นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทปิดตลาดเย็นนี้อยู่ที่ 34.15/16 บาท/ดอลลาร์ จากเปิดตลาดเมื่อ เช้าที่ระดับ 34.17/18 บาท/ดอลลาร์ โดยระหว่างวันเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.12 - 34.23 บาท/ดอลลาร์
เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับค่าเงินภูมิภาค โดยเป็นไปตามแรงขายระหว่างวัน คืนนี้ตลาดรอดูการประกาศนโยบาย ภาษีนำเข้าสินค้าของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ซึ่งถ้ามีการเฉพาะเจาะจงประเทศไทย หรือเอเชีย ซึ่งตอนนี้ไทยติดกลุ่ม เสี่ยง 1 ใน 15 ประเทศที่เกินดุลกับสหรัฐฯ อาจส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าได้
นักบริหารเงิน ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ไว้ที่ 34.05 - 34.40 บาท/ดอลลาร์
- ปัจจัยสำคัญ
- เงินเยนอยู่ที่ 149.47/49 เยน/ดอลลาร์ จากช่วงเช้าที่ระดับ 149.82/85 เยน/ดอลลาร์
- เงินยูโรอยู่ที่ 1.0806/0808 ดอลลาร์/ยูโร จากช่วงเช้าที่ระดับ 1.0790/0792 ดอลลาร์/ยูโร
- ดัชนี SET ปิดวันนี้ 1,172.69 จุด เพิ่มขึ้น 4.67 จุด (+0.40%) มูลค่าซื้อขาย 24,969.34.72 ล้านบาท
- สรุปปริมาณการซื้อขายรายกลุ่ม ต่างชาติซื้อสุทธิ 1,576.55 ล้านบาท
- ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ทั้งไทยและทั่วโลกต่างเฝ้าจับตาการประกาศนโยบายภาษีศุลกากรแบบ
ตอบโต้ของสหรัฐฯ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังกลุ่ม 15 ประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลทางการค้าด้วยเป็นหลัก ทั้งนี้ จากการที่ไทยได้ดุลการค้าจากสหรัฐฯ
สูง จึงมีความเสี่ยงที่จะถูกปรับขึ้นภาษี เนื่องจากเป็นหนึ่งในประเทศที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลำดับที่ 11 ดังนั้น เพื่อป้องกันผลกระทบ
จากนโยบายดังกล่าว ไทยเองควรพิจารณาเพิ่มการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร อาหาร และพลังงาน เพื่อลดความกด
ดันด้านดุลการค้า รวมถึงพิจารณาปฏิรูปโควตาภาษีนำเข้าของไทยกับสหรัฐฯ ให้มีจุดยืนที่เป็นธรรมและสมดุลในการเจรจากับสหรัฐฯ
- ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ประเมินมาตรการภาษีสหรัฐ หากสหรัฐฯขึ้นภาษีเท่ากับไทย จะทำให้ไทยเสียหาย 7,000-8,000
ล้านเหรียญสหรัฐฯ (230,000-270,000 ล้านบาท) สินค้าที่จะได้รับผลกระทบ เช่น ข้าว กุ้งแปรรูป ยางล้อรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์
- คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ระบุว่า เศรษฐกิจไทยเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ GDP ในปี
68 ต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมที่ 2.4-2.9% ซึ่งแม้ในกรอบการขยายตัวดังกล่าว จะได้รวมผลกระทบบางส่วนจากมาตรการปรับขึ้นภาษี
สินค้านำเข้าจากสหรัฐฯ ไว้แล้ว แต่ยังมีความไม่แน่นอนถึงขนาด และขอบเขตของมาตรการภาษีที่จะประกาศในคืนนี้ (ตามเวลาสหรัฐ) ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อ GDP มากขึ้นอีก 0.2-0.6%
- ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากเหตุแผ่นดินไหวต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 68
อยู่ที่ราว 30,000 ล้านบาท ผลจากแนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่อาจมีจำนวนลดลง จากความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัย และการชะลอตัว
ของภาคอสังหาริมทรัพย์ ส่วนผลกระทบสุทธิต่อเศรษฐกิจอาจยังไม่แน่นอน ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาความเชื่อมั่นจะฟื้นฟูกลับมาได้ ทั้งของ
คนในประเทศ นักท่องเที่ยว และนักลงทุนต่างชาติ
- นายกสมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย ประเมินผลกระทบของเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมียนมาที่สะเทือนถึงประเทศไทยเมื่อวัน
ที่ 28 มี.ค. ที่ผ่านมา คาดการณ์ว่า ในระยะสั้น มีผลกระทบรุนแรงระยะเวลา 10-14 วัน สูญเสียนักท่องเที่ยว 10-15% จำนวน 1.2-
1.5 แสนคน ผลกระทบทางเศรษฐกิจ 5,000-6000 ล้านบาท ส่วนในระยะกลาง มีผลกระทบ 2-16 สัปดาห์ สูญเสียนักท่องเที่ยวในไตร
มาส 2/68 รวม 3-4 แสนคน มูลค่า 1.2-1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า นักท่องเที่ยวจะกลับมา 90-95% ในช่วงสงกรานต์ และ
กลับมาปกติในไตรมาส 3/68
- ทำเนียบขาว ยืนยันว่า ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ จะประกาศมาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้
(Reciprocal Tariff) ในวันพุธ (2 เม.ย.) ตามที่ได้วางแผนไว้ และจะมีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งเป็นความพยายามที่จะลดการ
ขาดดุลการค้าของสหรัฐฯ กับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
- ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) สาขาชิคาโก เตือนว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดจากมาตรการภาษีศุลกากรของ
สหรัฐฯ จะส่งผลให้การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนชะลอตัวลง โดยเตือนว่าสถานการณ์ทาง
เศรษฐกิจอาจจะยุ่งเหยิงในระดับหนึ่ง หากผู้บริโภคหยุดการใช้จ่ายหรือภาคธุรกิจหยุดการลงทุนเพราะไม่มั่นใจเกี่ยวกับ
ทิศทางในอนาคต
- โกลด์แมน แซคส์ (Goldman Sachs) คาดการณ์ว่า กระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจถดถอยในสหรัฐฯ
และมาตรการภาษีศุลกากรของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้นักลงทุนแห่ถือครองเงินเยนซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
- โกลด์แมน แซคส์ คาดการณ์ว่า มาตรการภาษีศุลกากรตอบโต้จะส่งผลให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดว่าภาย
ในสิ้นปี 2568 ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) จะอยู่ที่ระดับ 3.5% และคาดว่าอัตราว่างงานจะปรับ
ตัวขึ้นแตะระดับ 4.5%
โดย ปภัสสร องค์พิเชฐเมธา/รัชดา คงขุนเทียน