ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.83 อ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค หลังดอลลาร์กลับมาแข็งค่า รอลุ้นผลประชุม BoE คืนนี้

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 6, 2025 17:30 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.83 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจาก ช่วงเช้า ที่เปิดตลาดที่ระดับ 33.57 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.57-33.86 บาท/ดอลลาร์ โดยดอลลาร์สหรัฐได้กลับมาแข็งค่า หลังจากที่อ่อนค่า ไปเร็วในช่วงก่อนหน้านี้ ส่งผลให้เงินหลักในสกุลภูมิภาคอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ ในขณะที่เงินบาทอ่อนค่ามากสุด

"เงินบาทอ่อนค่าตามทิศทางสกุลเงินอื่นในภูมิภาค แต่เป็นการอ่อนค่ามากสุดในภูมิภาค หลังจากดอลลาร์กลับมาแข็งค่า เพราะ ก่อนหน้านี้อ่อนค่าค่อนข้างเร็ว" นักบริหารเงิน ระบุ

ส่วนการรายงานเงินเฟ้อของไทยเดือนม.ค.68 มีผลค่อนข้างจำกัดต่อค่าเงินบาท

สำหรับคืนนี้ ตลาดรอติดตามการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ซึ่งคาดว่าจะลดดอกเบี้ยลง 0.25% ขณะที่ฝั่งสหรัฐฯ จะ รอการรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

นักบริหารเงิน คาดว่า พรุ่งนี้ เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.55 - 33.85 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 152.66 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 152.32 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0361 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0400 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ 1,262.07 จุด ลดลง 24.67 จุด (-1.92%) มูลค่าซื้อขาย 48,193.38 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 616.38 ล้านบาท
  • สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือน
ม.ค.68 สูงขึ้น 1.32% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากที่ตลาดคาด 1.25-1.32% โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมัน
เชื้อเพลิง ซึ่งเป็นผลจากฐานราคาต่ำในปีที่ผ่านมา ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มปรับตัวสูงขึ้น จากราคาผลไม้สด
เครื่องประกอบอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ
  • กระทรวงพาณิชย์ วางเป้าหมายเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2568 ไว้ที่กรอบ 0.3-1.3% หรือเฉลี่ยทั้งปีที่ 0.8% ขณะที่ธนาคาร
แห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง คงกรอบนโยบายการเงิน หรือเป้าหมายเงินเฟ้อปีนี้ไว้ที่ 1-3%
  • หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (KKP Research) เผยว่าเศรษฐกิจไทยในปี 68 มีแนวโน้ม
ขยายตัวที่ 2.6% ชะลอตัวจากปีก่อนหน้าที่คาดไว้ที่ 2.7% เล็กน้อย โดยมีแรงส่งสำคัญจากภาคท่องเที่ยวและภาคบริการ อย่างไรก็ตาม
แรงส่งนี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากการฟื้นตัวกลับมาเกือบปกติของภาคท่องเที่ยว ในขณะที่ปัญหาความสามารถในการแข่งขันของภาค
อุตสาหกรรมและภาคส่งออกยังเป็นแรงกดดันที่สำคัญต่อเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้ การหดตัวของสินเชื่อภาคธนาคารจากปัญหาหนี้ครัวเรือน
และภาวะเศรษฐกิจกำลังส่งผลทางลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนและภาคอสังหาริมทรัพย์
  • ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มั่นใจภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 68 ยัง
สามารถเติบโตได้ดี โดยมีโอกาสขยายตัวได้ราว 3% เนื่องจากยังไม่มีผลกระทบจากปัญหาเรื่องกำแพงภาษีจากสหรัฐฯ แต่ต้องติดตาม
สถานการณ์อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้งในช่วงครึ่งปีหลัง
  • รัฐมนตรีกระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซียกล่าวต่อรัฐสภาในวันนี้ (6 ก.พ.) ว่า มาตรการภาษี
ใหม่ของสหรัฐฯ ที่เรียกเก็บจากบางประเทศ จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของมาเลเซียในระดับจำกัด
  • ทางการจีนได้แสดงความไม่พอใจที่สหรัฐฯ มองข้ามความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาเฟนทานิล หลังจากประธานาธิบดีโดนัล
ด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีน 10% โดยอ้างว่าเป็นการตอบโต้ปัญหายาเสพติดที่ทะลักเข้าสู่สหรัฐฯ
  • เจ้าหน้าที่ระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) เตือนว่า ความไม่แน่นอนของนโยบายภาษีศุลกากรและประเด็นอื่น ๆ
ที่เกิดขึ้นในช่วงวันแรก ๆ ในการทำงานของรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์นั้น เป็นหนึ่งในความท้าทายสำคัญในการกำหนดทิศทาง
นโยบายการเงินของเฟดในช่วงหลายเดือนข้างหน้า
  • ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) มีแนวโน้มที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในวันนี้ (6 ก.พ.) ซึ่งจะเป็นการปรับลดเพียงครั้งที่
สามนับตั้งแต่ช่วงเริ่มการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2563 ขณะที่ BoE พยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจที่ซบเซาขณะที่ยังคงมีแรงกดดัน
ด้านเงินเฟ้อในระดับสูง การลดดอกเบี้ยลง 0.25% ตามที่ตลาดคาดการณ์ในวันนี้ จะทำให้อัตราดอกเบี้ยของ BoE อยู่ที่ระดับเดียวกับของ
นอร์เวย์ และใกล้เคียงกับกรอบอัตราดอกเบี้ยที่ 4.25-4.5% ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ