สื่อคาด"โอบามา"-"หู จิ่นเทา"ขึ้นเวทีประชุมโลกร้อนยูเอ็น ช่วยคลี่คลายปัญหาการเจรจา

ข่าวต่างประเทศ Monday September 21, 2009 13:10 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

จีนและสหรัฐอาจจะนำเสนอหนทางใหม่ในการรับมือกับปัญหาโลกร้อนในการประชุมสัปดาห์นี้ ขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายยังคงมีจุดยืนของตนเองในประเด็นที่ว่า ประเทศใดควรจะเป็นผู้จ่ายค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ในปริมาณต่ำ

ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐ และประธานาธิบดีหู จิ่นเทา ของจีน เตรียมเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติที่นิวยอร์กในวันพรุ่งนี้ เพื่อหารือเรื่องภาวะโลกร้อน โดยผู้นำจีนจะได้นำเสนอแผนการณ์ใหม่ในที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลา 1 วัน

บลูมเบิร์กรายงานว่า โอบามามีกำหนดการณ์พบปะกับนายหูวันพรุ่งนี้ ซึ่งจะเป็นวันที่ผู้นำทั้ง 2 ประเทศจะขึ้นเวทีปราศรัยในที่ประชุมด้วยเช่นกัน ซึ่งการประชุมของยูเอ็นและ G-20 ในสัปดาห์นี้ ทำให้ผู้นำทั้ง 2 ประเทศได้มีโอกาสได้พบกัน ก่อนที่จะมีการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศทที่โคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์กในเดือนธ.ค.

วุฒิสมาชิกจอห์น แคร์รี่ กล่าวว่า ตอนนี้เป็นช่วงเวลาของการพูด การประชุมยูเอ็นที่นิวยอร์กและการประชุม G-20 ที่พิตส์เบิร์กจะเป็นการวางรากฐานให้การประชุมในเดือนธ.ค.ประสบความสำเร็จมากขึ้น

หลังจากที่จีนและสหรัฐ ซึ่งเป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่สุดหรือประมาณ 40% ไม่ได้ทำข้อตกลงด้วยนั้น ทำให้ประเทศต่างๆมีแรงจูงใจลดน้อยลงในการให้คำมั่นในที่ประชุมที่เดนมาร์ก จีนซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่รายใหญ่สุด และสหรัฐซึ่งเป็นประเทศผู้นำด้านอุตสาหกรรมได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความไม่ลงรอยกันที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ในการเจรจาที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่า ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนควรจะดำเนินการอะไรบ้าง

นายบัน คี มุน เลขาธิการยูเอ็นกล่าวว่า จีนและสหรัฐจะยังคงเป็นประเทศสำคัญที่จะทำให้เกิดผลพวงที่ยิ่งใหญ่ในการเจรจาต่อรองครั้งนี้ โอบามา หู จิ่นเทา และผู้นำประเทศต่างๆควรจะให้คำมั่นที่จะผลักดันให้เกิดข้อตกลงให้ได้ในการประชุมที่โคเปนเฮเกน

นายโทนี่ แบลร์ อดีตนายกฯอังกฤษ กล่าวว่า จริงๆแล้ว จีนและสหรัฐร่วมงานกันอย่างใกล้ชิดเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน

อัลเดน เมเยอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์และนโยบายของ Union of Concerned Scientists กล่าวว่า จีนอาจจะประกาศแผนการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์จากรถยนต์ โรงไฟฟ้าถ่านฟิน และแหล่งอื่นๆ ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดอ็อกไซด์ที่ใช้ในโรงงานด้านการผลิตพลังงาน ซึ่งจะทำให้การปล่อยก๊าซมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง



เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ