ภาวะตลาดเงินบาท: ปิด 33.49 ระหว่างวันลงไปแตะ 33.37 แข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 24, 2025 17:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้ อยู่ที่ระดับ 33.49 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจาก เปิดตลาดเมื่อเช้าที่ระดับ 33.53 บาท/ดอลลาร์

ระหว่างวัน เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 33.37 - 33.57 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาท และสกุลเงินในภูมิภาคเคลื่อนไหว ในทิศทางที่แข็งค่า จากปัจจัยที่ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่า และราคาทองคำในตลาดโลกที่พุ่งขึ้นระหว่างวัน

"ระหว่างวัน เงินบาทลงไปแตะ 33.37 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่แข็งค่าสุดในรอบ 4 เดือน หรือตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค.67" นักบริหารเงิน กล่าว

สำหรับช่วงนี้ ต้องติดตามราคาทองคำในตลาดโลก ส่วนภาพใหญ่ ตลาดรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กน ง.) วันที่ 26 ก.พ.นี้เป็นหลัก

นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันพรุ่งนี้ ไว้ที่ 33.40 - 33.60 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.52 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.14 เยน/ดอลลาร์
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0472 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0517 ดอลลาร์/ยูโร
  • ดัชนี SET ปิดวันนี้ที่ระดับ 1,235.85 จุด ลดลง 10.36 จุด (-0.83%) มูลค่าการซื้อขาย 42,206.62 ล้านบาท
  • สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติขายสุทธิ 1,406.97 ลบ. (SET+MAI)
  • รมว.คลัง กล่าวถึงกรณีที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) แนะนำให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ลด
ดอกเบี้ยว่า การลดหรือไม่ลดอัตราดอกเบี้ยนั้น ในทุกประเทศจะกลัวเรื่องเงินเฟ้อ กลัวความร้อนแรงทางเศรษฐกิจ แต่เงินเฟ้อของไทย
อยู่ในระดับต่ำมาอย่างต่อเนื่อง หากอัตราดอกเบี้ยลงแล้วเพิ่มความร้อนแรงทางเศรษฐกิจขึ้นบ้าง ก็ถือเป็นจังหวะที่ดีกว่าปีที่แล้ว เพราะ
หลายอย่างเริ่มไปในทิศทางที่ดีขึ้น
  • ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจและกลยุทธ์ทิสโก้ (TISCO ESU) คาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะมีมติคงอัตรา
ดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 2.25% ในการประชุมนัดแรกของปีในวันที่ 26 ก.พ. 68 เพื่อรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการ
เงินในอนาคต (Policy Space) ท่ามกลางประสิทธิผลของนโยบายการเงินที่ลดลง โดยเฉพาะในสภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูง
  • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) คาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 68 จะเติบโต 2.8% โดยมีปัจจัยหนุนจากภาคการ
ท่องเที่ยวฟื้นตัวได้ดี ขณะเดียวกัน ยังมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยจากภาคการส่งออกที่ยังมีทิศทางการปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีความผันผวนจาก
การใช้นโยบายการค้าของสหรัฐ และการส่งออกรถยนต์หดตัวในปี 67 ในหลายปีที่ผ่านมา
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) เผยมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.35-33.85
บาท/ดอลลาร์ โดยปัจจัยในประเทศ เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างน่าผิดหวังด้วยอัตราเพียง 2.5% ในปี 67 โดยเฉพาะผลบวกที่จำกัดต่อการ
บริโภคภาคเอกชนจากโครงการแจกเงินในไตรมาสสุดท้ายของปี เปิดทางให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจตัดสินใจลด
ดอกเบี้ยลง 25bp สู่ระดับ 2.00% ในการประชุมวันที่ 26 ก.พ. แต่หาก กนง.เลือกที่จะคงดอกเบี้ยไว้ในรอบนี้ เรามองว่าเงื่อนไขต่าง
ๆ ยังคงเอื้อสำหรับการลดดอกเบี้ยนโยบายลงในระยะข้างหน้า
  • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปในเดือนม.ค. 68 อยู่ที่ 62,321
คัน ลดลง 28.13% จากเดือนม.ค. 67 โดยมีมูลค่าการส่งออก 41,445.30 ล้านบาท ลดลง 31.57% ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน
  • ผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ของรอยเตอร์ ระบุว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
ที่ 2.25% ในการประชุมวันที่ 26 ก.พ. นี้ และอาจปรับลดเพียงครั้งเดียวในปี 68 เพื่อรักษาพื้นที่นโยบายในการรับมือความไม่แน่นอนของ
เศรษฐกิจโลก
  • เวียดนามส่งออกเติบโตอย่างแข็งแกร่งในปีที่ผ่านมา แซงหน้าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง
มาเลเซีย และไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตของภูมิภาค เนื่องจากเวียดนามได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงห่วงโซ่อุปทานของบริษัท
ต่าง ๆ ที่ทยอยย้ายฐานการผลิตออกจากจีน
  • นักลงทุนรอดูข้อมูลเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ อาทิ ยอดขายบ้านใหม่เดือนม.ค., จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

รายสัปดาห์, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ไตรมาส 4/67, ยอดทำสัญญาขายบ้านที่รอปิดการขาย (Pending Home

Sales) เดือนม.ค. และดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) เดือนม.ค.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ