(เพิ่มเติม) ธปท.ปรับคาดการณ์ GDP ปี 51 มาที่ 4.8-5.8% หลังมองเงินเฟ้อพุ่งทะลุกรอบ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 28, 2008 16:07 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับล่าสุด โดยปรับประมาณการเศรษฐกิจปี 51 ให้
สอดคล้องกับภาวะเงินเฟ้อที่คาดว่าจะสูงกว่าคาดการณ์เดิม และมีแนวโน้มหลุดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานที่กำหนดไว้ 0-3.5%
จากปัจจัยสำคัญคือราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งแรงเกินกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่งเป็นประเด็นที่ธปท.จำเป็นต้องใช้นโยบาย
ดอกเบี้ยขาขึ้นเข้าไปดูแลเพื่อให้สามาถรคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตได้
สรุปผลการประมาณการ ณ กรกฎาคม 2551
ร้อยละ 2550 2551 2552
อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 4.8 4.8-5.8 4.3-5.8
(เดิม) (4.8-6.0) (4.5-6.0)
อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน 1.1 2.8-3.8 3.0-4.0
(เดิม) (1.5-2.5) (2.0-3.0)
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป 2.3 7.5-8.8 5.0-7.5
(เดิม) (4.0-5.0) (2.8-4.3)
นางสาวดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท.กล่าวว่า สมมติฐานที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อ
3 เดือนก่อน ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบดูไบปี 51-52 เพิ่มขึ้นเป็น 119.6 และ 135.0 ดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล, ราคาสินค้าเกษตรใน
ตลาดโลกสูงขึ้นตามราคาข้าว โดยเฉพาะวัตถุดิบด้านการเกษตรเพื่อผลิตพลังงานชีวภาพ รวมถึงต้นทุนค่าขนส่ง
สมมติฐานอัตราดอกเบี้ยสหรัฐที่สูงขึ้นจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อ, อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสูง
ขึ้นจากประมาณการเดิม โดยเฉพาะเศรษฐกิจเอเชียยังแข็งแกร่ง , ค่าเงินในภูมิภาคมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเดิม เนื่องจาก
แนวโน้มดอลลาร์แข็งค่าขึ้น เป็นผลจากการดำเนินนโยบายของทางการสหรัฐ
และ รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค และการลงทุนของภาครัฐในปีนี้แม้จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ปีงบประมาณ 52 น่าจเพิ่ม
ขึ้นเล็กน้อย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงด้านลบของภาวะเศรษฐกิจในปีนี้ ยังอยู่ที่ ราคาน้ำมันที่อาจปรับสูงขึ้นจากอุปทานที่ไม่แน่นอน และการ
ขยายตัวทาเงศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่อาจต่ำกว่าประมาณการ เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังเปราะบาง ประกอบกับสถาบันการเงิน
ในยุโรปประสบภาวะขาดทุนจากปัญหาซับไพร์ม และธนาคารกลางในหลายประเทศของเอเชียอาจต้องดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวใน
ภาวะที่เงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาก
ส่วนปัจจัยเสี่ยงด้านบวก คือ ความเป็นไปได้ในการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อชดเชยผลของเงินเฟ้อที่สูงกว่า
คาด , ราคาน้ำมันมีโอกาสต่ำกว่าสมมติฐาน แต่ก็ยังเห็นว่าความเสี่ยงด้านลบน่าจะมีมากกว่าความเสี่ยงด้านบวก
ประมาณการเงินเฟ้อระยะต่อไป แม้มาตรการภาครัฐจะช่วยลดแรงกดดันด้านราคาลงไปบ้างในระยะสั้น แต่ยังมีปัจจัย
เสี่ยงอื่น ๆ ที่จะทำให้เงินเฟ้อสูงกว่ากรณีฐาน คือราคาน้ำมัน และการส่งผ่านต้นทุนการผลิตไปยังราคาสินค้าและบริการที่อาจมีมาก
ขึ้น ส่วนหนึ่งจากคาดการณ์เงินเฟ้อที่สูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม นโยบายการเงินที่เหมาะสมจะสามารถช่วยดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อ และช่วยให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน
โน้มลงกลับเข้าสู่ช่วงเป้าหมายที่ 0-3.5% ได้เร็วขึ้น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ