นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 33.53 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดวันก่อนที่ระดับ 33.50 บาท/ดอลลาร์
โดยตั้งแต่คืนที่ผ่านมา เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ใกล้โซนแนวรับ 33.50 บาท/ดอลลาร์ แม้จะมีจังหวะอ่อนค่า ลงบ้าง ตามการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ แต่เงินบาทยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ
ปัจจัยในประเทศวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือนม.ค. เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้ม เศรษฐกิจของไทย ท่ามกลางความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐฯ
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศ ตลาดจะรอติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เพื่อประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของบรรดาธนาคารกลางหลักดังกล่าว
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ยังเสี่ยงที่จะเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าได้บ้าง ท่ามกลางความกังวลแนวโน้มการดำเนิน นโยบายกีดกันทางการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ
"การอ่อนค่าของเงินบาท อาจมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไปได้ ตราบใดที่ราคาทองคำ ยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ หรือแกว่ง Sideways" นายพูน ระบุ
นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้ จะอยู่ที่ระดับ 33.45-33.65 บาท/ดอลลาร์
SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.6075 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยน อยู่ที่ระดับ 150.21 เยน/ดอลลาร์ จากเย็นวาน ที่ระดับ 149.52 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0463 ดอลลาร์/ยูโร จากเย็นวาน ที่ระดับ 1.0472 ดอลลาร์/ยูโร
- อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของธปท. อยู่ที่ระดับ 33.465 บาท/ดอลลาร์
- กระทรวงพาณิชย์ จะเปิดเผยภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย (ส่งออก-นำเข้า-ดุลการค้า) เดือนม.ค.68
- "พิชัย" หวัง กนง. 26 ก.พ.ลดดอกเบี้ย เพิ่มแรงส่ง-ความร้อนแรงให้เศรษฐกิจช่วงที่จีดีพีเริ่มขยับเพิ่มขึ้น แจงข้อดีช่วย
- "แอตต้า" เผยนักท่องเที่ยวจีนเดินทางเข้ามาในไทยยังตกต่ำ แม้ไทยจะร่วมมือกับจีนปราบแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ย้ำพฤติกรรม
- ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เปิดเผยว่า ดัชนี Chicago Fed National Activity Index
- ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินเยน ที่ระดับ 149.67 เยน จากระดับ 149.08 เยนในวันศุกร์ แต่ดอลลาร์สหรัฐ
- สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันจันทร์ (24 ก.พ.) โดยได้แรงหนุนจากรายงานที่
- ข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ราคาบ้านเดือนธ.ค., ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนก.พ., ยอด
- นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล (PCE) ประจำเดือนม.ค.ของสหรัฐฯ ในวันศุกร์
นี้ โดยดัชนี PCE เป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ให้ความสำคัญ เนื่องจากสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงใน
พฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)