากการย้ายฐานการผลิตเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมไทยใน อนาคต

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการไทยยังต้องเผชิญกับความท้าทายเชิงโครงสร้างที่ซับซ้อน ซึ่งส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถ ในการแข่งขัน เช่น ปัญหาต้นทุนการผลิต หนี้ภาคธุรกิจและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูง ภาระหนี้ครัวเรือนที่กดกันกำลังซื้อในประเทศ ผลกระทบ จากสินค้าจีนเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึง ปัญหาการเปลี่ยนเทคโนโลยีที่รวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน

นอกจากนี้ ยังมีความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั้งในตะวันออกกลางและสงครามรัส เซีย-ยูเครนและความไม่แน่นอนของสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน และประเทศอื่นๆ ที่อาจใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTM/NTB) เพิ่มขึ้น รวม ถึง มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ภาวะตลาดมีการแข่งขันรุนแรงขึ้นและคู่แข่งเพิ่มขึ้นในภูมิภาค และยังมีความ ท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ปัจจัยเหล่านี้กดดันภาคอุตสาหกรรมไทยมาอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้แนวทางการปรับตัวของภาคอุตสาหกรรมไทยในปี 2568 จะมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI มาปรับใช้ในการ ดำเนินธุรกิจ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ควบคู่ไปกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และยกระดับมาตรฐานสินค้าให้เป็น ที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังเร่งปรับโมเดลธุรกิจให้เข้าไปมีส่วนใน Supply Chain อุตสาหกรรมเป้าหมาย และสร้างพันธมิตรเพื่อให้ไทยอยู่ในห่วงโซ่การผลิตโลก (Supply Chain Security) ตลอดจนการลงทุนใช้พลังงานหมุนเวียนในกระบวน การผลิต รวมทั้งการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG และพัฒนาอุตสาหกรรมด้วย BCG Model เพื่อปรับตัวสู่เป้าหมาย Net Zero

*จับตานโยบายเศรษฐกิจ "ทรัมป์" ฉุดเศรษฐกิจโลก

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธาน ส.อ.ท. กล่าวว่า การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ใน ช่วงกลางดึกคืนนี้ต้องจับตาดูว่าจะมีความชัดเจนเรื่องนโยบายด้านเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งธนาคารโลก (World Bank) และกองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (IMF) ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากการประกาศนโยบายสงครามการค้าในช่วงหาเสียง หากดำเนินการจริงจะบั่นทอน ให้อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปีนี้ชะลอตัวลงจาก 2.7% เหลือ 2.4%

ในส่วนของประเทศไทยนั้นน่าจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมทุกกลุ่มที่ส่งเข้าไปในสหรัฐฯ เนื่องจากอยู่ในเกณฑ์ที่ได้ดุลการค้าจาก สหรัฐ โดยการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ มีสัดส่วน 20% ของการส่งออกทั้งหมด ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงทรัมป์ 1 ที่เป็นผู้ส่งออกอันดับ ที่ 14 มาอยู่ที่อันดับ 12 และปัจจุบันน่าจะขึ้นมาอยู่ที่อันดับ 9

แนวทางการแก้ไขปัญหานั้นจะต้องแสวงหาตลาดใหม่ที่มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อลดสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ ลง เหมือนที่จีนหัน มาเพิ่มมูลค่าทางการค้ากับภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ถึง 5.3 แสนล้านดอลลาร์ เพื่อลดสัดส่วนการส่งออกไปสหรัฐฯ จนส่งผลกระทบ ต่อภาคอุตสาหกรรมของไทยจาก 20 กลุ่มในปี 65 มาเป็น 25 กลุ่มในปี 67 และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 30 กลุ่มในปี 68


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ