นายอภิสิทธิ์ เวชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงหลัง ผู้นำอาเซียนทั้ง 10 ประเทศได้ลงนามในปฎิญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยแผนงานสำหรับประชาคมอาเซียน ปี 2009-2015 ซึ่งประกอบด้วย ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ได้มอบหมายให้รัฐมนตรี และเลขาธิการอาเซียนหาลู่ทางและยุทธศาสตร์ระยะยาวที่ขับเคลื่อนทรัพยากรต่างๆจากรัฐสมาชิก ประเทศคู่เจรจาเฉพาะด้านเพื่อการพัฒนาของอาเซียนและทำให้ปฏิญาชะอำ-หัวหินฉบับนี้เกิดประสิทธิผลทางการและยั่งยืน
ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ได้มีการหารือเกี่ยวกับวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินของโลก โดยผู้นำทั้ง 10 ประเทศมีความเห็นตรงกันที่จำเป็นต้องดำเนินนโยบายเชิงรุกและเด็ดขาดในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาดและความมั่นใจในเสถียรภาพทางการเงิน ซึ่งผู้นำยินดีที่จะดำเนินนโยบายมหภาครวมถึงมีการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนปรน การปล่อยสินเชื่อเพื่อการค้าโดยเฉพาะกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ
นอกจากนี้ยังยืนยันความตั้งใจที่จะเพิ่มการไหลเวียนของสินค้าบริการและการลงทุน อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจของผู้ประกอบการและการไหลเวียนจองทุนให้เสรียิ่งขึ้น
ขณะที่ผู้นำอาเซียน ต่อต้านนโยบายการปกป้องการค้าและละเว้นการกำหนดมาตรการการกีดกันการค้าใหม่ๆ พร้อมสนับสนุนให้มีการเจรจาเพื่อพัฒนารอบโดฮาให้เกิดผล
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมผูนำอาเซียนได้ชื่นชมรมว.คลังอาเซียนบวก 3 (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)ต่อการประชุมรมว.คลังบวก 3 ที่ให้เพิ่มขนาดกองทุนสำรองพหภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่จาก 8 หมื่นล้านดอลลาร์ เป็น 1.2 แสนล้านดอลลร์ รวมถึงตระหนักความร่วมมือในภูมิถาคที่จำเป็นต้องมีการขยายเพื่อระดมเงินออมสำหรับการลงทุนในสาขาที่มีประสิทธิผลโดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ผู้นำยินดีกับแผนงานการพัฒนามาตรการริเริ่มเพื่อพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชียฉบับใหม่ นอกจากนี้ ผู้นำก็ได้ขอให้รมว.คลังอาเซียนจัดเตรียมประเด็นเพิ่มเติมสำหรับประธานอาเซียนในฐานสมาชิก จี 20 เพื่อนำไปแจ้งต่อที่ประชุมสุดยอด จี 20 ที่กรุงลอนดอน
ทางด้านความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน กลุ่มผู้นำอาเซียนได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะกระชับความร่ทวมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร ทั้งภาคการผลิตและการจัดจำหน่าย โดยจะมีการจัดตั้งกองทุนสำรองข้าวของกลุ่มอาเซียนกับประเทศบวก สาม เพื่อเป็นกลไกถาวรในภูมิภาคต่อไป ส่วนด้านพลังงาน ได้เน้นกระชับความร่วมมือในพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก รวมทั้งเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเห็นว่าจำเป็นต้องส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนร่วมกับพลังงานอื่นในสัดส่วนที่มากขึ้น และเรียกร้องให้รมว.พลังงานอาเซียนกำหนดเป้าหมายเชิงปริมาณของพลังงานทดแทนร่วมกับพลังงานอืนภายใน 5 ปีข้างหน้า
นายกรัฐมนตรี เชื่อมั่นว่าหลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนแล้วจะมีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจการเมืองและสังคม ของกลุ่มประเทศอาเซียน โดยผู้นำแต่ละประเทศก้เชื่อมั่นเช่นดียวกัน
"ผมเชื่อว่าทุกอย่างจะขับเคลื่อนไปข้างหน้าแน่นอน ซึ่งทางผู้นำก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถผ่านไปได้"นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทั่งนี้ นากยกรัฐมนตรี กล่าวว่า การประชุมผู้นำอาเซียนในไทยครั้งนี้เป็นการสะท้อนเกิดความเชื่อมั่นสภาพทางการเมืองของประเทศ และถือว่า เป็นโอกาสได้พบปะผู้นำทุกประเทศได้รับฟังปัญหาทุกประเทศ และการประชุมครั้งนี้ มั่นใจว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสด้านเศษฐกิจในเอเซียน เกิดการสร้างงานมากขึ้นและมีการดำเนินการที่เป็นรูปธรรม ผ่านการประชุมต่างๆ เช่น การประชุมสามเหลี่ยนเศรษฐกิจ รวมถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อาเซียนไม่รับข้อกีดกันทางการค้า ขยายกรอบริเริ่มเชียงใหม่ที่จะเพิ่มเงินทุนสำรองมากขึ้น อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรี มั่นใจว่า ผู้นำแต่ละประเทศไม่ได้ติดใจสถานการณ์การเมืองในไทย พราะส่วนใหญ่น่าจะทราบผ่านทางสื่อมวลชนอยู่แล้ว
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานอาเซียนที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมกลุ่มจี 20 คาดว่าการเข้าร่วมประชุมครั้งนี้น่าจะมีส่วนสะท้อนทำให้ทั่วโลกเห็นถึงวิกฤตเศรษฐกิจที่จำเป็นต้องเร่งแก้ไข และสิ่งที่คาดหวังที่ได้รับการประชุมในครั้งนี้จะทำให้กลุ่มประเทศขนาดใหญ่ได้รับรู้ถึงปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการส่งออก หรือการท่องเที่ยว ซึ่งภูมิภาคประสบปัญหา แต่ก็ไม่อาจคาดหวังกับการประชุมจี20 มากนักเพราะกลุ่มประเทศใหญ่ก็ประสบปัญหาประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ก็นาจะเพิ่มความมั่นใจร่วมแก้ไขปัญหาในอนาคตต่อไป
ส่วนการประชุมอาเซียนครั้งหน้า ผู้นำอาเซียเห็นตรงกันว เชิญประเทศนอกอาเซียนเข้าร่วมประชุมด้วยเพราะจะเป็นผลดีต่อภาพพจน์ในเวทีโลก และมองเห็นโอกาสภาพพื้นฐานเศรษฐกิจในเอเชียจะมีศักยภาพสูงในการพัฒนาต่อไปได้ และต้องการบ่งบอกให้นานาประทเศว่าอาเซียนต้องการมีบทบาทสำคัญแตในการพัฒนาเศรษฐกิจในเอเชียด้วยกัน