วิกฤตการณ์สินเชื่อที่เกิดขึ้นในตลาดการเงินทั่วโลก ส่งผลให้สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่หลายแห่งขาดทุนเป็นวงเงินที่สูงเกินความคาดหมาย และบีบให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) พ้นจากตำแหน่งเพราะไม่สามารถประคับประคองสถาบันการเงินให้ฟื้นตัวขึ้นจากการขาดทุน และไม่สามารถกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนได้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ราคาหุ้นของสถาบันการเงินเหล่านี้ร่วงลงอย่างหนัก
สำนักข่าวเอพีได้รวบรวมรายชื่อซีอีโอของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ที่ถูกบีบให้ลาออกและถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่ง นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ในตลาดการเงิน ดังนี้:
-- สแตนลีย์ โอนีล ซีอีโอวาณิชธนกิจเมอร์ริล ลินช์ ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว หลังจากทำงานให้กับเมอร์ริล ลินช์มานานเกือบ 5 ปีและมีส่วนผลักดันให้เมอร์ริล ลินช์ เป็นบริษัทการเงินระดับแนวหน้าในตลาดวอลล์สตรีท จากนั้นเมอร์ริล ลินช์ ประกาศแต่งตั้ง จอห์น เธน อดีตผู้บริหาร NYSE Euronext และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโกลด์แมน แซคส์ ให้คุมบังเหียนเมอร์ริล ลินช์ แทนโอนีล
-- ชาร์ลส์ พรินซ์ ซีอีโอซิตี้กรุ๊ป ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งในเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว หลังจากที่ทำงานให้กับซิตี้กรุ๊ปมานานเกือบ 5 ปี จากนั้นประมาณ 1 เดือน ซิตี้กรุ๊ปประกาศแต่งตั้ง วิกรม บัณฑิต อดีตผู้บริหารเมอร์ริล ลินช์ รับตำแหน่งซีอีโอแทน โดยซิตี้กรุ๊ปซึ่งได้ชื่อว่าเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่สุดของสหรัฐเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์ กำลังพยายามกอบกู้สถานะทางการเงิน หลังจากขาดทุนติดต่อกันถึง 2 ไตรมาส และปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีลงราว 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์
-- ไมเคิล เชอร์คาสกี้ ซีอีโอบริษัท มาร์ช แอนด์ แมคเลนแนน ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ของสหรัฐ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว จากนั้นบริษัทประกาศแต่งตั้ง ไบรอัน ดูเปอร์รอลท์ ผู้บริหารของบริษัทเอซ เข้ารับตำแหน่งซีอีโอแทนในม.ค.ปี 2551 ทั้งนี้ มาร์ช แอนด์ แมคเลนแนน มีปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในตลาดสินเชื่อ หลังจากถูกนายเอเลียต สปิทเซอร์ อัยการรัฐนิวยอร์ก ยื่นมือเข้าตรวจสอบในปี 2547 ส่งผลให้บริษัทถูกปรับเป็นวงเงินจำนวนมากและทำให้รายได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
-- เจมส์ เคน ซีอีโอ แบร์ สเติร์นส์ ลาออกจากตำแหน่งในเดือนม.ค.ปี 2551 และจากนั้นแบร์ สเติร์นส์ ประกาศแต่งตั้งอลัน ชวาร์ทซ์ ประธานของแบร์ สเติร์นส์ เข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอแทน แต่ชวาร์ทซ์ก็ไม่สามารถกอบกู้สถานะของแบร์ สเติร์นส์ให้ฟื้นตัวขึ้นได้ จนแบร์ สเติร์นส์ ตัดสินใจขายกิจการให้กับ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ในเดือนมี.ค.ปีนี้
-- โรเบิร์ต เจนาเดอร์ ซีอีโอบริษัทแอมแบค ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทประกันหุ้นกู้รายใหญ่ของสหรัฐ ประกาศลาออกกระทันหันในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นบริษัทประกาศแต่งตั้ง ไมเคิล คอลเลน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของบริษัทเข้ารับตำแหน่งแทน หลังจากแอมแบคขาดทุนอย่างหนักติดต่อกัน 3 ไตรมาส
-- แกรี ดันตัน ซีอีโอบริษัทเอ็มบีไอเอ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันหุ้นกู้รายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของสหรัฐ ลาออกในเดือนก.พ. หลังจากบริษัทขาดทุนอย่างหนักในไตรมาส 4 จากนั้นบริษัทแต่งตั้ง โยเซฟ บราวน์ เข้ารับตำแหน่งแทน แต่จนถึงปัจจุบัน เอ็มบีไอเอยังคงขาดทุนรายไตรมาสเป็นวงเงินจำนวนมาก
-- เคน ธอมป์ สัน ซีอีโอธนาคารวาโชเวีย ถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากเข้ารับตำแหน่งนานถึง 8 ปี ต่อมาวาโชเวียประกาศแต่งตั้ง ลันตี้ สมิธ เข้ารับตำแหน่งแทน หลังจากวาโชเวียคาดการณ์ว่าธนาคารอาจขาดทุนจำนวนมากในไตรมาสแรก
-- เอริน คัลแลน ซีอีโอเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ เลห์แมนยังประกาศปลดนายโจเซฟ เกรกอรี ออกจากตำแหน่งประธาน หลังจากที่ผู้บริหารทั้งบริษัทไม่สามารถสยบกระแสคาดการณ์ที่ว่าเลห์แมน บราเธอร์สจะขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งเป็นผลให้หุ้นเลห์แมน บราเธอร์ส ทรุดตัวลงถึง 65% ในปีนี้
-- มาร์ติน ซัลลิแวน ซีอีโอบริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ถูกปลดจากตำแหน่งในวันนี้ (16 มิ.ย.) หลังจาก AIG ขาดทุนในไตรมาสแรกปีนี้เป็นวงเงินสูงถึง 7.8 พันล้านดอลลาร์ จากนั้น AIG ประกาศแต่งนายโรเบิร์ต วิลลัมสแตด อดีตซีอีโอของซิตี้กรุ๊ป เข้ารับตำแหน่งแทน
นอกเหนือจากตัวเลขขาดทุนมูลค่ามหาศาลแล้ว วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นในหมู่ซีอีโอของสถาบันการเงินรายใหญ่กำลังกลายเป็นปัจจัยใหม่ที่ฉุดราคาหุ้นทรุดตัว แต่วิกฤตการณ์สินเชื่อยังคงเป็นปัญหาที่รุมเร้าตลาดการเงินทั่วโลก และยากที่จะคาดคะเนได้ว่าซีอีโอของสถาบันการเงินแห่งใดจะเป็นรายต่อไปที่ถูกบีบออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบกับการขาดทุนของบริษัท สำนักข่าวเอพีรายงาน
สำนักข่าวเอพีได้รวบรวมรายชื่อซีอีโอของสถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ที่ถูกบีบให้ลาออกและถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่ง นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ในตลาดการเงิน ดังนี้:
-- สแตนลีย์ โอนีล ซีอีโอวาณิชธนกิจเมอร์ริล ลินช์ ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งเมื่อเดือนต.ค.ปีที่แล้ว หลังจากทำงานให้กับเมอร์ริล ลินช์มานานเกือบ 5 ปีและมีส่วนผลักดันให้เมอร์ริล ลินช์ เป็นบริษัทการเงินระดับแนวหน้าในตลาดวอลล์สตรีท จากนั้นเมอร์ริล ลินช์ ประกาศแต่งตั้ง จอห์น เธน อดีตผู้บริหาร NYSE Euronext และเจ้าหน้าที่ระดับสูงของโกลด์แมน แซคส์ ให้คุมบังเหียนเมอร์ริล ลินช์ แทนโอนีล
-- ชาร์ลส์ พรินซ์ ซีอีโอซิตี้กรุ๊ป ถูกบีบให้ออกจากตำแหน่งในเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว หลังจากที่ทำงานให้กับซิตี้กรุ๊ปมานานเกือบ 5 ปี จากนั้นประมาณ 1 เดือน ซิตี้กรุ๊ปประกาศแต่งตั้ง วิกรม บัณฑิต อดีตผู้บริหารเมอร์ริล ลินช์ รับตำแหน่งซีอีโอแทน โดยซิตี้กรุ๊ปซึ่งได้ชื่อว่าเป็นธนาคารพาณิชย์รายใหญ่สุดของสหรัฐเมื่อพิจารณาจากสินทรัพย์ กำลังพยายามกอบกู้สถานะทางการเงิน หลังจากขาดทุนติดต่อกันถึง 2 ไตรมาส และปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ทางบัญชีลงราว 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์
-- ไมเคิล เชอร์คาสกี้ ซีอีโอบริษัท มาร์ช แอนด์ แมคเลนแนน ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่ของสหรัฐ ถูกปลดออกจากตำแหน่งในเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว จากนั้นบริษัทประกาศแต่งตั้ง ไบรอัน ดูเปอร์รอลท์ ผู้บริหารของบริษัทเอซ เข้ารับตำแหน่งซีอีโอแทนในม.ค.ปี 2551 ทั้งนี้ มาร์ช แอนด์ แมคเลนแนน มีปัญหาด้านการเงินมาตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ในตลาดสินเชื่อ หลังจากถูกนายเอเลียต สปิทเซอร์ อัยการรัฐนิวยอร์ก ยื่นมือเข้าตรวจสอบในปี 2547 ส่งผลให้บริษัทถูกปรับเป็นวงเงินจำนวนมากและทำให้รายได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
-- เจมส์ เคน ซีอีโอ แบร์ สเติร์นส์ ลาออกจากตำแหน่งในเดือนม.ค.ปี 2551 และจากนั้นแบร์ สเติร์นส์ ประกาศแต่งตั้งอลัน ชวาร์ทซ์ ประธานของแบร์ สเติร์นส์ เข้าดำรงตำแหน่งซีอีโอแทน แต่ชวาร์ทซ์ก็ไม่สามารถกอบกู้สถานะของแบร์ สเติร์นส์ให้ฟื้นตัวขึ้นได้ จนแบร์ สเติร์นส์ ตัดสินใจขายกิจการให้กับ เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค ในเดือนมี.ค.ปีนี้
-- โรเบิร์ต เจนาเดอร์ ซีอีโอบริษัทแอมแบค ไฟแนนเชียล กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทประกันหุ้นกู้รายใหญ่ของสหรัฐ ประกาศลาออกกระทันหันในเดือนม.ค.ที่ผ่านมา จากนั้นบริษัทประกาศแต่งตั้ง ไมเคิล คอลเลน ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของบริษัทเข้ารับตำแหน่งแทน หลังจากแอมแบคขาดทุนอย่างหนักติดต่อกัน 3 ไตรมาส
-- แกรี ดันตัน ซีอีโอบริษัทเอ็มบีไอเอ อิงค์ ซึ่งเป็นบริษัทประกันหุ้นกู้รายใหญ่อีกแห่งหนึ่งของสหรัฐ ลาออกในเดือนก.พ. หลังจากบริษัทขาดทุนอย่างหนักในไตรมาส 4 จากนั้นบริษัทแต่งตั้ง โยเซฟ บราวน์ เข้ารับตำแหน่งแทน แต่จนถึงปัจจุบัน เอ็มบีไอเอยังคงขาดทุนรายไตรมาสเป็นวงเงินจำนวนมาก
-- เคน ธอมป์ สัน ซีอีโอธนาคารวาโชเวีย ถูกปลดออกจากตำแหน่งในช่วงต้นเดือนนี้ หลังจากเข้ารับตำแหน่งนานถึง 8 ปี ต่อมาวาโชเวียประกาศแต่งตั้ง ลันตี้ สมิธ เข้ารับตำแหน่งแทน หลังจากวาโชเวียคาดการณ์ว่าธนาคารอาจขาดทุนจำนวนมากในไตรมาสแรก
-- เอริน คัลแลน ซีอีโอเลห์แมน บราเธอร์ส วาณิชธนกิจรายใหญ่อันดับ 4 ของสหรัฐ ถูกปลดออกจากตำแหน่ง นอกจากนี้ เลห์แมนยังประกาศปลดนายโจเซฟ เกรกอรี ออกจากตำแหน่งประธาน หลังจากที่ผู้บริหารทั้งบริษัทไม่สามารถสยบกระแสคาดการณ์ที่ว่าเลห์แมน บราเธอร์สจะขาดทุนอย่างหนัก ซึ่งเป็นผลให้หุ้นเลห์แมน บราเธอร์ส ทรุดตัวลงถึง 65% ในปีนี้
-- มาร์ติน ซัลลิแวน ซีอีโอบริษัท อเมริกัน อินเตอร์เนชันแนล กรุ๊ป (AIG) ซึ่งเป็นบริษัทประกันรายใหญ่อันดับ 1 ของโลก ถูกปลดจากตำแหน่งในวันนี้ (16 มิ.ย.) หลังจาก AIG ขาดทุนในไตรมาสแรกปีนี้เป็นวงเงินสูงถึง 7.8 พันล้านดอลลาร์ จากนั้น AIG ประกาศแต่งนายโรเบิร์ต วิลลัมสแตด อดีตซีอีโอของซิตี้กรุ๊ป เข้ารับตำแหน่งแทน
นอกเหนือจากตัวเลขขาดทุนมูลค่ามหาศาลแล้ว วิกฤตศรัทธาที่เกิดขึ้นในหมู่ซีอีโอของสถาบันการเงินรายใหญ่กำลังกลายเป็นปัจจัยใหม่ที่ฉุดราคาหุ้นทรุดตัว แต่วิกฤตการณ์สินเชื่อยังคงเป็นปัญหาที่รุมเร้าตลาดการเงินทั่วโลก และยากที่จะคาดคะเนได้ว่าซีอีโอของสถาบันการเงินแห่งใดจะเป็นรายต่อไปที่ถูกบีบออกจากตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบกับการขาดทุนของบริษัท สำนักข่าวเอพีรายงาน