ทั้งนี้ งบประมาณดังกล่าวจะถูกกระจายไปในรายสาขาอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งสิ้น 18 โครงการ โดยแบ่งออกเป็นสาขา อุตสาหกรรมอาหาร จำนวน 6 โครงการ 59.5 ล้านบาท เช่น โครงการยกระดับความปลอดภัยในการผลิตอาหารที่ฆ่าเชื้อด้วยความร้อนและอาหารสุกแช่แข็ง
อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน จำนวน 2 โครงการ 80 ล้านบาท คือ โครงการพัฒนาระบบบริหารการผลิต และโครงการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมยานยนต์
อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จำนวน 3 โครงการ 45 ล้านบาท คือ โครงการพัฒนาศักยภาพแรงงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โครงการส่งเสริมการสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงธุรกิจให้เป็นมาตรฐาน และโครงการเพิ่มผลผลิตและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
อุตสากรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม จำนวน 3 โครงการ 23.5 ล้านบาท คือ โครงการพัฒนาความสามารถบุคลากรด้านเทคโนโลยีและด้านบริหาร โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการในประเทศและกลุ่มอาเซียน โครงการพัฒนาและจัดการระบบการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอให้เป็นระบบการผลิตแบบลีน
อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า จำนวน 3 โครงการ 35 ล้านบาท คือ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพและกระบวนการผลิตชิ้นส่วน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการโลจิสติกส์
นอกจากนี้ยังมี งบเพื่อการสนับสนุนอื่นๆ อีก 7 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณที่อัดฉีดลงไปนี้ จะเป็นการช่วยพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการให้เพิ่มขึ้น ซึ่งในอนาคตจะช่วยให้เกิดการเติบโตได้อย่างยั่งยืน
"ในภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวเช่นนี้ หากผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อวิกฤตเศรษฐกิจจะทำให้สูญเสียโอกาสบางประการ ซึ่งเมื่อการส่งออกชะลอตัว ลงมาบ้าง ยอดขายลดลงบ้าง จึงควรมองว่าเป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นทั่วโลกไม่ใช่เฉพาะแต่ประเทศไทยเท่านั้น และการที่ประเทศไทยเคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ถือว่าเป็นบทเรียนที่ทำให้เราสามารถมองหาช่องทางคลี่คลายวิกฤตได้ต่อไป ดังนั้น ณ ขณะนี้ควรหันไปสู่ การสร้างภูมิคุ้มกันให้การประกอบการ เดินหน้าอย่างมีระบบ เดินหมากเดินเกมอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางการค้า และสูญเสียตลาดหลักไป" นายอาทิตย์ กล่าว