บัวหลวง แนะลดความเสี่ยงทุกตลาดรับสหรัฐเขย่าโครงสร้างการค้าโลกแรง รอจับตา "สัญญาณเจรจา"

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday April 3, 2025 11:24 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

บล.บัวหลวง ระบุว่า รัฐบาลของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธนาธิบดีสหรัฐเพิ่งประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ทางการค้าในคืนที่ผ่านมา โดยภาษีแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การเก็บภาษีขั้นต่า (Baseline) 10% ซึ่งจะเรียกเก็บกับสินค้าจากทุกจากประเทศที่สหรัฐนาเข้าสินค้า และ 2) การเก็บภาษีส่วนเพิ่ม (Additional) 10-49% กับหลายประเทศที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐสูง

สาหรับประเทศหลักที่พึ่งพาการส่งออก ได้แก่ ไทย: 36%, เวียดนาม: 46%, อินเดีย: 26%, เกาหลีใต้: 25%, ไต้หวัน: 32%, อินโดนีเซีย: 32%, มาเลเซีย: 24% กล่าวคือกลุ่มอาเซียน-เอเชียแปซิฟิก โดนถ้วนหน้า และอยู่ในระดับที่ "เปลี่ยนโครงสร้างการค้า" ได้เลย โดยกลุ่มประเทศที่เดิมเคยเกินดุลทางการค้ามาก (เช่น ไทย, เวียดนาม) กลับกลายเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

นอกจากนี้ สหรัฐยังไม่มีการยกเว้นแม้แต่ประเทศพันธมิตร เช่น EU, ญี่ปุ่น, เกาหลีใต้ สะท้อนว่าแนวทางนี้เป็นเชิงโครงสร้าง ไม่ใช่ tactical

ผลกระทบ:

? มาตรการภาษีครั้งนี้เทียบได้กับจุดเริ่มต้นของ "Trade War 2.0" ซึ่งมีแนวโน้มรุนแรงและมีผลกระทบเชิงโครงสร้างมากกว่า Trade War ครั้งแรกในปี 2018

? บริษัทข้ามชาติจานวนมากอาจชะลอการลงทุนเพื่อตีความท่าทีของสหรัฐฯ และประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจใหม่ ส่งผลต่อ กระแส FDI และวัฏจักรการลงทุน (Capex Cycle) ในภูมิภาคต่างๆ

? ความเชื่อมั่นใน Global Supply Chain ลดลงอย่างมีนัยสาคัญ โดยเฉพาะในภาคการผลิต ส่งผลต่อคำสั่งซื้อใหม่ (New Orders) และแผนการขยายกำลังการผลิต

? แรงกดดันเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น บั่นทอนความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศผู้นำเข้า

? ความเสี่ยงของการเกิด "Fragmentation of Trade" หรือการแบ่งขั้วการค้าระหว่างกลุ่มประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นปัจจัยฉุดการเติบโตของการค้าโลก

สรุปภาพรวม:

? มาตรการภาษีชุดนี้ไม่ใช่เพียงแค่กลยุทธ์กดดันเชิงการเมือง แต่ถือเป็นแรงกระแทกเชิงโครงสร้างต่อระบบการค้าโลก หลายประเทศอาจจาเป็นต้องเร่งเข้าสู่กระบวนการเจรจาการค้าใหม่กับสหรัฐฯ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบในระยะยาว

? หากการเจรจาการค้าของหลาย ๆ ประเทศล่าช้า หรือไร้ความชัดเจน อาจนาไปสู่ภาวะการลงทุนชะงักงัน การบริโภคหดตัว และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้ากว่าคาดการณ์ Wealth Research

? มาตรการนี้จึงอาจกลายเป็น "จุดเปลี่ยนของโครงสร้าง Supply Chain โลก" ที่ผลักดันให้ธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่ยุคใหม่ของการค้า ซึ่งเน้นความยืดหยุ่นมากกว่าประสิทธิภาพและการประหยัดต้นทุนการผลิตเพียงอย่างเดียว

? ในระยะสั้น เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเข้าสู่ภาวะ mid-depth recession หากกระบวนการเจรจาการค้ายืดเยื้อและไร้ความคืบหน้า โดยเราประเมินว่า GDP อาจหดตัวในกรอบ -1.5% ถึง -2.0% ซึ่งถือว่ารุนแรงกว่ากรณี mild recession ที่เคยเป็นสมมติฐานหลักก่อนหน้านี้

? แรงกระทบหลักจะมาจากการบริโภคที่อ่อนแรงลงจากราคาสินค้านำเข้าที่สูงขึ้น, ความไม่แน่นอนทางนโยบายที่บั่นทอนความเชื่อมั่นภาคเอกชน และความเสี่ยงด้านการค้าโลกที่กดดันคำสั่งซื้อใหม่

กลยุทธ์การลงทุน:

? แม้ว่าก่อนหน้านี้เราได้ลดน้าหนักการลงทุนในตลาดหุ้นโลกลงมาแล้ว แต่ผลกระทบจากมาตรการภาษีมีแนวโน้มรุนแรงกว่าคาดการณ์ของตลาด เราจึงแนะนำให้ปรับน้าหนักการลงทุนในตลาดหุ้นต่างๆ ลงเพิ่มเพื่อลดความเสี่ยงในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าหลายๆ ประเทศจะเข้าสู่โต๊ะเจรจากับสหรัฐฯ ทำให้ผลกระทบอาจไม่รุนแรงอย่างที่กังวลกันในขณะนี้

? ทั้งนี้ เราคาดว่า Turning Point สำคัญของตลาดหุ้นโลก คือ "สัญญาณการเปิดทางเจรจา" ซึ่งคาดจะเป็นจุด Peak ของ Escalation Phase, เป็นจุดกลับตัวของ Fund Flow ที่จะกลับมาเข้าสินทรัพย์เสี่ยง และเป็นจุด Bottom ของตลาดหุ้นทั่วโลกหลังสงครามการค้าคลี่คลาย ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาราว 3 เดือน (เทียบเคียงกับสงครามการค้าปี 2018) โดยเราจะติดตามพัฒนาการเชิงบวกก่อนกลับมาเพิ่มน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นต่างๆ ต่อไป


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ