นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ อยู่ที่ระดับ 33.66/67 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก ปิดตลาดเย็นวานนี้ ที่ระดับ 33.86 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทและสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคเช้านี้แข็งค่าขึ้น เนื่องจากดอลลาร์สหรัฐปรับตัวอ่อนค่า หลังเมื่อคืนนี้ ตัวเลขการเปิด รับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนธ.ค. ออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ และต่ำกว่าเดือนก่อนหน้า ประกอบกับ ราคาทองคำในตลาดโลกพุ่งทำ All Time High จากความกังวลเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีนและสหรัฐฯ ที่มีการตอบโต้กัน
สำหรับตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ที่ต้องติดตามวันนี้ ได้แก่ ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนม. ค., ดัชนีภาคบริการเดือนม.ค. จากสถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM) และตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนม.ค.
นอกจากนั้น ในช่วงนี้ยังต้องติดตามความคืบหน้าเรื่องการเจรจากำแพงภาษีระหว่างสหรัฐฯ กับประเทศอื่น ๆ รวมทั้งจับตา ราคาทองคำด้วย
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.50 - 33.80 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 153.60 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวานนี้ระดับ 155.25 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0370 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวานนี้ที่ระดับ 1.0344 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท.อยู่ที่ระดับ 33.900 บาท/ดอลลาร์
- ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ บริษัท หลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ปัจจุบันตลาดหุ้นไทยอยู่ใน
- ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) คาดว่า ในปี 2568 การส่งออกของไทยจะขยายตัวได้ 1-3%
- ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก ๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กในวันอังคาร (4 ก.
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์ก ปิดพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันอังคาร (4 ก.พ.) โดยได้ปัจจัยหนุนจากการที่
- ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ระบุ "ไม่มีปัญหา" ที่จีนตัดสินใจปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐฯ
- ผลสำรวจการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) พบว่า ตัวเลขการเปิดรับสมัครงาน ซึ่งเป็น
- นักลงทุนจับตาการเปิดเผยตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรประจำเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์นี้ เพื่อหาสัญญาณบ่งชี้
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะเปิดเผยวันนี้ ได้แก่ ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชนเดือนม.ค.จาก ADP, ยอดนำเข้า
ส่งออก และดุลการค้าเดือนธ.ค., ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการขั้นสุดท้ายเดือนม.ค. และดัชนีภาคบริการเดือนม.ค.จาก
สถาบันจัดการด้านอุปทาน (ISM)