ธปท.ย้ำความจำเป็นขึ้นดอกเบี้ยคุมเงินเฟ้อให้อยู่ในกรอบ-พยุงการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 16, 2008 15:33 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

         นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า การฟื้นตัวของการบริโภคในประเทศ(Domestic Demand)ช้ากว่าที่ธปท.คาดการณ์ไว้ และสัญญาณยังไม่ชัดเจน ดังนั้น จึงเห็นความเสี่ยงของเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบไปยังต้นทุนการผลิตที่จะบั่นทอนความสามารถการแข่งขันของภาคส่งออก ขณะที่ประเทศไทยยังหวังพึ่งพาการส่งออก จึงต้องเน้นการดูแลอัตราเงินเฟ้อ 
"ถ้าไม่ทำอะไรเลย Real Growth จะถูกเงินเฟ้อกินหมด ดังนั้น การขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นอาจกระทบต่อ Growth ลดลง จากความเชื่อมั่นที่ชะลอตัวลง แต่ Growth ที่ชะลอตัวลงอาจเกิดจากหลายปัจจัยตอนนี้" นางสาวดวงมณี กล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งนี้ให้สมมติฐานระดับราคาน้ำมันเฉลี่ยที่ 135 เหรียญ สรอ./บาร์เรล และกรณีเลวร้ายสุดอยู่ที่ 176 เหรียญ สรอ./บาร์เรล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น หาก ธปท.ไม่ทำอะไรเลยก็จะเร่งเงินเฟ้อให้ออกนอกกรอบมากขึ้น นอกจากนี้ ยังจะมีผลต่ออัตราการออมให้ลดลง เพราะตอนนี้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่แท้จริงติดลบสูงถึง 6.6%
ขณะเดียวกัน ต้องการลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตด้วย
"เงินเฟ้อมันกัดกร่อนความเชื่อมั่นการบริโภคการลงทุน เราจำเป็นต้องดูแลเงินเฟ้อในระบบให้เหมาะสม ต้นทุนผู้ประกอบการคงไม่เร่งตัวขึ้นมาก ต้นทุนดอกเบี้ยของบริษัททั่วไปอยู่ที่ 3 เอสเอ็มอีอยู่ที่ 7% แต่ถ้าในอนาคตหากเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้นต้นทุนก็จะสูงขึ้นกว่านี้ ดังนั้นควรจะทำให้เงินเฟ้อต่ำในระยะยาวเข้าไว้
ส่วนปัจจัยด้านการเมืองก็กัดกร่อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ฟื้นตัวได้ช้าลง ขณะที่ 6 เดือน 6 มาตรการช่วยเหลือประชาชนของภาครัฐนั้น นางสาวดวงมณี กล่าวว่า ช่วยแบ่งเบาภาระผู้ที่เดือดร้อนจากปัญหาเงินเฟ้อได้บ้าง เพราะจะทำให้เงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นเพื่อนำไปใช้จ่ายได้มากขึ้น
นางสาวดวงมณี กล่าวถึงการส่งผ่านนโยบายดอกเบี้ยไปยังธนาคารพาณิชย์ว่า ธปท.ยืนยันทำหน้าที่ในส่วนนี้และอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเงินเฟ้อลดการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคต และมีความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อในช่วงข้างหน้าจะไม่สูง ซึ่งการส่งสัญญาณก็จะใช้มาตรการที่มีอยู่ในมือ ขณะที่สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ยังมี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ