(เพิ่มเติม) คลัง ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 51 เหลือ 5.1%จาก 5.6% จากการเมือง

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday September 25, 2008 15:08 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

          กระทรวงการคลัง ปรับลดคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 51 เหลือ 5.1% จากเดิมที่เคยคาดไว้ 
5.6% จากผลความวุ่นวายทางการเมือง กระทบการขยายตัวของการบริโภค การลงทุน และ การท่องเที่ยว รวมทั้งการใช้จ่ายภาย
ในประเทศฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม ขณะที่คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปรับลดมาอยู่ที่ 6.3% จากเดิมที่เคยคาดไว้ 7.2%
หลังจากราคาน้ำมันปรับลดลง
ส่วนปี 52 คาดว่า GDP จะเติบโต 4-5% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 52 คาดว่าจะชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 3.0-4.0%
ต่อปี เนื่องจากแนวโน้มราคาน้ำมันดิบที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงจากปี 51 โดยสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 95-105
ดอลลาร์/บาร์เรล จาก 103.7 ดอลลาร์/บาร์เรลในปี 51 ค่าเงินบาทที่ 33.0-35.0 บาท/ดอลลาร์ จาก 33.2 บาท/ดอลลาร์ใน
ปี 51
นางพรรณี สถาวโรดม ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.)กล่าวว่า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน
ในปี 51 จะขยายตัว 2.8% และ 5.0% ต่อปี ตามลำดับ ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 3.5% และ 8.5% ต่อปี เนื่องจากปัญหา
เงินเฟ้อที่สูงขึ้นและความไม่มั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมาส่งผลให้ผู้บริโภคและนักลงทุนชะลอการจับจ่ายใช้สอย
และชะลอการตัดสินใจลงทุน
การส่งออก แม้จะยังขยายตัวในระดับสูงและช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยโดยรวมให้ขยายตัวได้ดีกว่าปีก่อน แต่ก็มี
แนวโน้มขยายตัวในอัตราที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์เดิมตามความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกที่เพิ่มขึ้น ดุลบัญชีเดินสะพัดในปี
51 ยังคาดว่าจะคงเกินดุลที่ 0.4%ของ GDP
ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากที่คาดการณ์เดิม จากอัตราเงินเฟ้อในปี 2551 ที่คาดว่าจะ
ลดลงมาอยู่ที่ 6.3%ต่อปี จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ที่ 7.2%ต่อปี
สำหรับนโยบายที่จะต้องเร่งรัดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นางพรรณี กล่าวว่า ภาครัฐต้องเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณให้มาก
ขึ้น และหามาตรการเสริม เช่น ภาคการท่องเที่ยวมากระตุ้นเศรษฐกิจ และโครงการลงทุนเมกะโปรเจ็คต์ที่รัฐบาลต้องสร้างความ
ชัดเจนว่ามีการลงทุนเกิดขึ้นจริง ไม่ใช่มีเต่เพียงการจัดทำแผนเท่านั้นเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับนักลงทุน
"ภาคการท่องเที่ยว รัฐบาลจะต้องเจรจาพันธมิตรให้เข้าใจผลกระทบว่าการชุมนุมเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวม"
นางพรรณีกล่าว
ในส่วน สศค.ต้องรอให้รัฐบาลใหม่มีการจัดทำร่างนโยบายบริหารราชการแผ่นดินเพื่อจัดทำข้อเสนอต่างๆ ให้มีความสอด
คล้องกัน
ขณะที่เศรษฐกิจไทยในปี 52 จะได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายในประเทศที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นจากฐานที่ต่ำในปีนี้ แต่
การส่งออกในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวลดลงตามการชะลอตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจโลก ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะลดลงมาอยู่
ที่ 3.0-4.0%ต่อปี ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงจากฐานที่สูงในปีนี้ ส่วนดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุล 1.0-2.0%ของ GDP
ด้านนายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง(สวค.) คาดว่า เศรษฐกิจในครึ่งหลัง
ปี 51 เดิมที่คาดว่าจะโต 5.5% แต่คงชะลอตัวลงมาอยู่ที่ 4.5% เนื่องจากการบริโภคการลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาด ขณะ
ที่การส่งออกจะขยายตัวลดลง จากผลพวงของเศรษฐกิจโลก ซึ่งปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังชะลอตัวลงเกิดจากปัจจัยทั้งในและ
นอกประเทศ
สำหรับปัจจัยภายในประเทศ เกิดจากการเบิกจ่ายงบประมาณมีความล่าช้า ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวได้รับผลกระทบ
มากกว่าที่คาดการณ์ไว้ หลังมีปัญหาการเมืองและประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ที่ในเดือนก.ย.ประเมินว่าการท่องเที่ยวลดลงแล้ว
30% คิดเป็นสูญเสียรายได้ 3-7 หมื่นล้านบาท
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศนั้น ปัญหาซับไพร์มของสหรัฐ ซึ่งเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ไว้ และคาดการณ์ว่าในปี 52
สถานการณ์อาจจะเลวร้ายมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยดีสนับสนุน คือ เรื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับที่ลดลงมา ขณะที่ดอกเบี้ยในตลาดโลกก็
เริ่มทรงตัว
ในปี 52 มองว่าเศรษฐกิจยังจะชะลอตัวลง โดยทั้งปีจะชะลอลงใกล้เคียงครึ่งหลังปี 51 ที่ 4.5% โดยคาดว่าการลง
ทุนภาคเอกชนอาจจะปรับตัวดีขึ้น เช่นเดียวกับการลงทุนภาครัฐจะขยายตัวได้เพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลต้องเร่งรัดโครงการเมกะโปรเจ็คต์ให้
เป็นรูปธรรมและเร่งการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแต่ในส่วนการส่งออกคาดว่าจะชะลอตัวลง
*ตารางประมาณการเศรษฐกิจปี 51 (ณ เดือน ก.ย.51)
51 51 52
(ประมาณการเดิม มิ.ย.51)(ประมาณการใหม่ ก.ย.51)(ประมาณการใหม่ ก.ย.51)
ช่วง เฉลี่ย
GDP(%) 5.0-6.0 5.6 5.1 4.0-5.0
การบริโภค 3.5-4.5 4.1 2.5 3.5-4.5
เอกชน 3.0-4.0 3.5 2.8 3.0-4.0
รัฐ 7.3-8.3 7.8 1.3 7.0-8.0
การลงทุน 7.3-9.3 8.3 4.3 7.3-8.3
เอกชน 7.5-9.5 8.5 5.0 7.0-8.0
รัฐ 6.5-8.5 7.4 2.3 8.0-9.0
ส่งออกสินค้า(%) 19.3-21.3 20.3 20.0 11.0-13.0
นำเข้าสินค้า(%) 29.0-31.0 30.0 29.8 9.0-11.0
ดุลการค้า(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 1.2-2.2 1.7 -0.9 1.0-3.0
ดุลบัญชีเดินสะพัด(พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) 3.0-5.0 4.0 1.0 4.0-6.0
(ร้อยละต่อ GDP) 1.0-2.0 1.4 0.4 1.0-2.0
อัตราเงินเฟ้อทั่วไป(%) 6.0-8.0 7.2 6.3 3.0-4.0

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ