นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ไปทำการ Re-Access เกี่ยวกับแผนการจัดหาและการใช้ก๊าซใหม่ทั้งหมด หลังจากคาดการณ์ว่าการใช้ก๊าซในช่วงปี 2559(ค.ศ.2026) ความต้องการใช้ก๊าซในประเทศจะประมาณ 5,000 ล้าน ลบ.ฟ./วัน โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 5% ขณะที่แหล่งก๊าซในประเทศมีค่อนข้างจำกัด
ปัจจุบันประเทศไทยนำก๊าซธรรมชาติไปใช้ในหลายรูปแบบ เช่น การผลิตไฟฟ้า เป็นวัตถุดิบปิโตรเคมี เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ นำไปใช้เป็นก๊าซหุงต้ม เป็นต้น ประกอบกับราคาน้ำมันที่ผันผวนและลดลงมากในช่วงนี้ ทำให้ราคาพลังงานอื่นๆ เปลี่ยนไปมาก จึงต้องมีการปรับแผนการจัดหาในอนาคตใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง โดยความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีหน้าจะโตประมาณ 2-4% และอาจการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานประเภทอื่นๆ เป็นทางเลือก เช่น ถ่านหิน นิวเคลียร์ รวมทั้ง การก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อรองรับการบริหารจัดการนำก๊าซไปใช้ การจัดหาก๊าซจากแหล่งในต่างประเทศมากขึ้นโดยเน้นในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น นาทูน่า ในอินโดนีเซีย
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวว่า แหล่งสำรองก๊าซธรรมชาติในประเทศจะสามารถรองรับการใช้ก๊าซในระดับ 2,500 ล้าน ลบ.ฟ./วันไปได้อีก 18 ปี เนื่องจากขณะนี้ได้พัฒนาแหล่งขนาดใหญ่ขึ้นมาใช้มากแล้ว เหลือเพียงแหล่งขนาดเล็กและยังไม่พบแหล่งใหญ่เพิ่มเติม ทำให้ต้องมีการจัดหาก๊าซเพิ่มเติมจากแหล่งในต่างประเทศ หรือหาแหล่งเชื้อเพลิงชนิดอื่นมาทดแทน ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการขาดแคลนขึ้นในอนาคต
ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีปัญหาในเรื่องของการจัดหาก๊าซ โดยสามารถรองรับการใช้ได้ถึง 3,000 ล้าน ลบ.ฟ./วัน เป็นการจัดหาจากแหล่งในประเทศ 2,835 ล้าน ลบ.ฟ./วัน นำเข้าจากประเทศพม่าประมาณ 1,000 ล้าน ลบ.ฟ./วัน ทำให้มีเพียงพอสำหรับการใช้ในประเทศ นอกจากนี้ยังมีแหล่งก๊าซอีก 2-3 แหล่ง เช่น B-17 ในพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย บงกชใต้ อาทิตย์เหนือ เป็นต้น ที่จะทยอยส่งก๊าซเข้าสู่ระบบท่อตั้งแต่ปลายปีนี้
จากการที่มีแหล่งก๊าซที่ได้ซ็นสัญญาไว้แล้ว ประกอบกับการมีท่อส่งก๊าซที่จะรองรับการจัดส่งก๊าซ การก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเพื่อต่อไปยังแหล่งที่จะใช้ก๊าซ การก่อสร้างโรงแยกก๊าซโรงที่ 6 คาดว่าจะเสร็จสิ้นในไตรมาส 3-4 ปีหน้า ทำให้ใน 2-3 ปีนี้ประเทศไทยยังสามารถบริหารจัดการในเรื่องของการจัดหาก๊าซได้ในระดับที่ดี
สำหรับการพัฒนาแหล่งก๊าซ M9 ในประเทศพม่า บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP)Operator กำลังทำการสำรวจเพื่อยืนยันปริมาณสำรองปิโตรเลียม พบว่าจากการขุดหลุมทั้งหมด 13 หลุม ประเมินปริมาณสำรองได้ประมาณ 1.38 ล้านล้าน ลบ.ฟ./วัน เทียบเท่ากับแหล่งเอราวัณซึ่งเป็นแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในอ่าวไทย โดยจะสามารถนำก๊าซขึ้นมาใช้ในปี 56 โดยส่งให้กับประเทศไทย 240 ล้าน ลบ.ฟ./วัน และส่งให้พม่า 60 ล้าน ลบ.ฟ./วันในวันที่ 24 พ.ย. นี้ รมว.พลังงานของไทยจะเดินทางไปเจรจากับรัฐบาลพม่าเพื่อเร่งรัดให้มีการเซ็นสัญญาซื้อขายก๊าซกับปตท. ให้เร็วที่สุด ซึ่งหากไม่มีปัญหาอะไรก็คาดว่าจะสามารถเซ็นสัญญาได้ภายในปีนี้
นพ.วรรณรัตน์ กล่าวต่อว่า ส่วนแผนการซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ต้องมีการประเมินแผนการจัดหาใหม่ทั้งหมด เนื่องจากราคาน้ำมันได้ลดต่ำลงมาก ต้องมีการประเมินราคาการซื้อขายแอลเอ็นจีใหม่ และแอลเอ็นจีอาจจะเกิด Surplus จากเดิมที่ตลาดแอลเอ็นจีเป็นของผู้ขายปัจจุบันได้เปลี่ยนมาเป็นตลาดของผู้ซื้อ ส่วนข้อตกลงที่ ปตท.ได้เซ็น Head of Agreement กับทางประเทศกาต้าร์ก็คาดว่า ปตท.กำลังดูในเรื่องราคาซื้อขายอยู่ ปตท.