นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า จากนี้ไปเชื่อว่าธนาคาพาณิชย์น่าจะปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้อีก โดยไม่ต้องลดดอกเบี้ยเงินฝากลงไปด้วย เพราะข้อจำกัดด้านต้นทุนของธนาคารพาณิชย์น่าจะลดลง และความต้องการสินเชื่อได้ลดลงตาม
"ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำแล้ว ขณะที่ข้อจำกัดของต้นทุนการเงินของแบงก์พาณิชย์ ที่เคยมีเงินฝากระยะยาว เริ่มหมดไป น่าจะทำให้แบงก์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้ โดยไม่ต้องลดดอกเบี้ยเงินฝาก...การลดดอกเบี้ยนโยบาย กนง.จะประชุมอีกครั้งวันที่ 20 พ.ค.นี้ คณะกรรมการจะดูข้อมูลที่ up to date ให้เพียงพอพิจารณาตามความจำเป็น" ผู้ว่า ธปท. กล่าวในการสัมมนา"ไขประเด็นเศรษฐกิจ"
ทั้งนี้ บทบาทของ ธปท.ที่สำคัญในการดูแลเศรษฐกิจมี 2 ด้าน คือ นโยบายการเงิน และนโยบายสถาบันการเงิน ซึ่งในส่วนของนโยบายการเงินนั้น ธปท.ได้ดำเนินการนโยบายการเงินผ่อนคลายมาตั้งแต่ปลายปี 51 และจนถึงขณะนี้ได้ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายลงไปแล้ว 2.5% เพื่อหนุนให้เศรษฐกิจเดินหน้าต่อไป
การปรับลดดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.เป็นกลไกสำคัญเพื่อส่งผ่านให้ธนาคารพาณิชย์ปรับลดดอกเบี้ยลงตามทั้งดอกเบี้ยเงินกู้และเงินฝาก ซึ่งในภาวะปกติการส่งผ่านนโยบายไปยังธนาคารพาณิชย์จะดำเนินการโดยเร็ว แต่ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบันการลดดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์อาจจะช้า เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ที่มีต้นทุนเงินฝากระยะยาวที่ให้ดอกเบี้ยสุง ดังนั้นการลดดอกเบี้ยจึงต้องใช้เวลา ขณะที่ธนาคารจะพิจารณาถึงความเสี่ยงของลูกค้าด้วย แต่ขณะนี้สถานการณ์ดังกล่าวได้ผ่านมาระยะแล้ว
ส่วนนโยบายด้านสถาบันการเงิน หลังจากไทยประสบวิกฤติภาคการเงินในปี 40 ธปท.ได้มีการหารือกับธนาคาพาณิชย์มาโดยตลอด เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความจำเป็นของการกำกับดูแลเพื่อให้ ระบบธนาคารพาณิชย์แข็งแกร่งทั้งด้านฐานเงินทุน ดังนั้นขณะนี้เชื่อว่า ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีการปรับตัวรองรับวิกฤติโลกได้
"ตอนนี้ดอกเบี้ยเงินฝากก็ถือว่าอยู่ในระดับต่ำแล้ว ขณะที่ข้อจำกัดของต้นทุนการเงินของแบงก์พาณิชย์ ที่เคยมีเงินฝากระยะยาว เริ่มหมดไป น่าจะทำให้แบงก์ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงได้ โดยไม่ต้องลดดอกเบี้ยเงินฝาก...การลดดอกเบี้ยนโยบาย กนง.จะประชุมอีกครั้งวันที่ 20 พ.ค.นี้ คณะกรรมการจะดูข้อมูลที่ up to date ให้เพียงพอพิจารณาตามความจำเป็น" ผู้ว่า ธปท. กล่าว
นางธาริษา กล่าวว่า ธปท.ยังคงประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจไทยปีนี้ที่ -3.5 ถึง -1.5% ซึ่งเศรษฐกิจไทยมีโอกาสติดลบน้อยลงจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล แต่ต้องขึ้นอยู่กับการใช้จ่ายภาครัฐว่าจะสามารถมีการใช้เงินงบประมาณได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด
พร้อมยอมรับว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงทั้งปัจจัยภายนอกซึ่งไทยต้องพึ่งพาการส่งออก ดังนั้นต้องเฝ้าระวังต่อไป แม้เดือนเม.ย.จะมีสัญญาณการส่งออกที่ดีขึ้น นอกจากนี้ปัจจัยภายในประเทศถือเป็นเรื่องสำคัญเพราะกระทบต่อการท่องเที่ยวอย่างมาก ดังนั้นความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคและนักลงทุนเป็นสิ่งต้องจับตามอง
ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะแรก และระยะที่ 2 ถือเป็นส่วนสำคัญต่อการลงทุนและมีผลต่อการเพิ่มศักยภาพของประเทศ หากรัฐบาลดูแลให้มีการใช้จ่ายเงินได้เร็วตามแผน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพโดยเร็วตาม ขณะที่จะส่งผลให้ภาคเอกชนขยายการลงทุนตามด้วย
"เราจะมีการทบทวนเป้าหมายการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศในอีกเดือนกว่าๆ ซึ่งจะมีการติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ โดยตั้งแต่ ก.ย.51 พบว่าตัวเลขต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงเร็วมากทั้งปัจจัยในและต่างประเทศ แม้ขณะนี้สัญญาณทางเศรษฐกิจจะเริ่มดีขึ้น แต่ก็ต้องติดตามต่อไป" นางธาริษา กล่าว