CONSENSUS: นายแบงก์-นักเศรษฐศาสตร์มองเงินบาทสิ้นปี 33-34 บาท/ดอลลาร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 13, 2009 11:20 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

นายแบงก์-นักเศรษฐศาสตร์ มองเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ จากปัจจัยในประเทศเป็นหลัก ทั้งการ เกินดุลบัญชีเดินสะพัดในวงเงินที่สูง และเงินไหลเข้าประเทศจากการลงทุนในตลาดหุ้นและการกู้เงินต่างประเทศของภาครัฐ มอง มาตรการผ่อนคลายกฎเกณฑ์การลงทุนต่างประเทศของ ธปท. ยังไม่ช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่าได้มากนัก แนะเน้นดูแลเงิน บาทมีเสถียรภาพ ไม่ให้ผันผวน

          สถาบัน                    เงินบาท ณ สิ้นปี 52            เงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 52

          ศูนย์วิจัยกสิกรไทย           ใกล้ 33 บาท/ดอลลาร์           34.20 บาท/ดอลลาร์
          สำนักวิจัย ธ.ซีไอเอ็มบีไทย    หลุด 34 บาท/ดอลลาร์           34-35 บาท/ดอลลาร์
          สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง    หลุด 34 บาท/ดอลลาร์           34.70 บาท/ดอลลาร์

เจ้าหน้าที่อาวุโส ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าเงินบาทในช่วงไตรมาส 3/52 น่าจะอยู่ที่ระดับ 33.75 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ ณ สิ้นปี 52 น่าจะแข็งค่าถึงระดับใกล้ 33 บาท/ดอลลาร์ได้ และเฉลี่ยทั้งปี 52 เงินบาทน่าจะอยู่ที่ 34.20 บาท/ดอลลาร์

ทั้งนี้ ค่าเงินบาทยังมีแรงกดดันให้แข็งค่าต่อเนื่อง จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ การเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งเห็นได้ว่าตั้งแต่ต้นปี 52 ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในจำนวนที่สูง ทำให้เงินบาทแข็งค่า และในช่วงครึ่งปีหลังยังมองว่าไทยยังคง เกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดต่อเนื่อง อีกปัจจัยหนึ่ง คือความเคลื่อนไหวของค่าเงินดอลลาร์เอง ยังมีแนวโน้มที่ยังอ่อนค่าลง ได้อีก และกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายที่ยังมีเงินไหลเข้ามาลงทุนในไทยมากขึ้น โดยเฉพาะเข้ามาลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

จากมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ที่ผ่อนคลายการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ และมาตรการ ของกระทรวงการคลังที่เตรียมลดภาษีนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบหลายรายการเพื่อกระตุ้นการนำเข้านั้น ยอมรับว่าอาจช่วยลดแรงกดดัน ต่อการแข็งค่าของเงินบาทได้บ้าง แต่มาตรการดังกล่าวยังไม่ได้มีผลในทางปฏิบัติเกิดขึ้นจริงในทันที เนื่องจากมองว่าหากการฟื้นตัว ของภาคการลงทุนยังไม่ชัดเจน แม้จะมีสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้น ก็ยังไม่ได้ทำให้เกิดการกระตุ้นการลงทุนจนนำไปสู่การนำเข้าสินค้า ต่างๆ จำนวนมาก

ขณะที่มาตรการของ ธปท. แม้จะเป็นการเปิดช่องให้มีการไปลงทุนต่างประเทศได้ แต่ขึ้นอยู่กับความต้องการลงทุนของ นักลงทุนด้วยว่าจะเกิดความเสี่ยงในการลงทุนมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

"แม้การผ่อนคลายหลักเกณฑ์ต่างๆ จะมีความหลากหลายของการอนุญาตให้ลงทุน แต่นักลงทุนคงคำนึงถึงความเสี่ยงที่ เกิดขึ้น และผลตอบแทนที่จะได้รับ นักลงทุนจะกล้าเสี่ยงหรือไม่ แม้จะมี Yeild ดีขึ้น"เจ้าหน้าที่อาวุโส ระบุ

เจ้าหน้าที่งานวิจัยเศรษฐกิจ และตลาดเงิน สำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย มองในทิศทางเดียวกันว่า เงินบาทยัง แข็งค่าต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 52 โดยมาจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งจากการเกินดุลการค้าและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดค่อนข้าง สูง หลังจากเศรษฐกิจทั้งออสเตรเลีย กลุ่มประเทศ BRIC(บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน)มีการเติบโตดี ทำให้ไทยส่งออกสินค้าได้มาก ขึ้น ภาคการส่งออกหดตัวน้อยลง แต่การนำเข้ายังหดตัวในอัตราสูง จึงทำให้ไทยเกินดุลมากขึ้น

และยังมีปัจจัยการเมืองในประเทศ ที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ ซึ่งกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ ทั้งความเชื่อมั่นของนักลง ทุนได้ และการจับจ่ายของประชาชน ซึ่งยังไม่มีส่วนช่วยให้การนำเข้าเร่งตัวขึ้น

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์มีแนวโน้มอ่อนค่า หลังจากที่หลายฝ่ายมองว่าปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐเริ่มคลี่คลายลงแล้ว จากการ ประเมินของหลายสถาบัน ชี้วัดจากดัชนีเศรษฐกิจต่างๆ เริ่มดีขึ้น ทำให้นักลงทุนคลายความกังวลในการนำเงินดอลลาร์ไปลงทุนใน สินทรัพย์อื่นที่มีความเสี่ยงสูงกว่า

"ส่วนมาตรการของทางการทั้งของ ธปท. หรือ มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการนำเข้า นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับแนว โน้มเศรษฐกิจโลกด้วย และหากทางการยังไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ แม้จะมีมาตรการออกมา ก็อาจไม่ได้ผล เพราะ ธปท.คงไม่มีลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก และแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่อาจสูงขึ้น และทำให้ราคาสินค้าต่างๆ มีแนวโน้มปรับสูง ขึ้น" เจ้าหน้าที่งานวิจัย ธ.ซีไอเอ็มบี ไทย กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าการคาดการณ์ ค่าเงินบาท ณ สิ้นปี 52 เป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยาก เนื่องจากปัจจัยต่างๆ มี ความผันผวนตลอดเวลา แต่ยังเชื่อว่าจากแรงกดดันต่อเงินบาทให้ยังแข็งค่า เงินบาทน่าจะหลุดระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ ขณะที่ เงินบาทเฉลี่ยทั้งปี 52 น่าจะอยู่ระดับ 34-35 บาท/ดอลลาร์ จากที่เคยคาดการณ์ไว้เดิมจะอยู่ที่ 33.50/34.50 บาท/ดอลลาร์

ด้านเจ้าหน้าที่เศรษฐกรระดับชำนาญการ สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เห็น ว่า ยังมี 4 ปัจจัยหลักที่ทำให้เงินบาทยังคงแข็งค่าต่อเนื่องจนถึงสิ้นปีนี้ ปัจจัยแรกเกิดจากการส่งออกที่จะขยายตัวได้ดีกว่าครึ่งปีแรก ขณะที่การนำเข้ายังหดตัว ทำให้ สศค.มองว่าทั้งปี 52 ไทยจะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก

นอกจากนี้ จะมีเม็ดเงินจากการกู้เงินต่างประเทศ งวดแรก จากโครงลงทุนภาครัฐ และยังมีเงินทุนไหลเข้าประเทศ จากการเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย และสุดท้าย ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น แม้ เงินบาทยังมีแรงกดดันให้ แข็งค่าได้ต่อเนื่อง แต่หาก ธปท.บริการจัดการให้เงินบาทมีเสถียรภาพ แม้จะมีเงินไหลเข้าก็ไม่น่าทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้มาก

ทั้งนี้ ช่วงครึ่งปีแรกเงินบาทเฉลี่ยทั้งปีมองที่ 34.70 บาท/ดอลลาร์ ซึ่งตอนนี้ก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาดการณ์ ไว้เดิม โดยค่าเงินบาทเป็นส่วนหนึ่งของการจัดทำประมาณการเติบโตเศรษฐกิจทั้งปีด้วย ขณะที่ยอมรับว่า ณ สิ้นปี เงินบาทมีโอกาส หลุดระดับ 34 บาท/ดอลลาร์ได้จากแรงกดดันหลายปัจจัย

"อัตราแลกเปลี่ยนเป็นอีกเครื่องมือในการทำนโยบาย หากดูแลให้คงที่ ไม่ผันผวน ก็จะช่วยผู้ส่งออกด้วยส่วนหนึ่ง...ยอม รับว่าน่าเป็นห่วงจากหลายๆ ปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทแข็งค่า ดูจาก NEER(nominal effective exchange rate)เงินบาทแข็ง ค่า 2% เมื่อเทียบประเทศคู่ค้า หากดูแลให้เงินบาททรงๆ ตัวได้ ทั้งปี NEER เราน่าจะอยู่ที่ 100 ก็ถือว่าไม่แข็งมาก ผู้ส่งออกก็ไม่สูญ เสีย"เศรษฐกร สศค.กล่าว


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ