ภาวะตลาดเงินบาท: เปิด 34.01 จับตาผลกระทบภาคเศรษฐกิจเหตุแผ่นดินไหว-ติดตามมาตรการช่วยเหลือ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 31, 2025 09:19 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงิน บาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 34.01 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าลงเล็กน้อยจากปิดสัปดาห์ก่อนที่ระดับ 33.99 บาท/ดอลลาร์

โดยคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways ซึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา การอ่อนค่าของเงินบาทยัง เป็นไปอย่างจำกัด แม้จะเผชิญแรงกดดันจากความกังวลนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ แต่เงินบาทก็พอได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้น ต่อเนื่องของราคาทองคำ

ปัจจัยในประเทศสัปดาห์นี้ ตลาดจะรอจับตาการแถลงร่วมภาคเศรษฐกิจจริงและระบบทางการเงิน จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยเฉพาะในส่วนของมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือต่างๆ จากธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่วนของรายงาน ข้อมูลเศรษฐกิจนั้น ตลาดจะรอประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ผ่านรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิต ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (Business Sentiment) และอัตราเงินเฟ้อ CPI ในเดือนมี.ค.

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท ยังคงเสี่ยงทยอยอ่อนค่าลง ท่ามกลางปัจจัยกดดัน โดยเฉพาะแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีด กันทางการค้าของสหรัฐฯ และความเชื่อมั่นของผู้เล่นในตลาดหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งอาจกระทบต่อฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในระยะ สั้นได้ แต่ทั้งนี้ เงินบาทอาจพอได้แรงหนุน ตราบใดที่ราคาทองคำยังสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ หรือแกว่งตัว Sideways

นายพูน คาดกรอบเงินบาทวันนี้จะเคลื่อนไหวอยู่ที่ระดับ 33.85-34.10 บาท/ดอลลาร์

SPOT ล่าสุด อยู่ที่ระดับ 33.925 บาท/ดอลลาร์

  • ปัจจัยสำคัญ
  • เงินเยน อยู่ที่ระดับ 149.09 เยน/ดอลลาร์ จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • เงินยูโร อยู่ที่ระดับ 1.0844 ดอลลาร์/ยูโร จากสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท/ดอลลาร์ ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักระหว่างธนาคารของ ธปท.อยู่ที่ระดับ 33.923 บาท/ดอลลาร์
  • 6 หน่วยงานภาคเศรษฐกิจและการเงิน แถลงการณ์ร่วมจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว28 มี.ค.68
  • "จุลพันธ์" ปักธงปั้นกฎหมาย entertainment com plex ให้จบในรัฐบาลอุ๊งอิ๊ง หวังเป็นจุดเปลี่ยนใหม่ท่องเที่ยวไทย
ดันเศรษฐกิจโตได้แบบไม่ต้องนั่งพะวง ส่งซิกปักหมุดโครงการบนที่ดินราชพัสดุ คาดตอกเสาเข็มได้ภายใน 3 ปี
  • กระทรวงพาณิชย์ได้ประเมินสถานการณ์หลัง โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมประกาศยกระดับสงครามการค้า
ด้วยการเรียกเก็บภาษีต่างตอบแทนหรือแบบตอบโต้กับทุกประเทศ ที่เก็บภาษีสินค้านำเข้าหรือใช้นโยบายกีดกันการค้าที่ไม่ใช่ภาษีกับสหรัฐฯ
คาดว่าจะเริ่มใช้ 2 เม.ย.นี้ พบว่า ไทยมีโอกาสสูงที่จะถูกสหรัฐฯ ตรวจสอบในประเด็นที่อาจเข้าข่ายกรณีการค้าที่ไม่เป็นธรรมจากการที่
ไทยมีดุลการค้าที่เกินดุลกับสหรัฐฯระดับสูง รวมถึงการเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯในอัตราสูง ซึ่งภาคส่งออกมีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบ
ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม
  • "สมาคมโรงแรมไทย" คาดแผ่นดินไหวกระทบธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวระยะสั้น ฉุดรายได้ 10-15% ช่วง 2 สัปดาห์ ชี้
สงกรานต์เป็นบททดสอบครั้งใหญ่ด้านความปลอดภัย ย้ำต้องรับมือให้ได้ก่อนความเชื่อมั่นหาย ยอมรับเป้าดึงต่างชาติ 39-40 ล้านคน ยาก
มาก "นักเศรษฐศาสตร์" หวั่นกระทบเชื่อมั่นคอนโดฯ-ท่องเที่ยว
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยรายงานสรุปความคิดเห็น (Summary of Opinions) ของกรรมการ BOJ เมื่อวัน
ศุกร์ (28 มี.ค.) ระบุว่า ในการประชุมเมื่อวันที่ 18-19 มี.ค. ที่ผ่านมา กรรมการ BOJ ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของ
มาตรการภาษีศุลกากรของสหรัฐฯ ที่จะมีต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ
  • โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ เนื่องจากมาตรการ
ภาษีศุลกากรมีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและทำให้การว่างงานปรับตัวสูงขึ้น
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐฯ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่สหรัฐฯ และประเทศอื่น ๆ จะสามารถบรรลุข้อตกลง
เกี่ยวกับภาษีตอบโต้ระหว่างกันได้ แต่จะเกิดขึ้นหลังจากวันที่ 2 เม.ย.เท่านั้น
  • ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนี ISM และ PMI ภาคการผลิต/ภาคบริการ ตัวเลขการจ้างงานภาค
เอกชน ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนมี.ค. ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือนก.พ.รวมถึงตัวเลขจำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
  • นักลงทุนจับตาการเปิดเผยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตประจำเดือนมี.ค.ในวันนี้ ขณะที่นักวิเคราะห์คาด

การณ์ว่าดัชนี PMI จะปรับตัวขึ้นแตะระดับ 50.5 ในเดือนมี.ค. จากระดับ 50.2 ในเดือนก.พ.


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ