นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ รองผู้จัดการ รักษาการ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ปีบัญชีธนาคาร 2552 (เม.ย.52-มี.ค.53) ธ.ก.ส.ว่าเป้าหมายขยายสินเชื่อสู่ชนบทเป็นเงินกว่า 323,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จากปีบัญชี 51 แยกเป็นสินเชื่อการเกษตร สำหรับเกษตรกรรายบุคคลและสถาบัน วงเงินรวม 234,000 ล้านบาท เน้นการให้สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก ทั้งข้าว ข้าวโพด ยางพารา และอื่นๆ สินเชื่อเพื่อผลิตพลังงานทดแทน เช่น มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน และสินเชื่อเพื่อสนับสนุนกิจการปศุสัตว์และประมง
นอกจากนี้ยังเป็นสินเชื่อเพื่อสนับสนุนการสร้างงานในชนบท วงเงิน 41,000 ล้านบาท แยกเป็นสินเชื่อเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษต สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการรายย่อยและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และสินเชื่อโครงการสานฝันแรงงานคืนถิ่น สินเชื่อเพื่อพัฒนาพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วงเงิน 23,000 ล้านบาท และสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล วงเงิน 25,000 ล้านบาท โดยทั้งหมดนี้ ไม่รวมวงเงินสินเชื่อตามดโครงการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร ซึ่งจะแยกเป็นบัญชีตามนโยบายรัฐบาล (PSO) เพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินงานธนาคาร
รักษาการ ผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวอีกว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เตรียมมอบนโยบายการทำงาน และนโยบายตามมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและลูกค้าในชนบทรองรับวิกฤติเศรษฐกิจ ให้ พนักงาน ธ.ก.ส.ทั่วประเทศรับไปปฏิบัติ ในวันที่ 31 ม.ค.นี้
เบื้องต้น ธ.ก.ส.ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าในชทบทใน 3 แนวทาง โครงการแรกเป็นการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 0.25% โดย MRR อยู่ที่ 7.25% และ MLR เหลือที่ 5.25% หลังจากก่อนหน้านี้ ธปท.ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลง 1% และยังอยู่ระหว่างพิจารณาปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีก หลังจากล่าสุด ธปท.ลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.75% ทั้งนี้ช่วยลดภาระรายจ่ายให้เกษตรกรมากกว่า 5 ล้านครัวเรือน เป็นงบประมาณกว่า 325 ล้านบาท การช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าตามผลิตผลหลัก เช่น กรณีราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ ธ.ก.ส.พร้อมขยายเวลาชำระหนี้เงินกู้คราวละ 3 เดือน จนกว่าจะขายผลผลิตชำระหนี้ หรือการช่วยเหลือตามโครงการรับจำนำพืชผลการเกษตร และการคืนส่วนลดดอกเบี้ยเงินกู้ 0.25% (Rebate Credit) ของเงินต้นแก่เกษตรกรที่ชำระหนี้ได้ตามกำหนด
โครงการ 2 เป็นมาตการสร้างความยั่งยืนในอาชีพ เช่นการปรับโครงสร้างหนี้ลูกค้าเกษตรกรที่ประสบปัญหาทำกิน จากภัยธรรมชาติหรือวิกฤตเศรษฐกิจ โครงการที่ 3 เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้งงาน โดยได้เตรียมแผนกู้วิกฤติ แรงงานคืนถิ่น และบัณฑิตตกงาน เพื่อช่วยคนว่างงานคืนกลับสู่ชนบท สร้างรายได้จากการประกอบอาชีพในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร